เปรียบเทียบปริมาณของฮิวมัสในดินป่าเต็งรังและดินสวนยางพารา บริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ศูนย์การศึกษาสามพร้าว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเปรียบเทียบอิทธิพลของชนิดพันธุ์พืชในป่าเต็งรังกับสวนยางพาราที่มีต่อปริมาณร้อยละฮิวมัสในระดับความลึกชั้นดินอินทรีย์ที่ระดับความลึก 0-10 เซนติเมตร กับดินชั้นบนที่ระดับความลึก 10-30 เซนติเมตร ทำการวิจัยโดยเก็บดินใต้ชั้นเรือนยอดของต้นเต็ง ต้นรัง ต้นเชือกในป่าเต็งรังและต้นยางพาราจากสวนยางพาราของเกษตรกรบริเวณใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ศูนย์การศึกษาสามพร้าว จากนั้นนำมาทำการสกัดหาปริมาณฮิวมัสโดยใช้สารผสมโซเดียมไพโรฟอสเฟตและโซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นสารสกัด ผลการวิจัยครั้งนี้พบร้อยละฮิวมัสในดินใต้ต้นเต็ง ต้นรัง ต้นเชือก และยางพาราในดินชั้นอินทรีย์ เท่ากับ 2.25, 2.25, 4.12 และ 0.96 ตามลำดับ ส่วนในดินชั้นบนเท่ากับ 2.11, 2.10, 4.01 และ 0.74 ตามลำดับ จากผลดังกล่าว พบว่า ร้อยละฮิวมัสในดินใต้ต้นเชือกมีปริมาณสูงที่สุด และเมื่อพิจารณาร้อยละฮิวมัสในดินใต้ต้นไม้ในป่าเต็งรัง พบว่า มีค่าสูงกว่าในดินใต้ต้นยางพารา
Article Details
References
Haddad, G., Ali, F. E., & Mouneimne, A. H. (2015). Humic Matter of Compost: Determination of Humic Spectroscopic Ratio (E4/E6). Current Science International, 4(1), 56-72.
Jandl, R. et al. (2014). Current status, uncertainty and future needs in soil organic carbon monitoring. Science of the total Environment, 468-469, 376-383.
Jandl, R., Smidt, S., Mutsch, F., Furst, A., Zechmeister, H., & Bauer, H. (2012). Acidification and nitrogen eutrophication of Austrian forest soils. Applied Environmental Soil Science, 60, 685-696.
Jansson, D. W., Wullschleger, S., Kalluri, U., & Tuskan, G. (2010). Phytosequestration: carbon biosequestration by plants and the propects of genetic engineering. BioScience, 60, 685-696.
Oelbermann, M., Voroney, R. P., & Gordon, A. M. (2004). Carbon sequestration in tropical and temperate agroforestry systems: a review with examples from Costa Rica and southern Canada. Agricultural Ecosystem and Environment, 104, 359-377.
Ponge, J. F. (2013). Plant-soil feedbacks mediated by humus forms: A review. Soil Biological and Biochem, 57, 1048-1060.
Thangarajan, R., Bolan, N. S., Tian, G., Naidu, R., & Kunhikrishnan, A. (2013). Role of organic amendment application on greenhouse gas emission from soil. Science of the total Environment, 465, 72-96.
Xavier, F. A. S., Maia, S. M. F., Ribeiro, K. A., Mendonca, E. S., & Oliveira, T. S. (2013). Effect of cover plants on soil C and N dynamics in different soil management systems in dwarf cashew culture. Agricultural Ecosystem and Environment, 165, 173-183.