ผลของปุ๋ยคอกต่อการเจริญเติบโตและปริมาณสารสารฟลาโวนอยด์ในกระชายดำ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดและอัตราของปุ๋ยคอกที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ปริมาณผลผลิต และปริมาณสารฟลาโวนอยด์ของกระชายดำ วางแผนการทดลองแบบ Factorial in Randomized Complete Design ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ปัจจัยที่ 1 คือ ชนิดของปุ๋ยคอก จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ ไม่ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยมูลโค มูลไก่ มูลสุกรและปัจจัยที่ 2 คือปริมาณของปุ๋ยคอกที่ใส่ จำนวน 2 อัตรา ได้แก่ จำนวน 500 และ 800 กิโลกรัมต่อไร่ ผลการทดลองพบว่าชนิดและปริมาณของปุ๋ยคอกมีผลต่อการเจริญเติบโตทางด้านความกว้างใบ ขนาดของลำต้นเทียม จำนวนหน่อสะสม น้ำหนักเหง้าสดและน้ำหนักเหง้าแห้งของกระชายดำ ส่วนปริมาณสารฟลาโวนอยด์ในเหง้ากระชายดำ พบว่าการไม่ใส่ปุ๋ยมีปริมาณสารฟลาโวนอยด์สูงสุดเท่ากับ 3.04 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักแห้ง
Article Details
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560–2564. บจก.ทีเอส อินเตอร์พริ้นท.
มุกดา สุขสวัสดิ์.(2560). ปุ๋ยอินทรีย์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บ้านและสวน.
ตุลาพร แก้วแก่น และ วัฒนา พัฒนากูล. (2549). ผลของสภาวะขาดน้ำจากความแล้งและความเครียดเกลือต่อลักษณะทางสรีรวิทยาบางประการและเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตในข้าวระยะต้นกล้า. วารสารวิจัย มข., 11(4), 260-268.
ตันหยง เอมอยู่ และ วินัย แสงแก้ว. (2564). ผลของอัตราปุ๋ยมูลวัวที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและปริมาณสารฟลาโวนอยด์ของต้นว่านพญากาสัก (Leea macrophyllaRoxb. ex Hornem.) วารสารผลิตกรรมการเกษตร, 2(2). 75-83.
บุหรัน พันธุ์สวรรค์. (2556). อนุมูลอิสระสารต้านอนุมูลอิสระ และการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 21(3): 275-286.
ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร. (2554). ว่านกระชายดำ. โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร, ปราจีนบุรี.
อรัญญา ศรีบุศราคัม. (2558). กระชายดำกับสมรรถภาพทางเพศชาย. จุลสารข้อมูลสมุนไพร, 32(4), 2-5.
Fageria, N. K., & Baligar, V. C. (2005). Enhancing nitrogen use efficiency in crop plants. Adv. Agron, 88, 97–185.
Hati, K. M., Swarup, A., Mishra, B., Manna, M. C., Waniari, R. H., Mandal, K.G., & Misra, A. K. (2008). Impact of long-term application of fertilizer, manure and lime under intensive cropping on physical properties and organic carbon content of an Alfisol. Geoderma, 148, 173–179.
Hazra, C. R. (2007). Organic manures for sustainable agriculture. J. Agric, 12(1), 1–10.
Plaster E.J. (2003). Soil science and management. Inc.4th ed UnitedStates. Delmar Learning.
Plaster, E. J. (2003). Soil science and management. 4th ed. United States: Delmar Learning.
Pojanagaroon, S., & Kaewrak, C. (2003). Varietal selection of collected Krachai-Dam rhizomes by using the preference of Keachai-Dam product distributors and sellers. 402-406. In: Proceedings of the International Conference on Biodiversity and Bioaction Compounds. 17–19July 2003, Pattaya.
Riyana, D., Widiyastuti, Y., Widodo, H., Purwanto, E., & Samanhudi. (2018). Effect of manure and plants spacing on yield and flavonoid content of Elephantopus scaber L. Earth and Environmental Science, 142, Doi :10.1088/1755-1315/142/1/012038.