การออกแบบอุปกรณ์ขนย้ายเครื่องจักร เพื่อลดเวลาในการขนย้าย กรณีศึกษา บริษัท AAA จำกัด

Main Article Content

บุริม นิลแป้น

บทคัดย่อ

           บริษัท AAA จำกัด เป็นศูนย์จำหน่ายและแสดงเครื่องจักรด้านโลหะแผ่น ทำหน้าที่จัดหาและจัดส่งเครื่องจักรขนาดระหว่าง 1 – 20 ตัน บริษัทมีบริเวณพื้นที่โกดังในการเก็บ 2 โกดัง จึงทำให้มีการเคลื่อนย้ายเครื่องจักรระหว่าง 2 พื้นที่ รูปแบบการเคลื่อนย้ายเป็นแบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่ การใช้เครน และใช้เพลาลำเลียงสำหรับบริเวณที่ไม่สามารถติดตั้งเครนได้ โดยเวลาที่ในการเคลื่อนย้ายเครื่องจักรขนาด 10 ตันด้วยเพลาจะเฉลี่ยอยู่ที่ 19.64 นาที ผู้วิจัยพิจารณาแล้วพบว่าการใช้เพลาในการเคลื่อนย้ายเครื่องจักรนั้นมีความเสี่ยงต่อพนักงาน และใช้เวลาการเคลื่อนย้ายนาน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดระยะเวลาในกระบวนการขนย้ายเครื่องจักร โดยการออกแบบและจัดสร้างอุปกรณ์เคลื่อนย้ายเครื่องจักร แนวคิดหลัก คือ เป็นการขนย้ายด้วยโรลเลอร์ มีความสามารถรับน้ำหนักได้ปริมาณมาก ลดแรงเสียดทาน กระบวนการออกแบบเริ่มจากการพิจารณาหาแรงกระทำที่อุปกรณ์ขนย้ายแต่ละตัวจะได้รับ โดยคำนวนจากในกรณีที่ใช้ในการขนย้ายเครื่องจักรขนาด 20 ตัน ซึ่งเป็นน้ำหนักมากที่สุดที่บริษัทได้ทำการจัดส่ง ใช้เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำเกรด SS400 ทำโครงสร้างหลัก และเลือกใช้ล้อซุปเปอร์ลีนที่มีคุณสมบัติด้านความแข็งแรงในการรับแรงเสียดทานเป็นล้อ เมื่อนำอุปกรณ์ที่จัดสร้างไปใช้ในการขนย้ายเครื่องจักรขนาด 10 ตัน พบว่าระยะเวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 9.93 นาที สามารถลดระยะเวลาโดยเฉลี่ยลงจากเดิม 9.71 นาที คิดเป็น 49.44% และสามารถลดเวลาเฉลี่ยในการเคลื่อนย้ายเครื่องจักรชนิดต่าง ๆ อีก 4 ชนิด (น้ำหนักไม่เกิน 12 ตัน) อยู่ที่ 55.95% อุปกรณ์เคลื่อย้ายเครื่องจักรที่ได้ทำการออกแบบและจัดสร้างนี้มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ 17,000 บาท โดยคิดเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละวันที่ดำเนินการใช้อยู่ที่ 65.13 บาท/วัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

S.Takulsubtawee, Handling and Logistics Equipment Design, TPA Publishing, 2005 (in Thai)

Douglas C. Montgomery, Introduction to Statistical Quality Control, John Wiley & Son, 2004.

Joseph E. Shigley, Charles R. Mischke, Richard G. Budynas, Mechanical engineering design, Mc Graw Hill, 2003.

A.Wuttivaranon, S.Kongsuwan, and C.Leelasrisiri, “Development Guideline for Losses Reductionin Process Movement I Wish Jean Co., Ltd.”, NRRU Community Research Journal vol.11 no.1, pp.85-93 (January - April 2017) (in Thai).

M. Tunhaw , “Reseacrh and Development of Sugarcane Truck Loading Mechanics”, Research Report, Department of Agriculture, 2013 (in Thai).

Beer-Johnston-Eisenberg-Mazurek, Vector Mechanics for Engineers Statics 12Ed, McGraw-Hill Book. Singapore, 2019.

P.Pattising, AutoCAD 2019 for Engineer and Architecture Drawing, Provision, 2020.

William D. Callister, Jr., David G. Rethwisch, Materials science and engineering: an introduction 10th ed. Includes index.

P.Vengkaew and C.Laprunksee. Steel Quick Reference Se-ed Education. 2011 (in Thai).

Indyplastic, “Super Lean”, Available form: http://www.thaiplastic2012.com/index.php?mo=3&art=42166649, 2012.

John Wiley & Sone, Engineering Statistics. 111 River Street, Hoboken, 2012.