การออกแบบบรรจุภัณฑ์ของที่ระลึกประเภทกล้วยไม้ เพื่อยกระดับรายได้ชุมชนตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ปฏิญญาณ์ แสงอรุณ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • เศรษฐกาล โปร่งนุช คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : บรรจุภัณฑ์ของที่ระลึก ,บรรจุภัณฑ์กล้วยไม้ ,บรรจุภัณฑ์ชุดปลูกกล้วยไม้

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ประเภทกล้วยไม้ขนาดเล็กเพื่อใช้เป็นของฝากหรือของที่ระลึกเป็นแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในการใช้เป็นของฝากด้านการเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะเฉพาะกล้วยไม้ดินสำหรับขายปลีกข้อจำกัดสินค้าประเภทไม้ประดับขนาดเล็ก2)เพื่อออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของที่ระลึกประเภทกล้วยไม้จากนวัตกรรมชุดปลูกต้นไม้ที่สามารถควบคุมความชื้นและแสงสว่าง 3) ประเมินความพึงพอใจในรูปแบบบรรจุภัณฑ์ของที่ระลึกประเภทกล้วยไม้ที่สร้างขึ้น ระยะแรกผู้วิจัยเอาผลโครงการวิจัยเรื่องการออกแบบชุดควบคุมความชื้นและแสงสว่างสำหรับการดูแลกล้วยไม้ในอาคารใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เนตทุกสรรพสิ่ง มาวิเคราะห์รูปแบบ ข้อจำกัดวัสดุ โครงสร้างเพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ด้านรูปลักษณ์และฟังก์ชั่น ระยะที่สองพัฒนารูปแบบเสมือนจริง 3 มิติเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ซื้อสินค้าเพื่อหาความพึงพอใจต่อรูปแบบการใช้งานที่สร้างขึ้น โดยผู้วิจัยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling)เป็นผู้สนใจเลือกซื้อสินค้าไม้ประดับเพื่อเป็นของฝาก จำนวน 100 คน ผลการทดสอบลักษณะเฉพาะกล้วยไม้ดินด้วยวิธีเพาะเนื้อเยื่อต้องขายในระยะมีใบจริง 2-4 ใบ โดยบรรจุกระถางขนาดเล็กสำหรับขายปลีก มีลักษณะการเลือกซื้อ 2 ลักษณะ นิยมซื้อโดยการซื้อ 1 ต้น และการซื้อ 5 ต้น

การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน 5 ระดับ ต่อการพัฒนารูปแบบต้นแบบเสมือนจริงบรรจุภัณฑ์ของที่ระลึกประเภทกล้วยไม้จากนวัตกรรมชุดปลูกต้นไม้ที่สามารถควบคุมความชื้นและแสงสว่างพบว่า ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย (=4.00) มีความสวยงาม ความทันสมัยอยู่ในระดับที่ดีมาก (=4.50) รูปแบบกล่องเหมาะสมและน่าใช้งานอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ (=4.04) ความสะดวกง่ายต่อการใช้งานอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ยเท่ากับ (=3.99) วัสดุในการออกแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ (=3.93) มีความเหมาะสมต่อการนำไปวางขายบนดิสเพลสินค้าหน้าร้าน อยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ยเท่ากับ (=3.87)

 

References

A. Viriyakrungchai,“Orchid Product Report,” Office of Agricultural and Industrial Trade Promotion, Department of International Trade Promotion, 2021

S. Serirat, et al., New Marketing Management, Bangkok: Thammasarn, 2009

C. witcha et al., “Intelligent Shop InnovationforFood and Bakery Business in New Normal,” Journal of Science and Technology, Ubon Ratchathani University, vol.1, no. 23, pp. 31–32, January-April, 2021.

T. Prachid, Packaging design, Bangkok:O.S.Printing House,1998.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31