ภูมิปัญญาการวิเคราะห์คุณลักษณะภายนอกเพื่อบ่งชี้เพศของต้นกัญชา ในพื้นที่เขตจังหวัดสกลนคร

Main Article Content

นพดล หงษ์สุวรรณ
รัตนา อินทเกตุ
อาทิตยา โคตรสมบัติ
บุษราภรณ์ ทับสีแก้ว

บทคัดย่อ

การศึกษาภูมิปัญญาการบ่งชี้เพศของต้นกัญชาในพื้นที่จังหวัดสกลนครมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการวิเคราะห์คุณลักษณะภายนอกเพื่อบ่งชี้เพศของกัญชาเพศผู้ เพศเมีย และกะเทย ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร โดยเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์บุคคลที่มีองค์ความรู้ในการปลูกกัญชา และเป็นผู้รับอนุญาตผลิตซึ่งยาเสพติดให้โทษ ประเภท 5 เฉพาะกัญชา (โดยการปลูก) ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร จำนวน 6 ท่าน จากการรวบรวมข้อมูลที่ได้มาทั้งหมดสามารถจำแนกการแยกเพศของต้นกัญชาได้ดังต่อไปนี้ การแยกเพศของต้นกัญชาสามารถแยกได้ตั้งแต่ยังเป็นเมล็ดพันธุ์ การดูความยาวของรากที่งอกออกจากเมล็ด การดูองศาลักษณะการชี้ของใบจริงคู่แรก ลักษณะเขี้ยวใบ แต่การแยกเพศของต้นกัญชาจากลักษณะที่กล่าวข้างต้นยังให้ผลไม่เป็นที่ชัดเจนมากนัก แต่ถ้าหากว่าสังเกตลักษณะบริเวณโคนก้านใบและ
ช่อดอกที่โตเต็มที่ของกัญชา จะเป็นวิธีการแยกเพศของต้นกัญชาที่ชัดเจนและแน่นอนมากที่สุด ซึ่งการแยกเพศของต้นกัญชานั้นมีประโยชน์ทางการแพทย์ เพราะสาระสำคัญกลุ่ม
แคนาบินอยด์ (Cannabinoids) และสารกลุ่มเทอร์พีนอยด์ (Terpene) เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง จะพบมากในช่อดอกของต้นกัญชาเพศเมีย โดยสาร ∆9-เททระไฮโดรแคนนาบินอล [(∆9-Tetrahydrocannabinol (∆9-THC)] เป็นสารที่พบในปริมาณสูงที่สุดในกลุ่มแคนนาบินอยด์ สำหรับในทางการแพทย์แผนไทยมีการนำทุกส่วนของต้นกัญชามาใช้ปรุงยาขึ้นอยู่ว่าตำรับยาแต่ละตำรับ ต้องการสรรพคุณในด้านใด ซึ่งในแต่ละส่วนของต้นกัญชาก็มีสรรพคุณที่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. (2562). การแจ้งการมีไว้ในครอบครองกัญชา สำหรับผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา 26/5 และบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ป่วย ตามมาตรา 22 (2) ก่อนพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ใช้บังคับให้ไม่ต้องรับโทษ พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2562 จากhttp://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/049/T_0002.PDF

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. (2562). การครอบครองยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชา สำหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้เพื่อรักษาโรคเฉพาะตัว ก่อนพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ใช้บังคับให้ไม่ต้องรับโทษ พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2562 จากhttps://ockt.dtam.moph.go.th/images/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87_%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2.pdf

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. (2562). การกำหนดให้ยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชา ตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุขหรือให้ทำลายกัญชาที่ได้รับมอบจากบุคคล ซึ่งไม่ต้องรับโทษ ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2562 จากhttps://cannabis.fda.moph.go.th/principle/

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. (2562). กำหนดตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ที่ให้เสพเพื่อรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้ พ.ศ. 2562. (16 เมษายน 2562). ราชกิจจานุเบกษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2562 จาก https://cannabis.fda.moph.go.th/principle/

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. (2562). ระบุชื่อยาเสพตดิให้โทษในประเภท 5 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2562 จากhttps://cannabis.fda.moph.go.th/principle/

พรชัย สินเจริญโภไคย, ตีญานี สาหัด, พราว ศุภจริยาวัตร, ศรายุธ ระดาพงษ์, เสกรชตกร บัวเบา, พิเชฐ บัญญัติ, ศิริวรรณ ชัยสมบูรณ์พันธ์ และ ณฐภัทร หาญกิจ. (2564). การศึกษาฤทธิ์สมานแผลของสารสกัดช่อดอกกัญชาเพศเมียพันธุ์ไทยต่อเซลล์ปอดเพาะเลี้ยง. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 63(3),467-477.

สมยศ ศุภกิจไพบูลย์. (2562). กัญชายาวิเศษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ปัญญาชน.

สุรศักดิ์ อิ่มเอี่ยม, ครัณณัฏฐ์ แสนเสนาะ, ประเสริฐ สุขเจริญ และ ฉัตรชัย สวัสดีไขย. (2562). ยาน่ารู้: กัญชา (Cannabis). วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์กลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 36(4), 356-362.

Superbud, J. (2019). เพศของต้นกัญชา (Gender). สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2563, จาก http://superbud420.com.

Woodbridge, M. (2562). ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์. (ม.ป.พ.): Bedrocan.