สัณฐานวิทยาเรณูของทุเรียนพันธุ์ปลูกในจังหวัดระยอง
คำสำคัญ:
เรณู , ทุเรียนพื้นบ้าน , เอกลักษณ์ประจำพันธุ์บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาเรณู ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำพันธุ์ของทุเรียน (Durio zibethinus L.) ในจังหวัดระยอง 10 พันธุ์ เก็บตัวอย่างช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564-มกราคม 2565 โดยเป็นพันธุ์พื้นบ้าน 7 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์กระดุมทอง (Kradum Thong) พันธุ์สาวชมฟักทอง (Saochom Fakthong) พันธุ์หลงลับแล (Long LapLae) พันธุ์ไอ้เม่น (I-Men) พันธุ์เม็ดในยายปราง (Metnai Yaiprang) พันธุ์นวลทองจันทร์ (Noun Thongjan) และพันธุ์พวงมณี (Phuang Mani) ทุเรียนพันธุ์ที่นิยมทางการค้า 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์หมอนทอง (Moan Thong) พันธุ์ชะนี (Chani) และพันธุ์ก้านยาว (Kan Yao) เก็บตัวอย่างพันธุ์ละ 10 ต้นๆ ละ 5 ดอก เตรียมตัวอย่างเรณู โดยวิธีอะซีโตไลซิส (Acetolysis) นำมาศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (LM) และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) พบลักษณะสัณฐานวิทยาเรณูที่คล้ายคลึงกัน คือ เรณูขนาดกลาง (แกนขั้วเฉลี่ย 43.19 ไมครอน) มีช่องเปิด 3 ช่องเป็นแบบผสม (Tricolporate) และลวดลายบนผนังเรณู (Ornamentation) แบบเรียบ (Psilate) อีกทั้งสามารถจำแนกรูปร่างของเรณูทุเรียนทั้ง 10 พันธุ์ เป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่มีรูปร่างแบบ Suboblate มี 6 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์กระดุมทอง พันธุ์ก้านยาว พันธุ์ชะนี พันธุ์เม็ดในยายปราง พันธุ์สาวชมฟักทอง และพันธุ์หมอนทอง 2) กลุ่มที่มีรูปร่างแบบ Oblate spheroidal มี 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์นวลทองจันทร์ พันธุ์พวงมณี และพันธุ์หลงลับแล 3) กลุ่มที่มีรูปร่างแบบ Prolate spheroidal มี 1 พันธุ์ คือ พันธุ์ไอ้เม่น นอกจากนี้ยังพบว่า เรณูทุเรียนเม็ดในยายปรางจัดอยู่ในกลุ่มเรณูขนาดใหญ่ (แกนขั้ว 51.36 ไมครอน) ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลเสริมในการระบุเอกลักษณ์ประจำพันธุ์ของทุเรียน ประยุกต์ในการปรับปรุงพันธุ์ และใช้ติดตามพาหะถ่ายเรณูในธรรมชาติ
References
กรณ์ กรภัทรชัยกุล, ไซหนับ ยู่โซะ, ทิพวรรณ คงอินทร์, และรูซีลา สะลูโว๊ะ. (2558) สัณฐานวิทยา ความมีชีวิต และการงอกของเรณูพืชดอก 15 ชนิด. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 23(4), 622-632.
เบญจวรรณ ชิวปรีชา, รุ่งวิทย์ ชัยจิรวงศ์, และชัยมงคล คงภักดี. (2563). ความหลากหลาย สัณฐานวิทยาของดอก และเรณูพืชอาหารผึ้งและชันโรงในสวนผลไม้ พื้นที่พัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด (มูลนิธิชัยพัฒนา) อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี. Thai Agricultural Research Journal, 38(3), 241-255.
ประศาสตร์ เกื้อมณี. (2551). เทคนิคเนื้อเยื่อพืช. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พิชัย ใจกล้า. (2556). สัณฐานวิทยาและสัณฐานวิทยาเรณูของทุเรียนพันธุ์หลงลับแล Morphology and Pollen Morphology of Durian (Durio zibethinus Murr.) cv. Long Lab-Lae. วารสารเกษตร, 29(3), 187-194.
ลาวัลย์ รักสัตย์. (2539). เรณู: Pollen graine. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สาระ บำรุงศรี. (2550). ชีววิทยาการหากินของค้างคาวเล็บกุด (Eonycteris. spelaea) และประสิทธิภาพในการผสมเกรทุเรียนและพืชในสกุล Parkia, ประเทศไทย (รายงานวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อิสมะแอ เจ๊ะหลง, และลักขณา รักขพันธ์. (2554). สัณฐานวิทยาเรณูของพรรณไม้ป่าชายเลนยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี, ประเทศไทย (รายงานการวิจัย). ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
Aminuddin, B., Voon, C.L., Hafiz, Y., Faisal-Ali, A.K., Chong-Ju, L., Bryan, R.N., Jaya-Seelan, S.S., Suganthi, A., Seri, I.M., & Jayaraj, V.K. (2022). A review of durian plant-bat pollinator interactions. Journal of Plant Interactions, 17(1), 105-126.
Erdtman, G. (1972). Pollen Morphology and Plant Taxonomy, Angiosperms: An Introduction to Polynology. New York: Hafner Publishing Company.
Khaleghi, E., Karamnezhad, F., & Moallemi, N. (2019). Study of pollen morphology and salinity effect on the pollen grains of four olive (Olea europaea) cultivars. South African Journal of Botany, 127, 51-57.
Salakpetch, S., Chandraparnik, S., & Hiranpradit, H. (1991). Pollen grains and pollination in durian, Durio zibethinus Murr. Frontier in Tropical Fruit Research, 321, 636-640.
Wayo, K. (2018). The Role of Insects in the Pollination of Durian (Durio zibethinus urray) Cultivar 'Monthong'. (Master’s thesis). Prince of Songkla University. Thailand.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-05-29 (2)
- 2023-08-23 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 PSRU Journal of Science and Technology
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด