การลดของเสียในกระบวนการปั๊มชิ้นส่วนชุดหน้าคลัทช์ โรงงานกรณีศึกษา : โรงงานผลิตคอมเพรสเซอร์แอร์รถยนต์

ผู้แต่ง

  • ยศวัจน์ ชีววรนนท์ตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ปิยะ รนต์ละออง สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • กฤดิธฤต ทองสิน สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
  • สมบัติ ทีฆทรัพย์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

คำสำคัญ:

การลดของเสีย, รอยขีดข่วน, กระบวนการปั๊ม, ชุดหน้าคลัทช์คอมเพรสเซอร์แอร์รถยนต์, ความสามารถกระบวนการ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์และลดของเสียในกระบวนการปั๊มชิ้นส่วนชุดหน้าคลัทช์คอมเพรสเซอร์แอร์รถยนต์ โรงงานกรณีศึกษา จากการศึกษาข้อมูล พบว่า ชิ้นส่วนชุดหน้าคลัทช์คอมเพรสเซอร์แอร์รถยนต์ที่เกิดจากกระบวนการปั๊มที่ไม่ได้มาตรฐานทำให้เกิดของเสียเป็นจำนวนมาก ดังนั้นผู้วิจัยจึงหาแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยประยุกต์ใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมอุตสาหการ โดยในการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาใช้แผนภูมิพาเรโต วิเคราะห์หาสาเหตุโดยใช้หลักการ 4M คือ คน เครื่องจักร วัตถุดิบ และวิธีการ แผนภูมิก้างปลาผังเหตุและผล (Cause and Effect Diagram) โดยการระดมสมองวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นและทำการเปรียบเทียบข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า สาเหตุหลักของปัญหามาจากรอยขีดข่วน ที่มาจากการมีผงเหล็กหรือสิ่งสกปรกมาเกาะตามบริเวณหน้าสัมผัสแม่พิมพ์ของเครื่องปั๊มโลหะขึ้นรูป ทำให้เวลาปั๊มชิ้นส่วนชุดหน้าคลัทช์เกิดการเป็นรอยขีดข่วน วิธีการปรับปรุงโดยให้พนักงานทำความสะอาดผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นก่อนทำการปั๊ม และทุก ๆ 1 ชั่วโมง ควรมีการทำความสะอาดที่บริเวณหน้าสัมผัสแม่พิมพ์ของเครื่องปั๊มโลหะขึ้นรูป โดยการใช้ลมเป่าและใช้ผ้าสะอาดเช็ด สรุปได้ว่าจำนวนของเสียก่อนการปรับปรุง เท่ากับ 3,844 ชิ้น ค่า Ppk เท่ากับ 0.5754 และจำนวนของเสียหลังการปรับปรุง เท่ากับ 23 ชิ้น ค่า Ppk เท่ากับ 1.1508 ซึ่งสามารถลดจำนวนของเสียได้ถึง ร้อยละ 99.40

References

S. Nathaphan, Quality Control. Bangkok: Ceducion Company Limited (Public Company), 2008.

T. Sunarak, "Defect Reduction in the Welding Process of Motorcycle STAY R-L Parts," The Journal of Industrial Technology: Suan Sunandha Rajabhat University, vol. 6, no. 1, pp. 6-15, Jan. - Jun., 2018.

U. Inklay, "Process Improvement to Reduce Waste in the Forming Punching," Engineering Transactions, vol. 24, no. 1, pp. 19-27, 2021.

T. Mayureesawan, Industrial Quality Control. Bangkok: Textbook Publishing and Digital Publication Center KMUTNB, 2544.

S. Mekboon and J. Plongmai, "Defects Reduction in Metal Parts Production Process," Kasem Bundit Engineering Journal, vol. 6, no. 1, pp. 91-106, Jan. - Jun., 2016.

N. Maneechot and P. Pijitbanjong, "Defect Reduction in Standard Thai Rubber Production Process," Thai Industrial Engineering Network Journal, vol. 5, no. 1, pp. 66-74, Jan. - Jun., 2019.

V. Pongpornsap, Statistics for Factory Engineers (Practical Sector). Bangkok: JST-Japan Science and Technology Agency (Thailand-Japan) Association, 2015.

K. AthiKulrat and K. Dolpanya, "Defective Reduction in the Production Process of Plastic Films," Science and Technology Nakhon Sawan Rajabhat University Journal, vol. 11, no. 13, pp. 41-50, Jan. - Jun., 2019.

S. Mekboon and J. Plongmal, "Defects Reduction in Metal Parts Production Process," Kasem Bundit Engineering Journal, vol. 6, no. 1, pp. 91-106, Jan. - Jun., 2016.

S. Choobthaisong and R. Kanchana, "Reducing Defectives in Plastic Injection Process of Telephone Part By Design of Experiment," SWU Engineering Journal, vol. 15, no. 3, pp. 17-31, Sep. - Dec., 2020.

S. Mekboon and J. Plongmai, "Defects Reduction in Polymer Solid Capacitor Production Process," Kasem Bundit Engineering Journal, vol. 7, no. 1, pp. 105-123, Jan. - Jun., 2017.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27