การส่งบทความ
รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ
ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด- บทความนี้ต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หรือหากมี) กรุณาอธิบายชี้แจ้งเหตุผลในข้อความส่งถึงบรรณาธิการ และจะต้องเป็นบทความที่มีความน่าสนใจ และไม่ล้าสมัย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
- บทความวิจัยที่เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เพื่อนำไปใช้จบการศึกษา ต้องมีหนังสือรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษา และลงชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาด้วย โดยอัปโหลดพร้อมกับการส่งบทความ ประเภทไฟล์ "อื่น ๆ"
- กรอกแบบฟอร์มนำส่งบทความวิศวสารลาดกระบังให้ครบถ้วนตามที่กำหนด และแสกนไฟล์ฉบับจริงเท่านั้น โดยเรียงลำดับชื่อผู้เขียนบทความ ให้ตรงกับลำดับที่ปรากฏในบทความต้นฉบับ โดยอัปโหลดพร้อมกับการส่งบทความ ประเภทไฟล์ "อื่น ๆ"
- ส่งไฟล์ต้นฉบับบทความที่เป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic file) ในรูปแบบ word for windows ผ่านทางเว็บไซต์วิศวสารลาดกระบัง https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/lej/about/submissions พิมพ์ในขนาดกระดาษ A4 ความยาวทั้งหมดไม่เกิน 14 หน้า โดยปฏิบัติตามคำแนะนำการเขียนบทความของวารสารที่ระบุทางเว็บไซต์ของวารสาร
- หลังจากส่งบทความแล้ว กองบรรณาธิการจะส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความอย่างน้อย 3 ท่าน จากนั้นกองบรรณาธิการจะทำการติดต่อผู้เขียนบทความที่เป็นผู้ประสานงานการเผยแพร่ (corresponding author) เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิต่อไป
- กรุณาให้ชื่อและหมายเลขโทรศัพท์มือถือของท่านไว้ใน ข้อความถึงบรรณาธิการ (Comment for Editor) และกดบันทึก รวมถึงหากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ในช่องทางดังกล่าว
- การทำงานผ่านระบบวารสารออนไลน์ ทางวารสารฯ จะติดต่อและแจ้งข้อความต่างๆ ผ่านช่องทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล์ (e-mail) ของท่านที่ระบุไว้เป็นหลัก เพื่อให้เข้ามารับ-ส่ง ข้อมูลผ่านในระบบออนไลน์ของวารสารฯ (การตอบกลับไม่ใช้การ reply mail) ดังนั้นหลังจากส่งบทความแล้วขอให้ตรวจสอบกล่องจดหมายในอีเมล์ของท่าน หากไม่ได้จดหมายตอบรับบทความของวารสาร (บางครั้งอาจตกอยู่ใน spam/junk mail) กรุณาติดต่อที่ tci.thai@gmail.com
บทความวิจัย
บทความวิจัย (Research Article) หมายความว่า บทความที่มีลักษณะเป็นเอกสารที่มีรูปแบบของการวิจัยตามหลักวิชาการ เช่น มีการตั้งสมมติฐาน หรือมีการกำหนดปัญหาที่ชัดเจนสมเหตุผล โดยจะต้องระบุถึงวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแน่นอน มีการค้นคว้าอย่างมีระบบ มีการรวบรวมข้อมูลพิจารณาวิเคราะห์ ตีความ และสรุปผลการวิจัยที่สามารถให้คำตอบบรรลุวัตถุประสงค์ หรือหลักการบางอย่างที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือการนำวิชาการนั้นมาประยุกต์ใช้
บทความทางวิชาการ
บทความทางวิชาการ (Academic Article) หมายความว่า บทความที่เขียนขึ้นในลักษณะวิเคราะห์ วิจารณ์ หรือเสนอแนวความคิดใหม่ ๆ จากพื้นฐานทางวิชาการที่ได้เรียบเรียงจากผลงานทางวิชาการของตนเอง หรือของผู้อื่น หรือเป็นบทความทางวิชาการที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นความรู้ทั่วไปสำหรับประชาชน
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
นโยบายส่วนบุคคล
ชื่อและที่อยู่อีเมลที่ป้อนในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในวารสารนี้เท่านั้นและจะไม่เผยแพร่เพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่นๆ