การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันแบบคำร้องสำหรับนักศึกษา

ผู้แต่ง

  • เฉียบวุฒิ รัตนวิไลสกุล ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ธีระยุทธ์ เติมแต้ม สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ตะวัน เข็มทอง สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ศุภกิจ กิจนบำรุงศักดิ์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • อภิสิทธิ์ รัตนาตรานุรักษ์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

เว็บแอปพลิเคชันแบบคำร้อง, ระบบเอกสาร, เอ็มวีซี, ลาราเวล เฟรมเวิร์ค

บทคัดย่อ

เว็บแอปพลิเคชันแบบคำร้องสำหรับนักศึกษา มีวัตถุประสงค์คือการที่คณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นถึงปัญหาความยุ่งยากทางด้านการการทำธุรกรรมทางด้านเอกสารต่าง ๆ ในปัจจุบัน เช่น ความล่าช้าของระบบ การตรวจสอบของเอกสาร หรือปัญหาที่เกิดจากผู้ใช้งานเอง เช่น ความผิดพลาดทางด้านการให้ข้อมูลของผู้ใช้ ให้ข้อมูลไม่ครบ หรือเมื่อส่งข้อมูลไปแล้วอ่านไม่เข้าใจ และทำให้ความหมาย ของข้อมูลผิดเพี้ยนไป จึงทำให้เมื่อเกิดข้อผิดพลาดแล้วต้องมาแก้ไขด้วยการส่งเอกสารใหม่ ซึ่งอาจจะทำให้เสียเวลา และค่าใช้จ่ายอีกด้วย คณะผู้จัดทำจึงจะนำปัญหานั้นมาแก้โดยจะทำ ให้อยู่ในรูปแบบของเว็บ แอปพลิเคชันขึ้นมาเพื่อนำมาเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเอกสาร และนำมาแก้ไขปัญหา ความซ้ำซ้อนด้วย ซึ่งในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันนั้น จะพัฒนาด้วย ลาราเวล เฟรมเวิร์ค ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสมัยใหม่ที่ใช้แนวคิดการออกแบบข้อมูลแบบ เอ็มวีซี หรือ โมเดล วิว คอนโทรลเลอร์ ซึ่งทำให้การพัฒนาตัวระบบนั้นทำได้สะดวกมากยิ่งขึ้น แบบสำรวจความพึงพอใจในการใช้งานของผู้ทดลองใช้งานจำนวน 34 คน ได้ผลสรุปแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ด้านความสวยงามและความเหมาะสมของระบบ มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดีถึงดีมาก 85.29% ระดับ ปานกลาง 17.65% ส่วนที่ 2 ด้านการใช้งาน มีความพึงใจโดยรวมอยู่ในระดับดีถึงดีมาก 80.15% ระดับปานกลาง 19.86% ส่วนที่ 3 ด้านความสามารถของระบบ มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดีถึงดีมาก 83.33% ระดับ ปานกลาง 14.71% และระดับพอใช้ 2.94%

References

Akinnubi, T. I., Etus, C., & Udunwa, I. (2014). Design and Implementation of an E-Office System. West African Journal of Industrial and Academic Research, 12(1), 53-81.

Subari, A., Manan, S., & Ariyanto, E. (2020, May). Design of E-office system in vocational school Diponegoro University using code igniter framework. In IOP Conference Series: Materials Science and Engineering (Vol. 801, No. 1, p. 012141). IOP Publishing.

Dharmarajan, N., Mohd Lokman, A., & Zainol, Z. (2006). E-office for UiTM: a survey analysis. Jurnal Teknologi Maklumat dan Sains Kuantitatif, 8(1), 71-79.

Dewandaru, D. S. (2013). Pemanfaatan Aplikasi E-Office Untuk Mendukung Penerapan E-Government Dalam Kegiatan Perkantoran Studi Kasus: Puslitbang Jalan Dan Jembatan. In Seminar Nasional Teknologie Informasi dan Komunikasi 232-239.

รำเพียร น้อยเชียงคูณ, สุชาติ บางวิเศษ, อุทัย ปลีกล่ำ (2016).สภาพการใช้ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (e-Office)ในโรงเรียนสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ปีที่ 10 ฉบับที่ 3

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-13