การพัฒนาเครื่องย่อยขวดพลาสติกต้นทุนต่ำเพื่อเพิ่มปริมาณการขนส่ง ขยะพลาสติกสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย

ผู้แต่ง

  • วิทยา วงษ์กลาง สาขาวิชาวิศกรรมเครื่องกล คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • กรีฑา แก้วคงธรรม สาขาวิชาวิศกรรมเครื่องกล คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • อนุรักษ์ ตรีเพ็ชร สาขาวิชาวิศกรรมเครื่องกล คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • สมมาตร ทองคำ สาขาวิชาวิศกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ณัฐพงษ์ สุขสบาย สาขาวิชาวิศกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สิงหา มโนเครือ สาขาวิชาวิศกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • พรหมพักตร์ บุญรักษา คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

เครื่องย่อย, สมรรถนะ, พลาสติก, ค่าความพึงพอใจของผู้ใช้งาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ผู้วิจัยมีแนวคิดที่จะลดขนาดของขยะขวดพลาสติกเพื่อให้สามารถเพิ่มจำนวนในการขนส่งและง่ายต่อการนำไปบดเพื่อทำเม็ดพลาสติกของผู้ประกอบการรายย่อย โดยทำการออกแบบและพัฒนาเครื่องย่อยขวดพลาสติกให้มีต้นทุนต่ำและสามารถย่อยพลาสติกได้หลายประเภท โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานคือ ทำการออกแบบโครงสร้างของเครื่องย่อยขวดพลาสติกที่มีขนาดความสูง 90 เซนติเมตร กว้าง 43 เซนติเมตร ยาว 54 เซนติเมตร วิธีการทดสอบสมรรถนะของเครื่องย่อยขวดพลาสติกมีวิธีการดังนี้คือ นำขวดที่ผลิตจากพลาสติก 6 ประเภท ได้แก่ Polypropylene: PP, Polyvinylchloride: PVC, High-Density Polyethylene: HDPE, Polyethylene terephthalate: PET, Low-Density Polyethylene: LDPE, Polystyrene: PS และนำใส่ในเครื่องย่อยโดยทำการทดสอบทั้งหมด 3 รอบ พบว่าเครื่องย่อยสามารถย่อยพลาสติกได้ทั้ง 6 ชนิด ขนาดวัสดุย่อยมีขนาดลดลงตามลำดับ ทำการเปรียบเทียบราคาต้นทุนการผลิตกับเครื่องที่มีขายตามท้องตลาดพบว่าราต้นทุนของเครื่องเครื่องย่อยขวดพลาสติกที่สร้างขึ้นมีราคาต่ำกว่าราคาเครื่องที่ขายตามท้องตลาด และทำการเก็บผลการศึกษาความพึงพอใจ จากกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการขายขวดพลาสติกรายย่อยในจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ศึกษาคือ แบบสอบถาม สรุปค่าความพึงพอใจในการใช้เครื่องย่อยขวดพลาสติกต้นแบบคือ มีความพึงพอใจเฉลี่ยรวม คือ มากที่สุด (  = 4.75)

References

Plastics in Daily Life, Saranukromthai, July 15, 2023. [Online]. Available: https://saranukromthai.or.th/Ebook/BOOK28/pdf/book28_8.pdf

S.Chanprathum, “Guidelines for Plastic Waste Management in the New Normal Era to Lead to Sustainability Case Study: Environmental Personnel of Entrepreneurs in Map Ta Phut Industrial Estate, Map Ta Phut Sub-district, Mueang District, Rayong Province,” M.S. thesis, Dept. Environmental management. Sci., National Institute of Development Administration (NIDA)., Bangkok, Thailand, 2020.

S. Junklang, “Design Testing of Plastic Bottle Crusher to Improve Waste Management in the Community of Klung municipality, Chanthaburi,” M.S. thesis, Dept. Engineering Management. Eng.,: Rambhai Barni Rajabhat University. Chanthaburi, Thailand, 2013.

Plastic, MTEC, July 15, 2023. [Online]. Available:https://www.mtec.or.th/bioplastic/index.html.

Features of Plastic products, Guangleeplastic Co.,Ltd. July 26, 2023, [Online]. Available: http://www.guangleeplastic.com/Article/Detail/87584.

S. Kraisarin, “Plastic bottle digestion,”. [Online]. Retrieved July 25, 2023, from: http://www.sure.su.ac.th.

Pattanapong, N . (2011). Efficiency Determination of Plastic Shredder. [Online]. Retrieved July 20, 2023, from: http://www.itech.lpru.ac.th.

N. Phatthanapong, “The Creation of the Plastic Bottom Chipper Machine,” Research report supported by Lampang Rajabhat University. Lampang, Thailand, Accessed: April 25, 2023. [Online]. Available: http://www.itech.lpru.ac.th/techno/research/51051.pdf

P. Sukbanthoeng, D. Chutrakul, K. Nanan, and R. Kanana, “The Most Effective Speed of Low-Speed Plastic Waste Shredder Machine,” The Sci J of Phetchaburi Rajabhat University.Vol 17 (1) .2020.pp 71-85.

W. Boonchuaytan, “Development and improvement of plastic digestion process from household waste. To increase the efficiency of waste management within the community of Khao Rup Chang Municipality. Songkhla Province,”Songkhla, Thailand, Accessed: April 25, 2023. [Online]. Available: https://riss.rmutsv.ac.th/project/?id=3727.

P. Intamas, W. Pansrinaun, K. Sakulpaisan, K. Sukthang, S.Chattunyakit, P.Boonraksa. “Designing and Building a Coffee bean Polishing machine using a Smartphone controller,” Sripatum Review of Science and Technology,Vol.14 January – December 2022.pp 169-183.

Oliver, C. Sustained Competitive Advantage: Combining Institutional and Resource-Based Views. Strategic Management Journal, 18 (9),(1997). pp. 697 - 713.

A. Kwanpan. “The study of the effectiveness of the nectar program that affecting the patienceof laborer,” The Journal of Industrial Technology : Suan Sunandha Rajabhat University, Volume 11, No. 1, January -June 2023.pp 44-53.

Wu, H., & Leung, S. O. (2017). Can Likert scales be treated as interval scales? - A Simulation study. Journal of Social Service Research, 43(4), 527. 532.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27