เครื่องล้างทำความสะอาดหัวข่าแบบกึ่งอัตโนมัติ

Main Article Content

สหัสวรรษ ภูจีระ
รักพงษ์ ขันธวิธิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบเครื่องล้างทำความสะอาดหัวข่า เพื่อลดปัญหาที่เกิดจากการล้างในปัจจุบันที่ยังใช้แรงงานคนในการล้างรวมไปถึงระยะเวลาในการล้างที่นานเกินไป และยังช่วยในการประหยัดน้ำ การศึกษาใช้มอเตอร์ขนาด 1/4 แรงม้า รอบการหมุน 1450 รอบต่อนาที เป็นต้นกำลัง ใช้ปั๊มน้ำขนาด 0.5 แรงม้า เพื่อใช้ในการหมุนเวียนน้ำในการล้างทำความสะอาด ใช้ Flat Fan Spray Nozzle ที่องศาสเปรย์ 60 องศา ช่วยในการฉีดล้างเศษดินที่ติดมากับหัวข่า และตะแกรงล้างจะช่วยในการร่อนดินที่ติดมากับหัวข่า จากการทดสอบพบว่าค่าที่เหมาะสมกับเครื่องล้างหัวข่านี้ คือ หัวข่าที่น้ำหนัก 5 กิโลกรัม สะอาดที่สุดที่เวลา 120 วินาที ผลต่างก่อนล้างและหลังล้างเท่ากับ 0.9 กิโลกรัม หรือ 18% จากนั้นนำไปทดสอบเพื่อเปรียบเทียบกับการล้างด้วยคน พบว่าการล้างหัวข่าที่น้ำหนัก 300 กิโลกรัม เครื่องล้างหัวข่าใช้เวลาน้อยกว่าการใช้คน เท่ากับ 90.8 นาที เครื่องล้างหัวข่ามีปริมาณน้ำที่ใช้ต่ำกว่าใช้คนล้าง เท่ากับ 3.02 บาท จำนวนแรงงานในการล้างหัวข่าด้วยเครื่องต่ำกว่าใช้คนล้าง เท่ากับ 1 คน แต่เครื่องล้างหัวข่ามีการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงกว่าใช้คนล้าง เท่ากับ 8.83 บาท จากผลการทดสอบต้องใช้ระยะเวลาคืนทุน 6 เดือน 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บงกช นพผล. (2545). การใช้สมุนไฟรในการผลิตสัตว์: ข่า. วารสารสัตวแพทยศาสตร์ มข., 12(2), 28 – 34.

ไกรเลิศ ทวีกุล และวีระ ภาคอุทัย. (2561). องค์ความรู้ บทเรียน และประสบการณ์ ชุดที่ 4 พืชเศรษฐกิจในครัวเรือน. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564. จาก https://risned. kku.ac.th/

Oonmetta-areea, J., Tomoko, S., Piyawan, G., Griangsak, E. (2006), Antimicrobial properties and action of galangal (Alpinia galanga Linn.) on Staphylococcus aureus, Food Science and Technology, 39, 1214-1220.

Sripor, W., & Nakanyapatthara, J. (2014). Effect of Alpinia galangal essential oil on bacteria spoilage. In: Proceedings of The 26th Annual Meeting of the Thai society for biotechnology and international conference. 382–287.

Yang, X., & Eilerman, R. G. (1999). Pungent principle of Alpinia galanga (L.) Swartz and its applications. Journal of Agricultural and Food Chemistry,47, 1657–1662.