ผลของถ่านไม้มะม่วงชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดข้าวเหนียว

Main Article Content

เยาวพล ชุมพล
โฉมยง ไชยอุบล

บทคัดย่อ

ถ่านชีวภาพได้รับความสนใจในการนำมาใช้ในการปรับปรุงดิน เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีความพรุนสูงสามารถดูดซับน้ำและธาตุอาหารได้ดี วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาผลของอัตราส่วนของถ่านไม้มะม่วงชีวภาพต่อดินที่เหมาะสมให้เป็นวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมสายพันธุ์เหนียวมณี แบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ทรีตเมนต์ ในแต่ละทรีตเมนต์ผสมถ่านชีวภาพในอัตราส่วนผสมร้อยละของถ่านชีวภาพต่อดิน 4 อัตราดังนี้ อัตรา 100:0 อัตรา 75:25 อัตรา 50:50 และอัตรา 25:75  ผลการศึกษาพบว่าค่าความเป็นกรดเบสของดินลดลงตามอัตราส่วนของถ่านชีวภาพในวัสดุปลูกที่ลดลง อัตราส่วนของถ่านชีวภาพต่อดินในวัสดุปลูกข้าวโพดมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพด โดยอัตราส่วนของถ่านชีวภาพในวัสดุปลูกมีแนวโน้มการตอบสนองต่อความสูงของลำต้นข้าวโพดแบบเส้นโค้งกำลังสอง (P<0.01) ส่วนความกว้างของใบมีแนวโน้มการตอบสนองแบบเส้นตรง (P<0.01) โดยพบว่าเมื่ออัตราส่วนของถ่านชีวภาพในวัสดุปลูกลดลงมีผลทำให้ความกว้างของใบลดลง อัตราส่วนของถ่านชีวภาพในวัสดุปลูกที่ลดลงมีแนวโน้มทำให้น้ำหนักฝัก ความกว้างและความยาวของฝักข้าวโพด ลดลงแบบเส้นตรง (P<0.05) สรุปได้ว่าอัตราส่วนของถ่านไม้มะม่วงชีวภาพในวัสดุปลูกที่ลดลงมีแนวโน้มการตอบสนองต่อความสูงของลำต้น ความกว้างของใบ ผลผลิตน้ำหนักฝัก ความกว้างของฝัก และความยาวของฝักข้าวโพดที่ลดลงในการศึกษาครั้งนี้ อัตราส่วนผสมร้อยละของถ่านชีวภาพต่อดินในวัสดุปลูก ที่ระดับ 75:25 มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดข้าวเหนียวสายพันธุ์ลูกผสมเหนียวมณีดีที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศศิรินทร์ แสงมณี, ชัยนาม ดิสถาพร และ สุรชัย สุวรรณชาติ. (2557). การจัดการดินด้วยเทคโนโลยีชีวภาพในการผลิตคะน้าในดินทราย. วารสารวิทยศาสตร์เกษตร, 45(พิเศษ2), 605-608.

จาวภา มะนาวนอก, สันติไมตรี ก้อนคำดี, เกษสุดา เดชภิมล และ วรรณวิภา แก้วประดิษฐ์ พลพินิจ. (2560). ถ่านชีวภาพ: ผลต่อคุณสมบัติของดินและการเจริญเติบโตของข้าวนาหว่านตม (การทดสอบในสภาพกระถาง). แก่นเกษตร, 45(2), 209-220.

ธนศิษฏ์ วงศ์ศิริอำนวย. (2562). การผลิตถ่านชีวภาพและแนวทางการใช้ประโยชน์. สืบค้นเมื่อ วันที่ 29 มีนาคม 2563 จาก https://www.erp.mju.ac.th/.

พัทรัตน์ อมรชร. (2552). การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวโพดหวาน จำแนกโดยลักษณะสัณฐานวิทยาและการตอบสนองต่อโรคราน้ำค้าง. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

พินิจภณ ปิตุยะ และ อนัญญา โพธิ์ประดิษฐ์. (2560). การพัฒนาและฟื้นฟูดินทรายในเขตเงาฝนด้วยถ่านชีวภาพ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(3), 27-38.

ภราภรณ์ เหล็กสูงเนิน, วรชาติ วิศวพิพัฒน์ และ ดาวจรัส เกตุโรจน์. (2560). ผลการใช้ถ่านชีวภาพจากแกลบต่อสภาพการละลายจุลธาตุอาหารพืชและการเจริญเติบโตของข้าวที่ปลูกในดินเนื้อปูน. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์, 4(3), 65-74.

เสาวคนธ์ เหมวงษ์ และ ศศิธร เชื้อกุณะ. (2554). การใช้ถ่านปรับปรุงดินเพื่อปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวหวาน. วารสารเกษตร, 27(3), 259-266.

ศิริลักษณ์ ศิริสิงห์ และ อรสา สุกสว่าง. (2556). การประยุกต์ถ่านชีวภาพในการปรับปรุงดินเพื่อการเกษตร. วารสานสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 39(2), 212-225.

รัตถชล อ่างมณี, กัญจน์นรี ช่วงฉ่ำ และ อรรณพ หอมจันทร์, 2560. สมบัติของไบโอชาร์ที่ผลิตจากเศษข้าวโพด และศักยภาพในการใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดิน.วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 56, 12(1), 53-63.

Thi, M. V., Chulaka, P., Kasem, S., & Kaewsorn, P. (2013). Effects of Bio-charcoal and Organic Fertilizer on the Growth of Mini Chinese Kale. Agricultural Sci. J, 44(Suppl.2), 648-656.

Peech, M. 1965. Hydrogen-Ion Activity. In Methods of soil Analysis Part 2. C.A. Black (ed.) American society of Agronomy, Inc, Publisher. USA. pp. 914-926.