การปรับปรุงสถานีงานที่ส่งผลต่อการได้ยินของกลุ่มแรงงานนอกระบบ กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนการผลิตมะพร้าวขาว จ.สมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
การปรับปรุงสถานีงาน, กลุ่มแรงงานนอกระบบ, สภาพแวดล้อมในการทำงาน, อาชีวอนามัยในการทำงานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและปรับปรุงสถานีงานที่ส่งผลต่อการได้ยินในการทำงานของแรงงานกลุ่มวิสาหกิจผลิตมะพร้าวขาว เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มโดยไม่คำนึงถึงความน่าจะเป็น ใช้การคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยเครื่องมือวัดด้านสุขศาสตร์ ได้แก่ เครื่องวัดเสียง เครื่องวัดสมรรถภาพการได้ยิน และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ผลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ และสถิติเชิงอนุมาน คือ Pearson Correlation และ Chi-square
ผลการวิจัยอาการบาดเจ็บ พบว่า คนงานมีสมรรถภาพการได้ยินที่ระดับอาการหูตึงเล็กน้อย ส่วนใหญ่เกิดที่ความถี่ 500, 1,000 และ 2,000 เฮิรตซ์ จำนวน 18 คน ส่วนอาการหูตึงปานกลางส่วนใหญ่เกิดที่ความถี่ 3,000, 4,000 และ 6,000 เฮิรตซ์ จำนวน 10 คน การตรวจประเมินค่าเสียงพบว่า งานปอกเปลือกมะพร้าวชั้นนอก งานกะเทาะเปลือกมะพร้าว และงานปลอกผิวมะพร้าวขาว เกินค่ามาตรฐาน ส่วนงานเจาะน้ำแยกเนื้อ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (TWA8=85 เดซิเบลเอ) เมื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมและ สถานีงาน พบว่า สามารถแก้ไขปัญหาเสียงเกินค่าได้มาตรฐานได้จำนวน 3 งาน คือ งานปอกเปลือกชั้นนอก งานปลอกผิวมะพร้าวขาว และงานเจาะน้ำแยกเนื้อ ระดับเสียง TWA8 =79.20เดซิเบลเอ, 75.66 เดซิเบลเอ, 73.58 เดซิเบลเอ ตามลำดับ ส่วนงานกะเทาะเปลือกมะพร้าว พบว่า ยังเกินค่ามาตรฐาน TWA8 =89.61เดซิเบลเอ ปัญหาอยู่ที่กระบวนการทำงานที่ไม่สามารถเปลี่ยนวิธีการทำงานได้ การแก้ไขปัญหาเสียงเกินเกณฑ์มาตรฐาน ในขั้นตอนการกะเทาะกะลามะพร้าว เสียง 89.61 เดซิเบลเอ ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ลดเสียงชนิดปลั๊กอุดหู Ear plug วัสดุโฟม ค่า NRR=33 ลดเสียงได้ = 9.5 เดซิเบลเอ เสียงที่ได้รับขณะใส่ที่อุดหู = 80.11 เดซิเบลเอเป็นระดับที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามกฎหมายกำหนด
References
National Statistical Office. “Summary of important results of the survey of informal workers 2020,” Ministry of Digital for the economy and Society, 2020.
K. Suwan, C. Thongsri, “Risk assessment and analyze the work for the safety of the work Informal workers in the white coconut industry Samut Songkhram Province,” Suan Sunandha RajaBhat University. 2019.
P. Boonprom, “The Measurementof Sound Levels in the Washing Department at Jean Dyeing Factory in Samut Sahkon Province,” Journal of Kanchanaburi Rajabhat University, Vol. 9 No.2, July-December, pp.316-327, 2020.
K. Mahawan, W. Chanthorn, P. Srivieng, “Evaluation of Noise Levels and Noise-induced Hearing Loss among Lumber Mill Workers: A Case Study at Nakrua Sub-district, Maetha distict, Lampang province,” Thammasat Medical Journal: Vol.19 Supplement August 20, pp.64-76,2019.
A. Kwanpan, “Sampling and Analysis of Occupation Health,” in sound, Bangkok, 2017, pp.135-138
J. LaDou , R. Harrison, “Current Occupational & Environmental Medicine,” fifth edition. McGraw-Hill Medical, New York, NY, United States, 2014.
[7] S. Kruengkham, “Management to prevent accidents from operating in garment factories : a case study of Thai Product International Co., Ltd,” Chiang Mai University, 2003.
S. Tiamkao. (January, 2, 2022).“Repetitive strain injury,” [Online]. Available: https://haamor.com/.
M. Guerra, P. Lourenço, M. Bustamante-Teixeira and M. Alves “Prevalence of noiseinduced hearing loss in metallurgical company,” Rev Saude Publica, 39(2), pp.238-244, 2005.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว