การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในสถานีบริการน้ำมันจากการสัมผัสสารเบนซีน: กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

นริฏา ฟักแก้ว
กนกวรรณ เจริญขันธ์
สุพัตรา เรืองโสภา
สาธินี ศิริวัฒน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวัดความเข้มข้นของสารเบนซีนในบรรยากาศภายในสถานีบริการน้ำมันและเพื่อประเมินความเสี่ยงของสุขภาพจากการสัมผัสสารเบนซีนผ่านทางการหายใจของผู้ปฏิบัติงานในสถานีบริการน้ำมัน อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ทั้งหมด 3 แห่ง ทำการตรวจวัดสารเบนซีน วันละ 8 ชั่วโมงต่อเนื่องเป็นเวลา 10 วันต่อสถานี โดยใช้เครื่องตรวจวัดสารอินทรีย์ระเหยง่ายและประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 27 คน ผลการศึกษาพบว่า ความเข้มข้นของสารเบนซีนเฉลี่ยของสถานีบริการน้ำมันทั้ง 3 แห่ง มีค่าเท่ากับ 0.4311 ± 0.1640, 0.3664 ± 0.1399 และ 0.4491 ± 0.2227 ppm ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานสารเบนซีนของสำนักงานกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พบว่า ค่าสารเบนซีนไม่เกินมาตรฐานกำหนด (1 ppm) การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากการสัมผัสสารเบนซีนผ่านทางการหายใจของผู้ปฏิบัติงานในสถานีบริการน้ำมันทั้ง 3 แห่ง พบว่า เพศชายมีค่าเท่ากับ 3.01x10-5, 2.52x10-5และ 6.30x10-5 mg/kg-day ตามลำดับ เพศหญิงมีค่าเท่ากับ 2.43x10-5, 2.12x10-5 และ 7.00x10-5 mg/kg-day ตามลำดับ ค่า Cancer risk พบว่า เพศชายมีค่าเท่ากับ 8.19x10-7, 5.46x10-7 และ 1.64x10-6 ตามลำดับ เพศหญิงมีค่าเท่ากับ 5.46x10-7, 2.12x10-5และ 7x10-5 ตามลำดับ ผลการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานจากการสัมผัสสารเบนซีนในสถานีบริการน้ำมัน พบว่า มีความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งอยู่ในช่วงที่ยอมรับได้ อย่างไรก็ตาม ควรมีการเฝ้าระวังสุขภาพและตรวจประเมินด้านการรับสัมผัสสารเบนซีนของผู้ปฏิบัติงานในสถานีบริการน้ำมันเป็นประจำ 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2557). Benzene. สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://ohs. sci.dusit.ac.th/wp/?p=286.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2535). พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 39. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

กรมธุรกิจพลังงาน. (2564). ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายให้ลูกค้า จำแนกตามชนิดน้ำมันเชื้อเพลิง ภาค และจังหวัด พ.ศ. 2555 – 2564. กระทรวงพลังงาน.กรุงเทพมหานคร.

ฉัตรสุดา พิมพาแสง และ สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2557). การรับสัมผัสสารเบนซีนในพนักงานสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง: กรณีศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น เมืองขอนแก่น. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 19(2), 354-361.

พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, สุนิสา ชายเกลียง, ศศิธร ตังสวัสดิ และ วิชัย พฤกษ์ธาราธิกุล. (2560). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพโดยใช้ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของการสัมผัสสารเบนซีนในผู้ปฏิบัติงานสถานีบริการน้ำมัน. (วิทยาศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

รัชนี นันทนุช และ สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2556). ความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการได้รับอันตรายจากการสัมผัสน้ำมันเชื้อเพลิงของพนักงาน สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. (วิทยาศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

สุนิสา ชายเกลี้ยง และ สายชล แปรงกระโทก. (2558). การประเมินความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเบนซีนผ่านทางการหายใจในสถานีบริการน้ำมัน. (วิทยาศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

สุภาณี จันทรศิริ, สมเจตน ทองดำ, วิศวะ มาลากรรณ และ พรไพลิน บุณณะ. (2560). ปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) ในบริเวณทำงานและสภาวะสุขภาพของพนักงาน ในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(4), 509-516.

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล องค์การมหาชน. (2565). ข้อมูลผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ. การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565. กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน. กรุงเทพมหานคร.

สำนักบริการธุรกิจและการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง. (2556). จำนวนสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ไตรมาส 4/2556. กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน. กรุงเทพมหานคร.

International Agency for Research on Cancer. (2021). Agents classified by the IARC monographs. Retrieved May 19, 2021 from http://monographs. iarc.fr/ENG/Classification/index.php.

International Programme for Chemical Safety. (1993). Environmental health criteria 150. World Health Orgnization, Geneva.

United States Environmental Protection Agency. (1992). Guidelines for exposure assessment. National Service Center for Environmental Publications. Washington, D.C.

United States Environmental Protection Agency. (2013). QA Handbook for Air Pollution Measurement Systems Volume II. Ambient Air Quality Monitoring Program. Washington, D.C.

United States Environmental Protection Agency. (2017). Method 21 – Determination of volatile organic compound leaks. Air Emission Measurement Center. Washington, D.C.

United States Environmental Protection Agency. (2000). Integrated risk information system (IRIS): chemical assessment summary. National Center for Environmental Assessment. Washington, D.C.