การติดตามและป้องกันความผิดปกติขณะมอเตอร์ทำงาน ด้วยแพลตฟอร์มของเน็ตพาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง โดยใช้คลาวด์เซิร์ฟเวอร์ของเน็ตพาย ในการป้องกันความเสียหายอันเนื่องมาจากการทำงานผิดปกติของมอเตอร์ไฟฟ้าเหนี่ยวนำชนิด3 เฟสจำนวน 7 ชนิด ได้แก่ แรงดันไฟฟ้าเกิน แรงดันไฟฟ้าต่ำ แรงดันไฟฟ้าไม่สมดุล เฟสหาย ภาระเกิน อุณหภูมิขดลวดเกิน ความสั่นสะเทือนเกิน โดยใช้เซนเซอร์วัดค่าแรงดันไฟฟ้าเฟสจำนวน 3 ชุด วัดค่ากระแสไฟฟ้าสายจำนวน 3 ชุด วัดค่าอุณหภูมิขดลวด 1 ชุด ความสั่นสะเทือนของมอเตอร์ 1 ชุด ส่วนตัวประมวลผลใช้โหนด เอ็มซียู ESP8266 ต่อร่วมกับไอซีเบอร์ MCP3008 ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณอนาลอกจากเซนเซอร์ทั้ง 8 ช่องสัญญาณเป็นดิจิตอลขนาด10 บิท ส่วนภาคการป้องกันใช้แมกเนติกเป็นตัวตัด/ต่อวงจรกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ชนิด3 เฟส ขนาด 1 กำลังม้า, 380V ต่อแบบ Y ขั้นตอนการทดสอบใช้มอเตอร์ที่ทดสอบต่อคัปปลิ้งกับชุดทอร์คมิเตอร์ ยี่ห้อ Terco MV1025 จากนั้นทดสอบสภาวะการทำงานแบบปกติและแบบผิดปกติทั้ง 7 ชนิด นอกจากการทดสอบแบบการป้องกันการผิดปกติแล้ว ยังได้มีการทดสอบการติดตามการทำงานโดยใช้ฟิดของแพลทฟอร์มเน็ตพาย ผลการทดสอบการป้องกันการทำงานแบบผิดปกติ เครื่องป้องกันที่พัฒนาดังกล่าวนี้สามารถทำงานได้สมบูรณ์ทุกๆ เงื่อนไข ส่วนประโยชน์ที่ได้นั้นสามารถป้องกันความเสียหายของมอเตอร์ขณะทำงาน สามารถวางแผนการซ่อมบำรุงสายการผลิต ซึ่งหมายถึงการรักษาเสถียรภาพการผลิตให้มีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
Article Details
References
Electric Power Systems and Equipment Voltage Ratings (60 Hertz), ANSI C84.1-1995
A. von Jouanne, B. Banerjee, “Assessment of Voltage Unbalance,” IEEE Transaction on Power Delivery, vol.16, no.4, pp.782-790, Oct. 2001.
P. Pillay, M. Manyage, “Loss of Life in Induction Machines Operating with Unbalanced Supplies,” IEEE Transaction on Energy Conversion, vol.21, no.4, pp.813-822, Dec. 2006.
A. Boglietti, R. Bojoi, S.Rubino, M. Cossale, “Load Capability of Multiphase Machines Under Normal and Open-Phase Fault Conditions,” IEEE Energy Conversion Congress and Exposition (ECCE), USA, 23-27Sept. 2018, pp. 242-247.
Bon-Gwan Gu, “Study of IPMSM Interturn Faults Part II: Online Fault Parameter Estimation,” IEEE Transactions on Power Electronics, vol. 31, no.10, pp.7214-7223, Oct. 2016.
E.L. Brancato “Estimation of Lifetime Expectancies of motor,” IEEE Electrical Insulation Magazine, vol. 8, no.3 pp.5-13, May-Jun. 1992.
l. Y. Onel, M. E. H. Benbouzid, “Induction Motor Bearing Failure Detection and Diagnosis: Park and Concordia Transform Approaches Comparative Study,” IEEE International Electric Machines & Drivers Conference, vol. 13, no. 2, pp.257-262, Apr. 2008.
C. Verucchi, G. Bossio, J. Bossio, G. Acosta “Fault Detection in Gear Box with Induction Motors: an Experimental Study,” IEEE Latin America Transactions, vol. 14, no. 6, pp.2726-2731, Jun. 2016.
R. Bayindir, I. Colak, I. Sefa, A. Bektas, “Fault Detection and Protection of Induction Motors Using Sensors,” IEEE Transaction on Energy Conversion, vol. 23, no.3, pp.734-741, Oct. 2008.
I. Colak, H. Celik, I. Sefa, S. Demirbas, “On Line Protection Systems for Induction Motors” Energy Conversion and Management, vol. 46, Issue 17, pp.2773-2786, Oct. 2005.
สิริวิช ทัดสวน ประสิทธิ์ สุขเสริม, “การพัฒนาการป้องกันฟอลต์และเฝ้าติดตามมอเตอร์ไฟฟ้าเหนี่ยวนำชนิด 3 เฟส ด้วยอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง”, วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 9 ฉบับที่ 2, พฤษภาคม-สิงหาคม. 2562. 105.(in Thai).
Wikipedia “มาตรฐานการวัดค่าความสั่นสะเทือน” Available: savemotor.com/ article-th-87266-มาตรฐานการวัดค่าความสั่นสะเทือน+ISO+2372.html.