การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อยกระดับธุรกิจและเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย สำหรับธุรกิจ SMEs ในจังหวัดเลย : กรณีศึกษา ห้าง ส.ทวีภัณฑ์สโตร์ จังหวัดเลย

Main Article Content

ชรินทร์ญา หวังวัชรกุล
พิมพ์พิชชา ประภาวิรัลพัชร์
ดานุกา นามวงค์ษา

บทคัดย่อ

            การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อยกระดับธุรกิจและเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย สำหรับธุรกิจ SMEs ในจังหวัดเลย : กรณีศึกษา ห้าง ส.ทวีภัณฑ์สโตร์ จังหวัดเลย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับธุรกิจ SMEs ในจังหวัดเลย 2) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพและประเมินผลความพึงพอใจต่อระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย 1) ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 2) แบบประเมินประสิทธิภาพระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน พบว่าโดยรวมคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.90 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.20 และผลการศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง พบว่ามีระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.74 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.18

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนินทร์ มหัทธนชัย, มานพ ชุ่มอุ่น, บุษราภรณ์ มหัทธนชัย, จิตราภรณ์ ธาราพิทักษ์วงศ์, ทิวาวัลย์ ต๊ะการ, วาสนา สันติธีรากุล และ พริ้มไพร วงค์ชมภู. (2563). การพัฒนาระบบดิจิทัลคอมเมิร์ซเพื่อส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 16(3), 78-88.

ชูศักดิ์ ยาทองไชย และ วิไลรัตน์ ยาทองไชย. (2564). การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผ้าทอพื้นบ้านสินค้าระดับพรีเมี่ยมกลุ่มชาติพันธุ์เขมร. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8(1),7-19.

นริสรา ลอยฟ้า. (2563). การเพิ่มมูลค่าสินค้าและเพิ่มช่องทางการตลาดผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มวิสาหกิจ ชุมชนทอผ้าไหมลายลูกแก้ว. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 8(1), 214-226.

นภารัตน์ ชูไพร, เอกรินทร์ วิจิตต์พันธ์, พิมพ์ชนก แก้วอุดม และ ชุติมา ยอดเกื้อ. (2565). การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์กาแฟ วิสาหกิจชุมชนบ้านถ้ำสิงห์ จังหวัดชุมพร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 24(3), 40-49.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ศรินภัสร์ ล้อมวลีรักษ์, ภาศิริ เขตปิยรัตน์ และ ศิริกานดา แหยมคง. (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและคุณภาพ การให้บริการที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของลูกค้าบริษัทห้องเย็นอุตรดิตถ์จำกัด. วารสารวิชาการการจัดการภาครัฐและเอกชน, 4(3), 92-105.

สมภูมิ แสวงกุล. (2565). การยกระดับการดำเนินธุรกิจขนาดเล็กสู่ดิจิทัลไทยแลนด์. วารสารวิจัย มข.สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 10-20.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565). การสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย (Value of e-Commerce Survey in Thailand). สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2566, จาก https://www.etda.or.th.

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเลย. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดเลย 4 ปี. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2566, จาก https://www.industry.go.th.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2565). สถานการณ์และการส่งเสริม SME. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2566, จาก https://www.sme.go.th.

Best, J. W. (1981). Research in Education. 3rd ed. Englewood cliffs, New Jersey: Prentice. Hall Inc.