ระบบภาษามือไทยในชีวิตประจำวัน

Main Article Content

คณิศร - จี้กระโทก
พันธวัฒน์ ถ่องตะคุ
อนุชิต จำปามูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) พัฒนาระบบภาษามือไทยในชีวิตประจำวัน  2) หาคุณภาพของระบบภาษามือไทยในชีวิตประจำวัน โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน  3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้ระบบภาษามือไทยในชีวิตประจำวัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิทยาการจัดการทั่วไป ชั้นปีที่ 2 จำนวน 21 คน โดยเป็นบุคคลปกติ จำนวน 20 คน และเป็นผู้บกพร่องทางการได้ยินจำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ระบบภาษามือไทยในชีวิตประจำวัน และแบบประเมินคุณภาพระบบภาษามือไทยในชีวิตประจำวัน ผลการวิจัย พบว่า ระบบภาษามือไทยในชีวิตประจำวัน มีระดับคุณภาพจากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดี (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x}=4.24, SD=0.55) 3) และผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x}=4.24, SD=0.66) 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙ กรุงเทพมหานคร. ม.ป.ท.

กระทรวงศึกษาธิการ (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ชุมพล สุทธิ. (2551). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.

พูลศักดิ์ หลาบสีดา และ นาคุณ ศรีสนิท. (2559) การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานบริการของสายงานเทคโนโลยีและสารสนเทศภายในบริษัท: กรณีศึกษา บริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. การประชุมระดับชาติ “นเรศวรวิจัย” ครั้งที่12 วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ. พิษณุโลก:มหาวิทยาลัยนเรศวร. 237-247.

มานะ ประทีปพรศักดิ์. (2549). การพัฒนาชุดบทเรียนมัลติมีเดียเพื่อการสอนคนหูหนวก เรื่อง พุทธประวัติ. ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมกล้าพระนครเหนือ.

วิชัย บํารุงศรี. (2550). การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการออกเสียงภาษาอังกฤษของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาพิษณุโลก. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาพิษณุโลก.

สุรเชษฐ์ มีฤทธิ์. (2554). การพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดบทเรียนมัลติมีเดียเพื่อการสอนคนหูหนวก เรื่อง พุทธประวัติ สำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

อิริยา ผ่องพิทยา และมณเฑียร รัตนศิริวงศ์วุฒิผล. (2552). การพัฒนาเว็บการเรียนการสอนภาษามือทางการศึกษาพิเศษผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (สำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน). ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.