คณิตศาสตร์กับการทำแห กรณีศึกษา : อ่าวบ้านดอน

Main Article Content

สุรินทร์ สมณะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการทำแหของประชาชนในบริเวณอ่าวบ้านดอน และเพื่อศึกษาคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับการทำแห  กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยประชาชนที่มีความเชี่ยวชาญใน   การทำแหที่อาศัยอยู่ในตำบลบางใบไม้ ตำบลบางไทร ตำบลบางโพธิ์  ตำบลคลองฉลาก และตำบลลีเล็ด จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตำบลละ 4 คน รวมทั้งหมด 20 คน  ผลการวิจัยพบว่า  ประชาชนนิยมทำแหโดยการเย็บด้วยมือบางส่วน ขั้นตอนการทำแหเริ่มจากการทำจอมแหหรือแหช่วงที่ 1 ตัดเนื้อแหที่ผลิตจากโรงงาน ขนาด ตา รวบตาแหข้างหนึ่งเป็นจอมแห ช่วงที่ 2 ตัดเนื้อแหขนาด  ตา  เย็บตาแหติดกับขอบช่วงที่ 1 ช่วงที่ 3 ตัดเนื้อแหขนาด  ตา เย็บตาแหติดกับขอบช่วงที่ 2 ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ  จนได้ขนาดตามต้องการแล้วเย็บเนื้อแหยาวประมาณ 50 ตา ร้อยเชือกที่ตาแหด้านล่างของเนื้อลากให้ติดกับลูกแหและทำเพลาแหที่มีลักษณะคล้ายถุงสำหรับให้ปลาเข้าอยู่ในเพลาแห  การทำแหจะเกิดความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนช่วงของแหกับจำนวนตาแหที่ขอบของช่วงที่ n (an) และ จำนวนตาแหที่ใช้ทำแหทั้งหมด คือ  an  = 70n  และ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คีรี กออนันตกุล. (2547). เครื่องมือประมงในลุ่มน้ำสงคราม. กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดกรมประมง.

ทวีศักดิ์ สุขรัตน์. (2551).การสังเคราะห์ภาพรวมอ่าวบ้านดอน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ปกรณ์ คุณารักษ์. (2556). แห. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2558, จาก https://www.fisheries.go.th/sfsisaket/web2/images/stories/view/hac.pdf.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชันส์.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. (2557). งานวิจัยชาวบ้านกับการแก้ปัญหาวิกฤติอ่าวบ้านดอน. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2558, จาก http://vijai.trf.or.th/Activity_ detail.asp?topicid=820.

อานนท์ ภาคมาลี. (2556). หมออนามัย แห เครื่องมือจับปลา. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2558, จาก https://www.gotoknow.org/posts/500298.

PooLom (นามแฝง). (2556). ภูมิปัญญาชาวบ้านเรื่องการสานแห. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2557, จาก http://fishnetswisdom.blogspot.com/2012/01/ blog-post.html.