การพัฒนาแบบจำลองคุณภาพน้ำอย่างง่ายเพื่อคาดการณ์ศักยภาพการรองรับมลพิษของลุ่มน้ำท่าจีน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างวิธีการประเมินศักยภาพการรองรับมลพิษที่มีความสะดวกในการดำเนินงาน สามารถรวบรวมข้อมูลได้ง่าย ในการดำเนินงานในครั้งนี้ใช้ค่าออกซิเจนละลายน้ำเป็นตัวแปรในการเปรียบเทียบระดับวิกฤตที่สามารถยอมให้มีการระบายมลพิษจากแหล่งกำเนิด เพื่อให้การดำเนินงานมีความสะดวกรวดเร็วกำหนดให้ใช้จุดศูนย์กลางของจังหวัดเป็นตัวแทนในการระบายมลพิษทั้งจังหวัด และใช้ตำแหน่งอ้างอิงซึ่งเป็นจุดที่ค่าออกซิเจนละลายน้ำเฉลี่ยในรายงานการสำรวจรายไตรมาส มาใช้เป็นจุดเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน ผลการศึกษาพบว่าสามารถใช้แนวทางการประเมินอย่างง่ายเพื่อการหาศักยภาพการรองรับมลพิษระดับจังหวัดได้ ซึ่งผลการศึกษาพบว่าจังหวัดนครปฐมมีการระบายมลพิษสูงสุดแต่ยังมีความสามารถในการรองรับมลพิษ และในทางตรงกันข้ามจังหวัดชัยนาทมีการระบายมลพิษต่ำที่สุดในลุ่มน้ำท่าจีน แต่ไม่สามารถรองรับมลพิษได้เพิ่มอีกเนื่องจากอยู่ในพื้นที่ที่ใช้เกณฑ์คุณภาพแหล่งน้ำผิวดินระดับสูงกว่าของจังหวัดนครปฐม
Article Details
References
สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร, การดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล, โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง, ลุ่มน้ำท่าจีน, 2555.
M. Benedini and G. Tsakins, Water Quality Modelling for Rivers and Streams. Springer, New York, 2013.
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2565, พฤษภาคม 16). “ประกาศกรมการปกครอง เรื่อง แจ้งข้อมูลทางการปกครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564” [ออนไลน์]. Available: https://www.dopa.go.th/ news/cate1/view6988.
สขิลา ลีลาชัย และ สิตางศุ์ พิลัยหล้า, “การประเมินความต้องการใช้น้ำกลุ่มที่พักอาศัยในพื้นที่รับผิดชอบของการประปานครหลวงแบบรายพื้นที่,” การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25, จังหวัด ชลบุรี, 15-17 กรกฏาคม 2563.
ธรรมพงศ์ เนาวบุตร, การประเมินความต้องการน้ำอุปโภค บริโภคและอุตสาหกรรม, สำนักบริหารจัดการน้ำ. [ออนไลน์]. Available: chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/http://water.rid.go.th/wrd/const14/images/KL/KL4.pdf.
สถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. แนวทางการประเมินการใช้น้ำภาคอุตสาหกรรมสำหรับประเทศไทย, พิมพ์ครั้งที่ 1, บริษัท นีโอ ดิจิตอล จำกัด, 2561.
กรมควบคุมมลพิษ, โครงการประเมินศักยภาพการรองรับมลพิษ (Carrying Capacity) แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำนครนายก และแม่น้ำปราจีนบุรี, 2550.
T.D. Reynolds and P.A. Richards, Unit operations and processes in environmental engineering, 2nd ed., PWS Publishing, 1996.
พิสุทธิ์ เพียรมนกุล, หน่วยกระบวนการสำหรับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม, โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557.
[ 0] H.W. Streeter and E.B. Phelps, A study of the pollution and natural purification of the Ohio River. US Public Health Service. Public Health Bull, Vol 146, pp. 75, 1925.
M. Owens, R.W. Edwards, and J.W. Gibbs, Some reaeration studies in streams. Int J Air Water Pollut , Vol 8, pp. 469–486, 1964.
ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน, 2537