การประเมินและจัดการความเสี่ยงทางสุขภาพจากการบริโภคสัตว์น้ำในกว๊านพะเยา ของประชาชนที่อาศัยอยู่รอบกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา

Main Article Content

สมคิด จูหว้า
รุ่ง วงศ์วัฒน์
อนุกูล มะโนทน

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ประเมินและจัดการความเสี่ยงทางสุขภาพจากการบริโภคสัตว์น้ำในกว๊านพะเยา ประเมินปริมาณอาหารที่สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัยเทียบกับค่าความปลอดภัยหรือค่าของวัตถุเจือปนอาหาร (Acceptable Daily Intake; ADI) ตรวจวิเคราะห์สารแคดเมียมและตะกั่วในสัตว์น้ำ จำนวน 6 ชนิด คือ กุ้งฝอย หอยขม ปลาดุก ปลานิล ปลาไหล และปลาชะโด พบว่า มีการปนเปื้อนสารแคดเมียมในกุ้งฝอยและหอยขม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.0480 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ 0.0200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ และพบสัตว์น้ำ จำนวน 3 ชนิด ที่มีการปนเปื้อนสารตะกั่ว ได้แก่ กุ้งฝอย หอยขม และปลาดุก ในปริมาณ 0.0325 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากการบริโภคกุ้งฝอยและหอยขมที่ปนเปื้อนสารแคดเมียมมีค่าสัดส่วนความเสี่ยงอันตราย (Hazard Quotient; HQ) เท่ากับ 0.27 และ 0.11 ตามลำดับ และได้รับสารตะกั่วเฉลี่ยใน 1 วัน เท่ากับ 5.70 ไมโครกรัมต่อวัน ซึ่งมีค่าน้อยกว่าค่า TDI ถึง 36 เท่า (ค่า Tolerable Daily Intake; TDI) มีค่าเท่ากับ 3.60 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน สรุปได้ว่าประชาชนสามารถบริโภคสัตว์น้ำได้อย่างปลอดภัย การจัดการความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชน ควรดำเนินการตรวจสอบการปนเปื้อนของสารแคดเมียมและตะกั่วในสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการเฝ้าระวังทางสุขภาพของประชาชน 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นัยนา เสนาศรี, สมศักดิ์ ระยัน, สุกัญญา คำหล้า และ ศุกฤชชญา เหมะธุลิน. (2559) การสะสมทองแดงและแคดเมียมจากปลาน้ำจืดในหนองหาน จังหวัดสกลนคร. วารสารแก่นเกษตร, 44(พิเศษ), 669- 674.

สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม. (2560). พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2560, จาก https://wetland.onep.go.th/NongLengsai.html

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา. (2559). สรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2559. จังหวัดพะเยา

อรุณศรี ปรีเปรม, บังอร ศรีพานิชกุลชัย, วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ และ ประภาส โฉลกพันธ์รัตน์. (2550).โลหะหนักในปลาน้ำจืดในแม่น้ำพองและชี. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัย ขอนแก่น, 12(4), 420-430.

Agency for Toxic Substances and Disease Registry (ATSDR). (2007). Toxicological profile for lead. Retrieved 2 January 2016, from: https://www.atsdr.cdc.- gov/toxprofiles/tp13.pdf.

Botkin and Keller. (2007). Biomagnifications. Accessed on January 20, 2017, from https://dspace.ist.utl.pt/bitstream/2295/50876/1/Saude_riscos_e_toxicologia.pdf.

Codex Alimentarius Commission. (2006). Joint FAO/WHO Food Standands Programme. 29th Session International Conference Centre. Retrieved 2 January 2016, from: www.fao.org/input/download/report/657/al292e.pdf.

Food Standards Agency. (2008). Front of pack nutritional signpost labelling technical guide issue. Retrieved 20 January 2017, from: https://www.food.-gov.uk/multimedia/pdfs/frontofpackguidance2.pdf.

Joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additives (JECFA) (2000). Safety evaluation of certain food additives and contaminants. Retrieved 5 January 2016, from: https://www.inchem.org/documents/jecfa/jecmono/ v46je01.htm.

Page, N. P. (1994). Human health risk assessment. Florida: CRC Press, Boca Raton.

United States Environmental Protection Agency. (2000). Guidance for assessing Chemical contaminant data for use in fish advisories. Retrieved 25 January 2017, from: https://www.epa.gov/sites/Production/files/2015-06/documents/volume2.pdf.

World Health Organization. (1992). IPCS Environmental Health Criteria 134: Cadmium. Retrieved 5 January 2016, from:https://www.inchem.org/ documents/ehc/ehc/ehc134.htm.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3th ed. New York: Haper and Row.