การออกแบบและสร้างเครื่องกรองอากาศเคลื่อนที่ได้ความเร็ว 3 ระดับแบบอัตโนมัติ ที่ควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์

Main Article Content

อนุชา ดีผาง
ชัยพร อัดโดดดร
ธนัช เอกเกื้อกูล

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการออกแบบและสร้างเครื่องกรองอากาศเคลื่อนที่ได้ความเร็ว 3 ระดับแบบอัตโนมัติที่ควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ที่เบอร์ 1 ความกว้างพัลส์ร้อยละ 20 เบอร์ 2 ความกว้างพัลส์ร้อยละ 40 และเบอร์ 3 ความกว้างพัลส์ร้อยละ 60 เพื่อกรองฝุ่นละออง เชื้อโรค และกลิ่นที่ไม่พึ่งประสงค์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนกรองอากาศและหลอดยูวี อุปกรณ์ตรวจวัดค่าฝุ่น พัดลมดูดอากาศ และไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino Mega2560 โดยออกแบบให้มีการทำงาน 2 โหมด คือ โหมดอัตโนมัติและโหมดควบคุมด้วยมือ โหมดอัตโนมัติจะเริ่มจากรับค่าปริมาณฝุ่นจากอุปกรณ์ตรวจวัดค่าฝุ่นโมดูล GP2Y1010AU0F ที่สามารถตรวจวัดฝุ่นได้ในระดับ PM 2.5 ค่าปริมาณฝุ่นที่วัดได้จะถูกนำไปเปรียบเทียบกับค่าปริมาณฝุ่นมาตรฐานที่อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย คือ ไม่เกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เมื่อค่าปริมาณฝุ่นมากกว่า 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร พัดลมดูดอากาศและหลอดยูวีจะเริ่มทำงานและจะหยุดเมื่อค่าปริมาณฝุ่นต่ำกว่า 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สำหรับโหมดควบคุมด้วยมือเครื่องกรองอากาศจะทำงานทันทีที่เปิดสวิตช์ งานวิจัยนี้ใช้วิธีสร้างฝุ่นโดยการจุดธูป จากการทดสอบ จะพบว่า โหมดอัตโนมัติ เครื่องกรองอากาศจะมีปริมาณฝุ่นเหลือ 0 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เมื่อเวลาผ่านไป 10 นาที เมื่อเทียบกับเครื่องกรองอากาศ Xiaomi จะมีปริมาณฝุ่นเหลือ 0 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เมื่อเวลาผ่านไป 8 นาที ส่วนโหมดควบคุมด้วยมือ เครื่องกรองอากาศเบอร์ 1 จะมีปริมาณฝุ่นเหลือ 0 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เมื่อเวลาผ่าน ไป 14 นาที เครื่องกรองอากาศเบอร์ 2 จะมีปริมาณฝุ่นเหลือ 0 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เมื่อเวลาผ่านไป 10 นาที เครื่องกรองอากาศเบอร์ 3 จะมีปริมาณฝุ่นเหลือ 0 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เมื่อเวลาผ่านไป 8 นาที ทำให้อากาศบริสุทธิ์ ปราศจากฝุ่นละออง เชื้อโรค และกลิ่นที่ไม่พึ่งประสงค์ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อมนุษย์อย่างมาก สามารถใช้งานได้ตามพื้นที่ทั้งในครัวเรือน สถานศึกษา สถานประกอบการ และโรงพยาบาลอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พิพัฒน์ ดุรงค์ดำรงชัย, ชัยพร อัดโดดดร และ กิตติศักดิ์ ดียา. (2562). การออกแบบและสร้างเครื่องกรองเขม่าควันด้วยสนามไฟฟ้าสถิตที่ควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์. น. 1525-1534. ใน: การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและระดับนานาชาติ ครั้งที่ 7 CASNIC2019, 16 พฤศจิกายน 2562. วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, ขอนแก่น.

ศิศีโรตม์ เกตุแก้ว. (2555). การพัฒนาเครื่องกรองอากาศอิเล็กโตรสแตติกแบบอัตโนมัติ. วารสารวิจัย. 2(5), 58–65.

โชคชัย วงศ์กำภู และ นิรัญ ชยางศุ. (ม.ป.ป.) เทคโนโลยีการกรองอากาศในระบบปรับอากาศ, บทความวิชาการชุดที่ 7. สมาคมวิศวกรรมปรับอากาศแห่งประเทศไทย.

Abdullah, M. D. A., Leman, A. M., & Abdullah, A. H. (2014). Air Filtration Study to Improve Indoor Air Quality: Proposed Study. In: Proceedings of 3rd Scientific Conference on Occupational Safety and Health- Sci-Cosh 2014, 14-17 October, 2014, Johor Bahru, Johor, Malaysia. https://www.researchgate. net/publication/303691561

Kumar, B. V., Naveen, M., Kalyan, P., Bhavana, P., & Nikhil, K. (2019). Design and Fabrication of Economical Air Filter. International Journal of Trend in Scientific Research and Development (IJTSRD), 3(3), 1091-1095.