การศึกษาประสิทธิภาพของไฮโดรไซโคลนสำหรับชุดบำบัดน้ำเสียแบบอิเล็กโตรโคแอคกูเลชั่น

Main Article Content

ณัฐ จันท์ครบ
พรนิภา บริบูรณ์สุขศรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของไฮโดรไซโคลน สำหรับชุดบำบัดน้ำเสียแบบอิเล็กโตรโคแอคกูเลชั่น ซึ่งพัฒนาตัวไฮโดรไซโคลนโดยการเพิ่มขนาดเป็นเส้นผ่านศูนย์กลางเป็นขนาด 8 นิ้ว และช่องบังคับการหมุนเป็น 6 ช่อง ทดสอบความสามารถในการคัดแยกตะกอน ในฟังก์ชันของกระแสไฟฟ้า และฟังก์ชันของอัตราการไหล เพื่อหาจุดที่ให้ประสิทธิภาพดีที่สุด ผลการทดสอบประสิทธิภาพเมื่อการจ่ายกำลังไฟฟ้ากระแสตรงให้กับไฮโดรไซโคลนที่สร้างขึ้นทั้ง 3 ตัวแยกเป็น 3 กรณีคือ กรณีที่ 1 ใช้ไฮโดรไซโคลน 1 ตัว การคัดแยกตะกอนออกจากน้ำที่ดีที่สุดเกิดขึ้นที่อัตราการไหล 4.5 L/min สามารถคัดแยกตะกอนได้คงเหลือ 48.28 mg/L จาก 1,735 mg/L คิดเป็นประสิทธิภาพการคัดแยกตะกอนได้ร้อยละ 97.22 กรณีที่ 2 ใช้ไฮโดรไซโคลน 2 ตัว การคัดแยกตะกอนออกจากน้ำที่ดีที่สุดเกิดขึ้นที่อัตราการไหล 7.5 L/min สามารถคัดแยกตะกอนได้คงเหลือ 36.76 mg/L จาก 1,578 mg/L คิดเป็นประสิทธิภาพการคัดแยกตะกอนได้ร้อยละ 97.67 กรณีที่ 3 ใช้ไฮโดรไซโคลน 3 ตัว การคัดแยกตะกอนออกจากน้ำที่ดีที่สุดเกิดขึ้นที่อัตราการไหล 4.5 L/min สามารถคัดแยกตะกอนได้คงเหลือ 29.08 mg/L จาก 1,735 mg/L คิดเป็นประสิทธิภาพการคัดแยกตะกอนได้ร้อยละ 98.32 จากผลการศึกษาพบว่า การใช้งานไฮโดรไซโคลนที่สร้างขึ้นพร้อมกันทั้ง 3 ตัว สามารถรองรับการบำบัดน้ำเสียได้ในอัตรา 4.5 L/min และให้ประสิทธิภาพการคัดแยกตะกอนได้ถึงร้อยละ 98.32 และสามารถนำไฮโดรไซโคลนที่สร้างขึ้นนี้ร่วมกับการบำบัดน้ำเสียแบบอิเล็กโตรโคแอคกูเลชั่น ในโรงงานอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี

Article Details

How to Cite
จันท์ครบ ณ., & บริบูรณ์สุขศรี พ. (2018). การศึกษาประสิทธิภาพของไฮโดรไซโคลนสำหรับชุดบำบัดน้ำเสียแบบอิเล็กโตรโคแอคกูเลชั่น. วารสารสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 4(1), 35–42. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/saujournalst/article/view/171861
บท
บทความวิจัย

References

[1] Chu, L., Y., Yu, W.,Wang, G. J., Zhou, X. T., Chen, W. M. and Dai, G. Q., 2004, “Enhancement of Hydrocyclone Separation Performance by Eliminating The Air Core”, Chemical Engineering and Processing, Vol. 43, No. 12, pp. 1441-1448.

[2] Martinez, L. F., Lavin, A. G., Mahamud, M. M. and Bueno, J. L., 2008, WVortex Finder Optimum Length in Hydrocyclone Separation”, Chemical Engineering and Processing : Process Intensification, Vol. 47 No. 2, pp. 192-199.

[3] Bhaskar, K.U., Murthy, Y.R. and Raju, M.R., 2007, “CDF Simulation and Experimental Validation Studies on Hydrocyclone”, Minerals Engineering, Vol. 20 No. 1, pp. 60- 71.

[4] Wang, Z.B. Chu, L.T., Chen, W. M. and Wang, S. G., 2008, “Experimental Investigate of The Motion Trajectory of Solid Particles in Solid Particles The Hydrocyclone by A Lagrange Method”, Chemical Engineering Journal, Vol. 138 No. 1-3, pp. 1-9.

[5] C. Phalakornkule, S. Polgumhang, and W. Tongdaung. (2009). “Performance of an electrocoagulation process in treating direct dye: Batch and Continuous Upflow Processes”, International Journal of Chemical, Molecular, Nuclear, Materials and Metallurgical Engineering Vol:3, No:9, pp.494-499.

[6] B. Phonnipha and J. Natth. (2016) “A Prototype of Industrial Waste Water Treatment using Electrocoagulation”, 5th International Conference on Material Science and Engineering Technology (ICMSET 2016) October 29-31, 2016, Tokyo, Japan.

[7] Arnaud. “Method for Removing Dissolved from Wastewater by Electrocoagulation” United Stat Patent No. US6797179B2, Sep. 28 2004.

[8] B. Phonnipha. (2018). “A Design of Mobile Unit of Electrocoagulation Wastewater Treatment.” Research study report. Southeast Asia University.