การรับรู้ความเสี่ยงและพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการทำงาน ของพนักงานเก็บขนมูลฝอย สำนักงานเขตสาทร

Main Article Content

พัสพิชชา ทองจีราอนันต์
ณิภัทรา หริตวร
ลักษณา เหล่าเกียรติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความเสี่ยงและพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการทำงานของพนักงานเก็บขนมูลฝอย สำนักงานเขตสาทร กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานเก็บขนมูลฝอย สำนักงานเขตสาทร จำนวน 130 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ผู้บริหาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่าพนักงานเก็บขนมูลฝอย มีการรับรู้ความเสี่ยงจากการทำงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี เพียงร้อยละ 38.5 แต่กลับพบว่าพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการทำงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ถึงร้อยละ 53.1 ปัจจัยส่วนบุคคล สุขภาพและความปลอดภัย ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ รอบเวลาการปฏิบัติงาน (p=0.042) ระยะเวลาการปฏิบัติงานในรอบวัน (p<0.001) และอุบัติเหตุ/เจ็บป่วยจากการทำงาน (p=0.001) และพบว่าการรับรู้ความเสี่ยงจากการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการทำงานในระดับปานกลาง (r=0.498, p<0.01) จากการสัมภาษณ์ผู้บริหาร พบว่า สำนักงานเขตสาทรใช้วิธีทางด้านการบริหารจัดการเพื่อการป้องกันควบคุมอันตรายจากการทำงาน ได้แก่ การประกาศนโยบายของหน่วยงาน การจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากการปฏิบัติงาน การจัดทำข้อปฏิบัติหรือแนวทางมาตรฐานการปฏิบัติงาน รวมทั้งการสนับสนุนอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ดังนั้นสำนักงานเขตสาทรควรมีการเสริมสร้างพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการทำงานของพนักงานเก็บขนมูลฝอยให้คงอยู่ในระดับดีอย่างต่อเนื่อง โดยเสริมสร้างให้มีพฤติกรรมในด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ ให้มากขึ้น เช่น การกำหนดบทลงโทษที่ชัดเจน และการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติตนที่ถูกต้องในการทำงาน ซึ่งจะช่วยให้การทำงานเก็บขนมูลฝอยมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
ทองจีราอนันต์ พ., หริตวร ณ., & เหล่าเกียรติ ล. (2023). การรับรู้ความเสี่ยงและพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการทำงาน ของพนักงานเก็บขนมูลฝอย สำนักงานเขตสาทร. วารสารสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 9(2), 16–26. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/saujournalst/article/view/252701
บท
บทความวิจัย

References

Bureau of Environment Bangkok. “Solid waste volume statistics” (2021, May. 25). [Online]. Available:

https://webportal.bangkok.go.th/environmentbma/page/s sub/ 7405.

Bureau of Environment Bangkok. (2021, May. 25). “Annual report. [Online]. Available: https://webportal.

bangkok.go.th/environmentbma/page/sub/ 8545.

S. Sirasukol, “Health Condition of Garbage Collectors: the case study of municipalities in Nakhon Pathom Province.” M.S. Thesis, Silpakorn Univ., 2011 (in Thai).

P. Pijadee, “Prevalence and risk factors associated with occupational injuries and disorders among garbage collectors in Bang Pa-in District, Ayutthaya.” M.S. Thesis, Thammasat Univ., 2012 (in Thai).

S. Lakdee. “Investigation, knowledge, attitude, and behavior concerning infectious waste disposal by the staff of private health centers in municipal area, Ubon Ratchathani.” M.S. Thesis, Ubon Ratchathani Univ., 2008 (in Thai).

M. Nanok and L. Charerntanyarak, “Occupational harzard prevention behaviors of garbage collector in Khon Kaen Municipality,” KKU Journal for Public Health Research, Vol.13, no.1, pp.48-59, Jan-Mar. 2020. (in Thai).

[9] [16] V. Thongyoung, “Factors related to the disease and occupational injuries of garbage collectors and their preventive behavior,” M.S. Thesis, Mahidol Univ., 2009 (in Thai).

Wiedemann, P. M. & Schu ̈tz, H. (2005). The Precautionary Principle and Risk Perception: Experimental Studies in the EMF Area. Environmental Health Perspectives, 113: 402-405.

[14] N. Thiangkhamdee, “Factors influencing work-related accidental prevention behaviors of garbage collectors in Banglamung District Chonburi,” M.N.S. Thesis, Burapha Univ., 2013 (in Thai).

P. Kamolwarin, “Knowledge and Health prevention Behaviors form Infected Waste Collection Staff in

the Company and the Local Government Organization in Pathum Thani Province.” Regional Health Promotion Center 9 Journal Vol. 15 No. 36 January-April 2021. (in Thai).

S. Srisomsak. “Relationship between Health Beliefs and Occupational Hazard Prevention Behaviors of Employees at Automobile Parts Factory in Rayong Province.” M.S. Thesis, Borapha Univ., 2014 (in Thai).

J.Kochakot and S. Intaranongpai, “Workplace accidental preventing behavior of factory workers in Mahasarakham province,” Journal of Humanities and Social Sciences Mahasarakham University, Vol.36, no.5, pp.12-20, Sep-Oct. 2017. (in Thai).

S. Rattanapirom, “Accident prevention behaviors of the operational employees of BASF Group Company in Thailand,” M.S. Thesis, Silpakon Univ., 2015 (in Thai).