การศึกษาคุณสมบัติคอนกรีตบล็อกชนิดไม่รับน้ำหนักผสมเถ้าลอยชีวมวล ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

จิรวัฒน์ วิมุตติสุขวิริยา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติคอนกรีตบล็อกชนิดไม่รับน้ำหนักที่ผลิตจากหินฝุ่นของหินปูนโดยใช้อัตราส่วนผสมต่าง ๆ และที่ผสมเถ้าลอยชีวมวล (Biomass Fly Ash) จำนวน 3 ชนิดจากพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ตัวอย่างทดสอบแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 คอนกรีตบล็อกไม่ผสมเถ้าลอยชีวมวล และกลุ่มที่ 2 คอนกรีตบล็อกผสมเถ้าลอยชีวมวล ผลการวิจัยพบว่า ความหนาแน่นของคอนกรีตบล็อกจะเพิ่มขึ้นเมื่ออัตราส่วนผสมมีการใช้ปริมาณซีเมนต์เพิ่มขึ้น ในขณะที่การดูดกลืนน้ำและความพรุนของคอนกรีตบล็อกจะเพิ่มขึ้นเมื่ออัตราส่วนผสมมีการใช้ปริมาณซีเมนต์ลดลง ทั้งนี้ความหนาแน่น การดูดกลืนน้ำ และความพรุนคอนกรีตบล็อกมีค่าแตกต่างกันตามชนิดเถ้าลอยชีวมวลที่ผสม นอกจากนั้นพบว่า คอนกรีตบล็อกทุกอัตราส่วนผสมมีกำลังอัดเฉลี่ยที่อายุ 28 วัน ผ่านมาตรฐาน มอก. 58-2530 โดยเถ้าลอยชีวมวลทั้ง 3 ชนิดที่ใช้อัตราส่วนผสมร้อยละ 15 โดยน้ำหนักซีเมนต์ช่วยเพิ่มกำลังอัดคอนกรีตบล็อกได้ร้อยละ 15-22 เมื่อเทียบกับที่ไม่ผสมเถ้าลอยชีวมวล อนึ่งองค์ความรู้จากงานวิจัยนี้สามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาคุณสมบัติคอนกรีตบล็อกเพื่อการพาณิชย์ต่อไปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรวัฒน์ วิมุตติสุขวิริยา. (2564). การศึกษาคุณสมบัติคอนกรีตบล็อกชนิดไม่รับน้ำหนักผลิตจากหินฝุ่นบะซอลต์ผสมเถ้าชานอ้อยในพื้นที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 16(1), 103-117.

ชัย จาตุรพิทักษ์กุล. (2555). การใช้เถ้าชานอ้อยเพื่อเป็นวัสดุปอซโซลานในงานคอนกรีต. วารสารวิชาการสมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย, 16, 1-11.

บุรฉัตร ฉัตรวีระ, สุธี จริยธีรเวช และ ณัฏฐ์ มากุล. (2552). คุณสมบัติของคอนกรีตบล็อกกลวงชนิดไม่รับน้ำหนักและไม่ควบคุมความชื้นผสมแร่ดินเบาและเถ้าชานอ้อย, วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 32(1), 59-76.

วันโชค เครือหงส์, ธีรวัฒน์ สินศิริ, ชัย จาตุรพิทักษ์กุล และ ปริญญา จินดาประเสริฐ. (2555). การศึกษาโครงสร้างจุลภาคของซีเมนต์เพสต์ผสมเถ้าปาล์มน้ำมัน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 35(2), 187-200.

สิทธิชัย แสงอาทิตย์. (2556). อัตราส่วนปูนซีเมนต์ต่อหินฝุ่นที่เหมาะสมในการผลิตคอนกรีตบล็อกหรืออิฐบล็อก. วารสารวิชาการสมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย, 20, 1-5.

สุชาดา ศรีไพโรจน์ธิกูล. (2539). การศึกษาคุณภาพของหินปูนและโดโลไมต์จากแหล่งต่าง ๆ ของประเทศไทยโดยวิธี XRF. กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรธณณี.

อาทิมา ดวงจันทร์ และ สุวิมล สัจจวาณิชย์. (2548). คอนกรีตบล็อกผสมเถ้าชานอ้อย. น.6-10. ใน: การประชุมวิชาการคอนกรีตแห่งชาติครั้งที่ 10, 2-4 พฤษภาคม 2548, สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย, ชลบุรี.