สภาวะที่เหมาะสมสำหรับการสกัดน้ำมันจากเมล็ดเสาวรส เพื่อประยุกต์ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล
คำสำคัญ:
น้ำมันเมล็ดเสาวรส , ตัวทำละลาย , คลื่นเสียงความถี่สูง , วัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซลบทคัดย่อ
เมล็ดเสาวรสเป็นของเสียที่เกิดจากอุตสาหกรรมผลิตน้ำผลไม้ ซึ่งอุดมไปด้วยสารชีวโมเลกุลชนิดต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมันและไฟเบอร์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดน้ำมันจากเมล็ดเสาวรสด้วยตัวทำละลายร่วมกับคลื่นเสียงความถี่สูง (50/60 เฮิรตซ์) และตรวจสอบคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีบางประการของน้ำมันเมล็ดเสาวรสที่สกัดได้ เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตไบโอดีเซล โดยศึกษาชนิดของตัวทำละลาย ได้แก่ เอทิล อะซิเตท เฮกเซน ปิโตรเลียมอีเทอร์ เอทานอล คลอโรฟอร์มและเมทานอล อัตราส่วนของเมล็ดเสาวรสต่อตัวทำละลาย ได้แก่ 1 : 4 1 : 5 1 : 6 1 : 8 1 : 10 และ 1 : 12 ระยะเวลาในการสกัด ได้แก่ 10 15 20 25 และ 30 นาที และอุณหภูมิในการสกัด ได้แก่ 30 40 50 และ 60 องศาเซลเซียส ผลการศึกษา พบว่า เอทิล อะซิเตท เป็นตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดน้ำมันจากเมล็ดเสาวรสที่อัตราส่วน 1 : 12 ระยะเวลา 25 นาที และอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ให้ปริมาณน้ำมันสูงสุดร้อยละ 23.37 โดยน้ำหนักแห้ง และน้ำมันเมล็ดเสาวรสมีความหนืด 53.60 ตารางเมตรต่อวินาที ความหนาแน่น 0.92 กิโลกรัมต่อลิตร และกรดไขมันอิสระร้อยละ 0.54 โดยน้ำหนักแห้ง น้ำมันเมล็ดเสาวรสมีคุณสมบัติและมีศักยภาพพอที่จะนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตไบโอดีเซลได้
References
ตัวทำละลาย. (2563). สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2566, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ตัวทำละลาย.
เบ็ญจรัก วายุภาพ, วราพร ลักษณลม้าย, พฤกษชาติ พงศ์พิไลพฤติ, และสืบศักดิ์ สุ่มอิ่ม. (2548). ศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และองค์ประกอบของกรดไขมันในน้ำมันเมล็ดเสาวรส. Food, 35, 303-311.
พงษศิริ วินิจฉัย, และวารุณี ธนะแพสย์. (2550). การศึกษาวิธีการสกัดและการวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมีในน้ำมันเมล็ดเสาวรส. ใน การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 45 (น. 664-672) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วรัญญา วงศ์วานิช, และกิตติชัย บรรจง. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการสกัดน้ำมันเมล็ดองุ่นด้วยวิธีการแช่และการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงช่วยสกัด. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 34, 9-21.
ศิริวรรณ ปรียาจิตต์. (2551). สภาวะที่เหมาะสมในการสกัดน้ำมันจากเนื้อในเมล็ดสบู่ดำด้วยตัวทำละลาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม.
สาลินี ศรีวงษ์ชัย, ชวกร โป้ซิ้ว, อรพรรณ ใจสมุทร, และรุจิรัตน์ กิจเลิศพรไพโรจน์. (2562). สภาวะที่เหมาะสมในการสกัดน้ำมันจากกากกาแฟด้วยตัวทำละลายร่วมกับคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตไบโอดีเซล. วารสารวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี, 16, 1-6.
สุภัตรา ทรัพย์อุปการ. (2562). ลิพิด คืออะไร มาทำความรู้จักกันหน่อย. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2566, จาก https://uatscimath.ipst.ac.th/2021/article-chemstry/item/10474-2019-07-04-53-44.
AOAC. (2011). Official Methods of Analysis of the Association of Official Analytical Chemists. (19th edition). Association of Official Analytical Chemists Inc., Arlington: USA.
Barnwal, B.K., & Sherma, M.P. (2005). Prospects of biodiesel production from vegetable oil in India. Renewable and Sustainable Energy Reviews. 9, 363-378.
Castejón, N., Luna, P., & Señoráns, F.J. (2018). Alternative oil extraction methods from Echium plantagineum L. seeds using advanced techniques and green solvents. Food Chemistry, 244, 75-82.
Fonseca, A.M.A., Geraldi, M.V., Junior, M.R.M., Silvestre, A.J.D., & Rocha, S.M. (2022). Purple passion fruit (Passiflora edulis f. edulis): A comprehensive review on the nutritional value, phytochemical profile and associated health effects. Food Research International, 160, 111665.
Goula, A.M. (2013). Ultrasound-assisted extraction of pomegranate seed oil-Kinetic model. Journal of Food Engineering, 117, 492-498.
Leão, K.M.M., Sampaio, K.L., Pagani, A.A.C., & Silva, M.A.A.P. (2022). Odor potency, aroma profile and volatiles composition of cold pressed oil from industrial passion fruit residues. Industrial Crops & Products, 58, 280-286.
Liu, P., Xu, Y-F., Gao, X-D., Zhu, X-Y., Du, M-Z., Wang, Y-X., Deng, R-X., & Gao, J-Y. (2017). Optimization of ultrasonic-assisted extraction of oil from the seed kernels and isolation of monoterpene glycosides from the oil residue of Paeonia lactiflora Pall. Industrial Crops & Products, 107, 260-270.
Oliveira, R.C., Barros, S.T.D., & Gimenes, M.L. (2013). The extraction of passion fruit oil with green solvents. Journal of Food Engineering. 117, 458-463.
Pinelo, M., Rubilar, M., Jernes, M. Seneiro, J., & Nüñez, M.J. (2005). Effect of solvent, temperature, and solvent-to-solid ratio on the total phenolic content and antiradical activity of extracts from different components of grapes pomace. Journal of Agricultural and Food Chemistry, 53, 2111-2117.
Rocha, M.V.P., Matos,L. J.B.L., Lima, L.P., Figueiredo, P.M.S., Lucena, L.L., Fernandes, F.A.N., & Gonçalves, L.R.B. (2014). Ultrasound-assisted production of biodiesel and ethanol from spent coffee grounds. Bioresource Technology. 167, 343- 348.
Silva, M.S., Foletteo, E.L., Alves, S.M., Dantas, T.N.C., & Neto, A.A.D. (2015). New hydraulic biolubricants based on passion fruit and moringa oils and their epoxy. Industrial Crops & Products, 69, 362-370.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-05-29 (2)
- 2023-12-20 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 PSRU Journal of Science and Technology

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด