ความหลากชนิดและการใช้ประโยชน์พื้นที่ของนก ตามแนวเส้นทางศึกษาธรรมชาติ บริเวณชายฝั่งทะเล ในการเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม

Main Article Content

นิธินาถ เจริญโภคราช
วลัยพร ผ่อนผัน
เพชรพนม จิตมั่น
วิสูตร นวมศิริ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้ ศึกษาความหลากชนิดของนก ตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ บริเวณชายฝั่งทะเล ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากชนิด ความชุกชุม และลักษณะกิจกรรมของนกที่เข้ามาใช้ประโยชน์พื้นที่ เพื่อเสนอแนะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บริเวณพื้นที่ศึกษา การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสำรวจภาคสนามตามแนวเส้นทางศึกษาธรรมชาติและจุดสำรวจ จำนวน 8 จุด ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 – พฤษภาคม พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความหลากหลายของชนิดนก และปริมาณความชุกชุม ผลการศึกษาพบชนิดของนก 8 อันดับ 30 วงศ์ 71 ชนิด มีค่าดัชนีความหลากชนิดของนก (Shannon Diversity Index, H') เท่ากับ 3.20 ซึ่งอันดับ (Order) ที่มีความหลากชนิดของนกมากที่สุด คือ Passeriformes 
มีชนิดนก จำนวน 26 ชนิด โดยช่วงนอกฤดูกาลอพยพ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน - กันยายน 
พบจำ นวน 44 ชนิด ส่วนช่วงฤดูกาลอพยพ ตั้งแต่เดือนตุลาคม - พฤษภาคม พบจำนวน 66 ชนิด โดยจุดสำรวจที่ 7 จุดชมวิว พบชนิดนกมากที่สุด จำนวน 40 ชนิด ส่วนปริมาณความชุกชุม ในระดับ 5 นกที่พบบ่อยมาก มีจำนวน 11 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 15.49 ของชนิดนกที่พบทั้งหมด ส่วนสถานภาพของนก มีนกประจำถิ่น 36 ชนิด นกประจำถิ่นและนกอพยพ 9 ชนิด และนกอพยพ 26 ชนิด ในช่วงฤดูกาลอพยพ พบนกชายเลน จำนวน 16 ชนิด นกทะเล จำนวน 3 ชนิด ด้านสถานภาพการถูกคุกคาม ที่อยู่ในสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม หรือ NT (Near-threatened) มีจำนวน 4 ชนิด คือ นกปากแอ่นหางดำ นกอีก๋อยใหญ่ นกชายเลนปากโค้ง และนกสติ๊นท์คอแดง ลักษณะกิจกรรมของนกที่เข้ามาใช้ประโยชน์พื้นที่ คือ 
การเลี้ยงลูกและหากินอาหาร โดยในช่วงฤดูกาลอพยพ จะพบกลุ่มนกที่กินแมลงเป็นหลักมากที่สุด จำนวน 24 ชนิด รองลงมาคือกลุ่มนกที่กินสัตว์น้ำเป็นหลัก เช่น ปลา ปู กุ้ง หอย 
เป็นหลัก จำนวน 17 ชนิด และกลุ่มนกกินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังตามพื้นเป็นหลัก จำนวน 17 ชนิด เนื่องจากนกเป็นตัวชี้วัดความสมดุลของธรรมชาติและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรชีวภาพและแหล่งอาหารในระบบนิเวศ ดังนั้นเส้นทางศึกษาธรรมชาติ บริเวณชายฝั่งทะเล ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม จึงสามารถพัฒนาและจัดกิจกรรมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในระบบนิเวศชายฝั่งทะเล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2557). ความหลากหลายในป่าชายเลน. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2562, จาก http: //www.marinegiscenter.dmcr.go.th/km/mangroves_ doc06/#.VECIV.

กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2553). คู่มือเรื่องนกอพยพ. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

ยศพล วงศ์เลิศวิทย์. (2554). ผลของการใช้ประโยชน์ที่ดินต่อความหลากหลายของนกบริเวณปากแม่น้ำท่าจีน ด้านตะวันตก จังหวัดสมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

รุ่งโรจน์ จุกมงคล. (2554). แหล่งดูนกทั่วไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สารคดี.

รุ่งโรจน์ จุกมงคล. (2544). นกชายเลนในอ่าวไทยตอนใน : วัฏจักรและชะตาชีวิตบนหาดเลน. นิตยสารสารคดี ฉบับที่ 191 เดือน กุมภาพันธ์ 2544. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สารคดี.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเทียวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิชาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ประภาส นาประดิษฐ์. (2533). นิเวศวิทยาของนกในบริเวณพื้นที่ทำนากุ้ง จังหวัดสมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

นภดล แช่มช้อย, ประทีป มีวัฒนา และ ไกรวุธ สุขสว่าง. (2558). ความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ตำบลบางแก้ว จังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

พิชชนก นุ่มละมัย และ ศิริวรรณ เดือนขาว. (2557). การศึกษาความหลากชนิดของนกในเส้นทางบริเวณชายฝั่งทะเลและพื้นที่ใกล้เคียง ตำบลคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วรรณณา วงษ์วานิช. (2550). ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2558). บทบาทสำคัญของพื้นที่สีเขียวกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ ปี 2558. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2559, จาก http://www.onep.go.th/greenarea/subject.html.

อัฟเตอร์เมเยอร์, พอล แอล เอ, และ รุ่งโรจน์ จุกมงคล. (2542). การอพยพย้ายถิ่นของนกชายเลนและถิ่นอาศัยบริเวณอ่าวไทยตอนใน. กรุงเทพฯ : องค์การพื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติและสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย.

Charoenpokaraj, N., & Chitman, P. (2021). Species Diversity, Abundance and Similarity of Birds in Habitat of Birds along the Seacoast for Conservation and Ecotourism in Muang District, Samut Songkhram Province. PSRU Journal of Science and Technology, 6(1). 39-55.

Dais, M. P., Lecoq, M., Moniz, F., & Rabaca, J. E. (2014). Can human-made saltpans represent an alternative habitat for shorebirds? Implications for a predictable loss of estuarine sediment flats. Journal of Environmental Management, 53(1)163–171.

Lekagul, B., & Round, P. D. (1991). A Guide to the Birds of Thailand. Bangkok: Sahakarnbhaet Co.

Pettingill, O. S. (1969). A Laboratory and Field Manual of Ornithology. Minnesota: Burgess Publication Company.

Robson, C. (2008). A Field Guide the Birds of Thailand and South-East Asia. Bangkok: Asia Book Co., Ltd.

Shannon, C. E. (1949). Mathematical theory of communication. Bell System technical Journal, 27, 379-423.