ความหลากชนิดของผีเสื้อกลางคืนในเขตวัดป่าวังเกาะเกิ้ง จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความหลากชนิดของผีเสื้อกลางคืนในพื้นที่วัดป่าวังเกาะเกิ้ง จังหวัดมหาสารคาม ตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึง เดือนธันวาคม 2562 โดยใช้กับดักแสงไฟและฉากผ้าขาว ตั้งแต่เวลา 18.30 - 21.30 น. ผลการศึกษาพบผีเสื้อกลางคืนทั้งหมด 111 ตัวอย่าง โดยสามารถจำแนกออกเป็น 8 วงศ์ 26 สกุล 34 ชนิด วงศ์ที่มีความหลากชนิดสูงสุดจากตัวอย่างผีเสื้อกลางคืนที่เก็บได้คือ วงศ์ Crambidae (12 สกุล 14 ชนิด) วงศ์ Geometridae (3 สกุล 6 ชนิด) วงศ์ Erebidae (4 สกุล 5 ชนิด) วงศ์ Noctuidae (2 สกุล 4 ชนิด) วงศ์ Pyralidae (2 สกุล 2 ชนิด) วงศ์ Notodontidae วงศ์ Cossidae และวงศ์ Nolidae (1 สกุล 1 ชนิด) ดัชนีค่าความหลากชนิด เท่ากับ 3.115 ค่าดัชนีความสม่ำเสมอเท่ากับ 0.883 พบชนิดผีเสื้อกลางคืนที่มีความถี่ของการปรากฏสูงที่สุดซึ่งคิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ คือ Creatonotos gangis, Scopula inductata,และ Ramesa tosta
Article Details
References
กิตติ ตันเมืองปัก, ชุลีพร ขันทวี, อติพร สหสมบูรณ์, พรชนก บุญลับ และ ประยูร ชุ่มมาก. (2060). ความหลากชนิดของผีเสื้อกลางคืน ในเขตวนอุทยานผางาม จังหวัดเลย. ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4. วันที่ 22 ธันวาคม 2560. มหาวิทยาลัยกำแพงเพชร, กำแพงเพชร. 312-320.
เกรียงไกร สุวรรณภักดิ์. (2555). คู่มือรูปภาพผีเสื้อกลางคืนในประเทศไทย. บีเอ็นอีซี. 64 หน้า
ณิชานันท์ แดงรอด และ พิสิษฐ์ พูลประเสริฐ. (2559). ความหลากชนิดของผีเสื้อกลางคืนบริเวณพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก. ในการประชุมวิชาการงานเกษตรนเรศวร ครั้งที่ 12. วันที่ 21-22 กรกฎาคม 2559. มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก. 104-108.
มูฮำหมัดตายุดิน บาฮะคีรี, ฉันทนา รุ่งพิทักษ์ไชย, ประยูร ดำรงรักษ์, พาตีเมาะ อาแยกาจิ และ อาหะมะ บูละ. (2553). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ความหลากหลายของผีเสื้อกลางคืนในหุบเขาลำพญา จังหวัดยะลา. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ. (2553). ผีเสื้อกลางคืนในหุบเขาลำพญา. สงขลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมหาสารคาม. (2560). สารคามออนทัวร์ : วารสารเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดมหาสารคาม. ขอนแก่น: โรงพิมพ์พัฒนาการพิมพ์.
ICEM. (2013). USAID Mekong ARCC Climate Change Impact and Adaptation Study for the Lower Mekong Basin: Main Report. Bangkok : Prepare for the United States Agency for International Development by ICEM-International Centre for Environmental Management.
Ludwig, J. A., & Reynolds, J. F. (1988). Statistical ecology. New York: John Wiley and Sons.
Mulder, C. P. H., Baxeley-White, E., Eimitrakopoulos, P. G., Hector, A., Scherer-Lorenzen, M., & Schmid, B. (2004) Species evenness and productivity in experimental plant communities. Oikos, 107, 50-63.