การศึกษาปริมาณธาตุอาหารหลักของปุ๋ยหมัก กรณีศึกษาการหมักในเข่งไม้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปริมาณธาตุอาหารหลักของปุ๋ยหมักที่รดน้ำแตกต่างกัน และ 2) เพื่อศึกษาปริมาณธาตุอาหารหลักของปุ๋ยหมักแบบการหมักวางบนพื้นดินและวางในดิน โดยทำการหมักในเข่งไม้ ขนาดความสูง 36 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 40 เซนติเมตร โดยใส่ขยะใบไม้แห้งเข่งละ 8 กิโลกรัม ทั้งหมด 3 ชุดการทดลอง โดยเข่งที่ 1, 3, 5 ทำการทดลองหมักวางบนดิน และเข่งที่ 2, 4, 6 ทำการทดลองหมักวางในดิน ซึ่งเข่งที่ 1 และเข่งที่ 2 จะรดด้วยน้ำประปา เข่งที่ 3 และเข่งที่ 4 รดด้วยน้ำประปาผสมพด.1 เข่งที่ 5 และเข่งที่ 6 รดด้วยน้ำประปาผสมกากน้ำตาล รดน้ำ 1 ครั้ง/สัปดาห์ ในปริมาณ 500 มิลลิลิตร ใช้ระยะเวลาในการหมัก 90 วัน วิเคราะห์ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ผลการวิจัย พบว่า ปุ๋ยหมักชุดที่ 1 เข่งที่ 1 วางบนดิน และเข่งที่ 2 วางในดิน รดด้วยน้ำประปา มีปริมาณไนโตรเจนมีค่าเฉลี่ย 0.40±0.02 และ 0.30±0.02 โดยน้ำหนัก ปริมาณฟอสฟอรัสมีค่าเฉลี่ย 0.10±0.01 และ 0.10±0.01 โดยน้ำหนัก ปริมาณโพแทสเซียมมีค่าเฉลี่ย 0.10±0.01 และ 0.00±0.06 โดยน้ำหนัก ปุ๋ยหมักชุดที่ 2 เข่งที่ 3 วางบนดิน และเข่งที่ 4 วางในดิน รดด้วยน้ำประปาผสมพด.1 มีปริมาณไนโตรเจนมีค่าเฉลี่ย 0.80±0.01 และ 0.60±0.02 โดยน้ำหนัก ปริมาณฟอสฟอรัสมีค่าเฉลี่ย 0.20±0.01 และ 0.10±0.01 โดยน้ำหนัก ปริมาณโพแทสเซียมมีค่าเฉลี่ย 0.10±0.01 และ 0.00±0.06 โดยน้ำหนัก ปุ๋ยหมักชุดที่ 3 เข่งที่ 5 วางบนดิน และเข่งที่ 6 วางในดิน รดด้วยน้ำประปาผสมกากน้ำตาล มีปริมาณไนโตรเจนมีค่าเฉลี่ย 0.60±0.02 และ 0.10±0.01 โดยน้ำหนัก ปริมาณฟอสฟอรัส มีค่าเฉลี่ย 0.10±0.00 และ 0.10±0.01 โดยน้ำหนัก ปริมาณโพแทสเซียมมีค่าเฉลี่ย 0.20±0.02 และ 0.10±0.01 โดยน้ำหนัก และพบว่าปริมาณธาตุอาหารหลักของปุ๋ยหมักวางบนดินและวางในดินมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ (กรมวิชาการเกษตร, 2555) ที่ต้องมีปริมาณไนโตรเจนไม่น้อยกว่าร้อยละ 1.0 โดยน้ำหนัก ปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม มีค่าไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 โดยน้ำหนัก
Article Details
References
กรมวิชาการเกษตร. (2555). มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563, จาก: https://shorturl.asia/SXPkQ.
ธิดารัตน์ สุพัฒน์ และ มณีรัตน์ ตระการ. (2560). การศึกษาธาตุอาหารหลักของปุ๋ยหมักที่ได้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).
ธันวดี ศรีธาวิรัตน์. (2547). การศึกษากระบวนการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารร่วมกับเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564, จาก: https:shorturl. asia/kMoed.
บรรณาธิการ. (2561). อนาคตเกษตรในไทยแลนด์ 4.0. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2563, จาก: https://marketeeronline.com.
บวร ไชยษา. (2548). คุณภาพของปุ๋ยหมักจากการหมักขยะมูลฝอยโดยใช้บ่อหมักแบบต่างๆ. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2557). ปัญหาโรคและภัยสุขภาพในกลุ่มเกษตรกร. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2563, จาก: http://envocc.ddc.moph. go.th.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2561ก). เนื้อที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรรายจังหวัดปี พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2563, จาก: https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/socio/LandUtilization2561.pdf.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2561ข). การนำเข้า-ส่งออก ปี 2561. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2563, จาก: https://www.oae.go.th/view/1/siteunderconstruction/TH-TH.
สุรัชดา ไชยชนะ. (2546). การศึกษาปริมาณธาตุอาหารหลักจากปุ๋ยหมักที่ได้จากการหมักขยะมูลฝอยโดยใช้บ่อหมักแบบต่างๆ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).