การเฝ้าระวังปัจจัยด้านกายภาพ เคมี และจุลชีววิทยาของน้ำฝน และพฤติกรรมเก็บน้ำฝนเพื่อการบริโภค กรณีศึกษา หมู่ที่ 1 ตำบลแพรกหนามแดง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • สุภัสสร ฉิมเฉิด คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • รุจิพรรณ แฝงจันดา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • อรัญ ขวัญปาน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ธรรมรักษ์ ศรีมารุต คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

น้ำฝน, คุณภาพด้านกายภาพ, คุณภาพด้านเคมี, คุณภาพด้านจุลชีววิทยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำฝน ด้านกายภาพ เคมี และจุลชีววิทยา ในภาชนะเก็บน้ำฝน 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเก็บน้ำฝนสำหรับบริโภคของประชาชน และ 3) เพื่อเป็นข้อมูลพื้นในด้านคุณภาพน้ำฝนเพื่อการบริโภคให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางในการประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำฝน ตัวอย่างในการวิจัยคือ ตัวอย่างน้ำฝนจากภาชนะเก็บน้ำฝนจำนวน 20 ตัวอย่าง และกลุ่มตัวแทนครัวเรือนแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ เครื่องมือ อุปกรณ์ในการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำฝนในภาชนะเก็บน้ำฝนและแบบสอบถามพฤติกรรมการเก็บน้ำฝน การวิเคราะห์คุณภาพน้ำฝนโดยวิธีตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการและวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำฝนในภาชนะรองรับ พบว่า คุณภาพด้านกายภาพและด้านเคมีผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ขณะที่ด้านจุลชีววิทยา พบการปนเปื้อนปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรียและปริมาณฟีคอลโคลิฟอร์มแบคทีเรียที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 15 ตัวอย่าง ค่าที่ตรวจพบอยู่ในช่วง <2 – 9 MPN/100ml ส่วนพฤติกรรมการเก็บน้ำฝนด้านปรับปรุงคุณภาพน้ำฝนมีระดับพฤติกรรมที่น้อยที่สุดอยู่ในระดับปานกลาง ข้อเสนอจากการวิจัยในครั้งนี้ พบว่า คุณภาพน้ำฝนในภาชนะเก็บน้ำฝน มีปัญหาในด้านการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียและฟีคัลโคลิฟอร์มที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของคุณภาพน้ำประปาดื่มได้ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรมีการประชาสัมพันธ์แนวทางการดูแลบำรุงรักษาการกักเก็บน้ำฝนในภาชนะรองรับ และการปฏิบัติด้านการใช้น้ำฝนเพื่อบริโภคให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง

References

Department of Health. (2022, Nov. 25). Networks [Online]. Available: http://rldc. anamai.moph.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=29&Itemid=512

M. Pongpai, N. Thiammang, and O. Cherdmongkol, "Quality Study of Coliform Bacteria in Rain Water Containers: A Case Study Amphur Kosumpisai, Maha Sarakham," B.Sc. (Environmental Science). Rajabhat Mahasarakham University, 2010.

P. Phiboon, S. Jawjit, W. Soradet, and U. Muhammad, "Water quality of roof rainwater harvesting system in Thamyai, Thung Song district, Nakhon Si Thammarat," Srinakharinwirot University Journal of Science and Technology, vol. 10, no. 20, pp. 34-45, Jul. - Dec. 2018.

P. Mulpruek, "Environmental health," 3rd ed. Bangkok: Sigma Graphic Design Co., Ltd, 2003.

P. Suchamnong, "Environmental health," Chiang Mai: Academic Journal Unit, Faculty of Medicine Chiang Mai University, 1996.

P. Simawattana, "A study of the properties of rainwater supported by roofs made of various materials of houses in Muang District Ubon Ratchathani Province," B.Sc. (Chemical). Ubon Ratchathani Rajabhat University, 2010.

P. Nuengmatcha, S. Wongthong, P. Panthong, and N. Jongsawatwattana, "The Study of Drinking Water Quality from Drinking Water Service Points in Nakhon Si Thammarat Rajabhat University," Wichcha Journal, vol. 37, no. 1, pp. 25-37, Jan. - Jun. 2018.

S. Pakdee, A. Yolao, and K. Taearak, "Rainwater Qualities and Rainwater Consumption Behaviors in Bannong-Ngom, Huachang Sub-District, Suwannaphum District, Roi Et Province," Journal of Health Science and Community Public Health, vol. 4, no. 2, pp. 57-69, Jul. - Dec. 2021.

S. Sukhavat, "Study and Analysis of Microbial Quality of Drinking Water in Uttaradit Rajabhat Institute. science and technology center," Uttaradit Rajabhat Institute, 2010.

T. Boonmart, "A study of the quality of drinking water - consumption within Nakhon Pathom Rajabhat Institute," B.Sc. (Biology), Nakhon Pathom Rajabhat University, Nakhon Pathom, 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27