การประเมินคุณภาพแสงสว่างและวิเคราะห์ค่าปริมาณความส่องสว่างโดยใช้ โปรแกรม DIALUX กรณีศึกษา : สิมญวนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • ศุภโชค สนธิไชย สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ธาริณี รามสูต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ประเมินคุณภาพแสงสว่าง, ปริมาณความส่องสว่าง, สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น, สิมญวน

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาประเมินคุณภาพแสงสว่างและวิเคราะห์ค่าปริมาณความส่องสว่าง โดยใช้โปรแกรม DIALUX ทดสอบผ่านแบบจําลองสภาพแสงของสิมญวนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการวิจัยค้นพบว่า ค่าปริมาณความส่องสว่างจะปรากฏผลในระดับที่มากน้อยต่างกัน จะเปลี่ยนแปลงค่าปริมาณความส่องสว่างตามตัวแปรองค์ประกอบโครงสร้างอาคารในส่วนของรูปแบบหลังคาและพื้นที่โถงระเบียงหน้าประตูทางเข้าเป็นหลัก รวมถึงจำนวนและการกำหนดตำแหน่งของช่องแสงตามความต้องการแสงให้สอดคล้องบริเวณพื้นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา (สังฆกรรม) หน้าพระประธาน สามารถสังเกตได้จาก ผลการทดสอบค่าปริมาณความส่องสว่างภายในพื้นที่อาคารบริเวณโถงระเบียงส่วนหน้าที่ปรากฏผลค่าปริมาณความส่องสว่างที่มากว่า 1,000 lux ต่อเนื่องมาสู่บริเวณประตูทางเข้าที่ปรากฏผลค่าปริมาณความส่องสว่างอยู่ที่ระหว่าง 100 lux ถึง 500 lux ขึ้นไป ซึ่งค่าปริมาณความส่องสว่างที่ได้นั้น มาจากการสร้างแบบจำลองกรณีศึกษาและทดสอบผ่านโปรแกรม DIALUX เพื่อแสดงผลในรูปแบบรูปที่ปรากฏสภาพแสงบริเวณผังพื้นที่ตรวจวัด

ดังนั้นแสงสว่างในสิมญวนที่ปรากฏจากผลทดสอบด้วยโปรแกรม DIALUX สามารถบ่งชี้ให้ทราบถึงคุณลักษณะของแสงในระดับแสงสลัวหรือจะมืดสนิทในบางพื้นที่ ทั้งนี้สภาพแสงที่ปรากฎยังสื่อถึงวิถีพฤติกรรมการใช้แสงเชิงพื้นที่จากบริบททางวัฒนธรรมจารีตปฏิบัติของผู้ใช้พื้นที่คือ พระภิกษุสงฆ์ ที่เน้นการใช้สอยพื้นที่ตามความต้องการสำหรับการใช้แสงสว่างเฉพาะตำแหน่งพื้นที่เพื่อให้เพียงพอต่อการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเพียงเท่านั้น

References

CIBSE. (1994)Lighting for museums and art galleries. London: CIBSE. Patterns of Connection in

Architecture: The Paradox of Light and Shadow “Natural Light versus Artificial Light of Architecture” (Suman 2009: 26-27).

CIE. (2004). CIE. 129: 2004 Quality Standards of Lighting. Vienna Austria: CIE.

Harrold, R., Mennie, D., & Illuminating Engineering Society of North America. (2003). IESNA lighting ready reference: A compendium of materials from the IESNA lighting handbook, (9th ed) :lighting fundamentals. New York : Illuminating Engineering Society of North America.

Illuminating Engineering Society of North America. (2009). Lighting your way to better vision. New York, NY: Illuminating Engineering Society of North America.

Ministry of Tourism and Sports). National Tourism Development Plan, No. 3 (2023-2028). Bangkok. Fine Arts Department. (1993). Handbook : Curator's Practice National Museum, Fine Arts Department. Bangkok: Amarin Corporations Public Company Limited

SriSuthaphan, O. (2014). Artificial lighting in architecture, (1th ed.). Bangkok: Publisher Thammasat University.

The fine arts department. (2022). National historic site report. Fine Arts Office Department. Ubon Ratchathani

Suriyothin, P. (2021). Light-Science-Art: Lighting for Museums and Art Galleries, (1th.ed.). Bangkok: Publisher Chulalongkorn University

SriSuthaphan, O., & Thisawiphat, P. (2011). Daylighting Simulation in Architecture Design Using DIALUX, (1th ed.). Bangkok: Publisher Thammasat University.

Phra, W (2008). A study of the meaning of light in “SIM ISAN” (Northeastern Buddhist Temples). Bangkok. Silpakorn University.

Srisaowanun, A. (2004. Shadow architecture : a study of architectural spatiality in relation to shadow. Bangkok. Silpakorn University.

Srisuro, V. (1993). Sim Isaan. KhonKaen. Khon Kaen University.

Mahathakulrungsri, S., & Suriyothin, P. (2001).Enhancing Lighting Design Approaches for Patient Room According toInternational Recommendations: A Case Study of Medical School Hospital. KhonKaen. Khon Kaen University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27