การวิเคราะห์ความเสียหายของวัสดุล้อรถไฟฟ้าความเร็วสูง ที่โครงสร้างทางจุลภาคเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากกระบวนการทางความร้อน

ผู้แต่ง

  • ชัยชโย ซื่อตรง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

เหล็กล้อรถไฟฟ้า, การขยายตัวของรอยร้าวล้า, เฟสเฟอร์ไลต์

บทคัดย่อ

ในการศึกษานี้ได้พิจารณาการขยายตัวของรอยร้าวจากการล้าของวัสดุล้อรถไฟฟ้าความเร็วสูง เกรด ER8 ซึ่งเป็นเกรดที่ใช้งานอยู่ในรถไฟฟ้า Airport rail link ในประเทศไทย โดยทำการพิจารณาและ ทดสอบโครงสร้างของเหล็กล้อรถไฟ 2 กรณีศึกษา ได้แก่ โครงสร้างเหล็กกล้าที่ได้มาตรฐานหรือ โครงสร้างดั้งเดิมของล้อรถไฟฟ้าความเร็วสูง ซึ่งมีโครงสร้างทางจุลภาคประกอบด้วยเฟสเฟอร์ไรต์และ เฟสเพิร์ลไลต์ และในกรณีที่ 2 นั้น จะเป็นโครงสร้างของวัสดุล้อรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่ผ่านกระบวนการทางความร้อน เพื่อจำลองล้อรถไฟฟ้าที่ถูกใช้งานจริงและเกิดความร้อนขึ้นขณะใช้งานโครงสร้างทางจุลภาคของล้อรถไฟฟ้าความเร็วสูงจะเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยมีปริมาณของเฟสเฟอร์ไรต์เพิ่มมากขึ้น และเฟสเพิร์ลไลต์ลดน้อยลง การทดสอบสมบัติทางกลนั้นกระทำโดยวิธีการทดสอบแรงดึงตามมาตรฐาน ASTM E8 และการทดสอบความสามารถในการต้านทานความเสียหายที่เกิดจากการล้า (fatigue) ทดสอบโดยใช้เครื่อง Universal testing ที่ภาระขนาด 5 กิโลนิวตัน ที่ความถี่ 10 เฮิร์ต ตามมาตรฐาน ASTM E647 ผลที่ได้จากการทดสอบขยายตัวของรอยร้าวล้าด้วยภาระแบบวงรอบ (cyclic load) สามารถนำไปวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างกลไกความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างทางจุลภาค ของเหล็กล้อรถไฟที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งผลที่ได้พบว่าการเพิ่มขึ้นของเฟสเฟอร์ไรต์ส่งผลให้วัสดุล้อ รถไฟฟ้ามีความยืดหยุ่นที่สูงขึ้น แต่กลับมีค่าแรงดึงสูงสุดต่ำลง รวมไปถึงความสามารถในการต้านทางการขยายตัวของรอยร้าวล้าในวัสดุที่ต่ำลงไปด้วย

References

V. Esslinger, R. Kieselbach, R. Koller and B. Weisse, “The railway accident of Eschede – Technical background,” Eng. Fail. Anal, vol. 11, Aug 2004, pp. 515-535.

X. Y. Fang, W. Huang, X. F. Yang and J. G. Wang, “Effects of temperature on fatigue cracks initiation and propagation T for a high-speed railway wheel rim steel,” Eng. Fail. Anal, vol. 109, Jan. 2020, p. 104376.

Y. Hu, L. Zhou, H. H. Ding, R. Lewis, Q. Y. Liu, J. Guo and W. J. Wang, “Microstructure evolution of railway pearlitic wheel steels under rollingsliding contact loading,” Tribology International., vol. 154, Sep. 2021, p. 106685.

R. M. Nejad and F. Berto, “Fatigue fracture and fatigue life assessment of railway wheel using non-linear model for fatigue crack growth,” Int. J. Fatigue, vol. 153, Aug. 2021, p. 106516.

D. F. C. Peixoto and P. M. S. T. De Castro, “Fatigue crack growth of a railway wheel,” Eng. Fail. Anal. vol. 82, Aug. 2017, pp. 420–434.

X. Ren, F. Wu, F. Xiao and B. Jiang, “Corrosion induced fatigue failure of railway wheels,” Eng. Fail. Anal., vol. 55, June. 2015, pp. 300–316.

Q. Zhang, I. Toda-Caraballo, Q. Lic, J. Han, J. Han, J. Zhao and G. Dai, “Tension-shear multiaxial fatigue damage behavior of high-speed railway wheel rim steel,” Int. J. Fatigue, vol. 133, Dec. 2020, pp. 105416.

X. Y. Fang, Y. X. Zhao and H. W. Liu, “Study on fatigue failure mechanism at various temperatures of a high-speed railway wheel steel,” Mater. Sci. Eng. A, vol. 696, Apr. 2017, pp. 299–314.

S. M. Johnson, A. J. Ramirez and A. Toro, “Fatigue crack growth rate of two pearlitic rail steels,” Eng. Fract. Mech., vol. 138, Mar. 2015, pp. 63–72.

D. Zeng, J. Wang, L. Lu, C. Shen, J. Guo, T. Xu and Z. Wanga, “Fatigue crack growth behavior of railway wheel steel modified by sulfides enveloping oxides inclusions,” Int. J. Fatigue, vol. 175, Jul. 2023, p. 107811.

J. Z. Chen, B. Zhang, L. R. Zeng, Z. M. Song, Y. Y. She and G. P. Zhang, “ Optimal bainite contents for maximizing fatigue cracking resistance of bainite/ martensite dual- phase 25CrMo4 steels,” Steel Res. Int, vol. 89, May. 2018, p. 1700562.

M. F. Borges, F. V. Antunes, P. Prates, R. Branco, J. M. VascoOlmo and F. A. Díaz, “Model for fatigue crack growth analysis,” Proc. Struct. Integrity, vol. 25, Jan. 2020, pp. 254–261.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25