ความหลากหลายและรูปแบบการรับประทานผักพื้นบ้านในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ศิโรจน์ พิมาน
เสน่ห์ บุญกำเนิด
ภควดี รักษ์ทอง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายและรูปแบบการรับประทานผักพื้นบ้านในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ดำเนินการระหว่างเดือนมิถุนายน 2561 ถึงเมษายน 2562 โดยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สนทนากลุ่ม และสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ใช้กลุ่มตัวอย่างพ่อค้าแม่ค้า เกษตรกร และผู้อาวุโสในจังหวัดสุราษฎร์ธานี คัดเลือกเฉพาะผักพื้นบ้านที่ปลูกในจังหวัดสุราษฎร์ธานีเท่านั้นและเก็บข้อมูล 1) ชื่อของผักพื้นบ้าน 2) ลักษณะวิสัย 3) ถิ่นอาศัย 4) ส่วนที่ใช้รับประทาน และ 5) วิธีรับประทาน และนำข้อมูลมาจัดทำระบบฐานข้อมูลผักพื้นบ้านจังหวัดสุราษฎร์ธานี การศึกษาพบผักพื้นบ้านของจังหวัดสุราษฎร์ธานีจำนวน 35 วงศ์ 63 ชนิด ผักที่พบมากที่สุดได้แก่ วงศ์ Fabaceae (ร้อยละ 12.70) ผักพื้นบ้านส่วนใหญ่เป็นไม้ล้มลุก (ร้อยละ 38.10) และมีถิ่นอาศัยพื้นบนดินทั่วไป (ร้อยละ 84.13) ยอดอ่อนเป็นส่วนที่ได้รับความนิยมในการรับประทานมากที่สุด วิธีรับประทานที่นิยมคือรับประทานเป็นผักเหนาะ ซึ่งรับประทานคู่กับแกง ขนมจีน และยำต่าง ๆ ข้อมูลผักพื้นบ้านถูกนำมาจัดทำระบบฐานข้อมูลผักพื้นบ้านจังหวัดสุราษฎร์ธานีและได้ถูกติดตั้งบนเครือข่ายของมหาวิทยาลัย
ราชภัฏสุราษฎร์ธานี ผลการศึกษานี้สัมพันธ์กับภูมิปัญญาของประชาชนในพื้นที่ ผักพื้นบ้านควรได้รับการส่งเสริมให้ใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้องค์ความรู้นี้สามารถประยุกต์เพื่อสร้างระบบการจัดการความมั่นคงทางอาหารของชุมชนได้ 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณน ไตรจันทร์, ธีรศักดิ์ จินดาบถ และ อนุวัต สงสม. (2560). องค์ประกอบความมั่นคงทางอาหารระดับครัวเรือนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. Kasetsart Journal of Social Sciences, 38, 577-587.

ชณิตา ประดิษฐ์สถาพร, ลออ มหาวรรณศรี, วิไลพร วงค์คินี และ ประกายดาว สุทธิ. (2561). กระบวนการขับเคลื่อนความมั่นคงทางอาหารผ่านผักพื้นบ้านจังหวัดในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 10(3), 214-228.

พิกุน ศัยญะพันธ์, ปราโมทย์ แก้ววงศ์ศรี และ วิจิตต์ วรรณชิต. (2551). สะตอและชนิดพืชร่วมภายใต้ระบบวนเกษตรในภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารวิจัยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเมทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, 1(2), 47-50.

ศจินทร์ ประชาสันติ์. (2552). การพัฒนาดัชนีชี้วัดความมั่นคงทางอาหาร. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2564, จาก https://bit.ly/39IYBYN.

สำนักงานสถิติจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2560). รายงานสถิติจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2560. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2564, จาก https://bit.ly/3lYdooj.

อชิรญา คำจันทร์ศุภสิน, จุรีภรณ์ นวนมุสิก, วราศรี แสงกระจ่าง และ วันดี แก้วสุวรรณ. (2558). ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์ทางอาหารของพืชผักท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชชา, 34(2), 52-63.

Bunawan, H., Dusik, L., Bunawan, S. N. & Amin, N. M. (2013). Botany, traditional uses, phytochemistry and pharmacology of Archidendron jiringa: a review. Global Journal of Pharmacology, 7(4), 474-478.

Mishra, S. S., Moharana, S. K. & Dash, M. R. (2011). Review on Cleome gynandra. International Journal of Pharmacy and Chemistry, 1(3), 681-688.

Sumitro, K., Yong, C. S., Tan, L. T., Choo, S., Lim, C. Y., Shariman, H., Anand, J. & Chong, V. H. (2020). An unusual cause of acute abdomen and acute renal failure: Djenkolism. Malaysian Family Physician, 6, 50-52.