“รวมพลังพัฒนาการศึกษาสกลนคร” ผลการประชุมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการจัดการศึกษาระดับบริบาล อนุบาลและประถมศึกษา

Authors

  • อมรา เขียวรักษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ลัดดาวรรณ แสนสุข นักศึกษาปริญญาโท สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • กัญญาภัค โพธิ์ศรี นักศึกษาปริญญาโท สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

Abstract

สาระสังเขป

รวมพลังพัฒนาการศึกษาสกลนคร เป็นกิจกรรมหนึ่งภายใต้โครงการศึกษาวิจัยตั้งสถาบันมาตรฐาน การศึกษาสกลนครในความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร สนับสนุนงบประมาณโดยจังหวัดสกลนคร เกิดจากความตระหนักถึงคุณภาพและมาตรฐานในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาพลเมืองไทยในสกลนคร ซึ่งได้รับ ความร่วมมืออย่างดีจากภาคประชาชน นำโดยตัวแทนหอการค้าจังหวัดสกลนคร กิจกรรมดังกล่าวมุ่งเตรียมความ พร้อมในการจัดตั้งสถาบันมาตรฐานการศึกษา เริ่มด้วยการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัด การศึกษาระดับก่อนวัยเรียน(บริบาล) ปฐมวัย(อนุบาล) และประถมศึกษาของจังหวัดสกลนคร โดยระดมความ คิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม กลุ่มแรก เป็นตัวแทนจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 เขต 2 และเขต 3 ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และปราชญ์ท้องถิ่น จำนวน 150 คน กลุ่มสอง เป็นตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับเทศบาลตำบลในจังหวัดสกลนคร ประกอบด้วย นายกและปลัดเทศมนตรี นายกและปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล หัวหน้ากองการศึกษา หัวหน้า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และผู้ดูแลเด็ก จำนวน 80 คน และกลุ่มสาม เป็นตัวแทนจากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดสกลนคร ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ และครูสำนักงานส่งเสริม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยประจำอำเภอทุกอำเภอ จำนวน 36 คน

ผลการศึกษาพบว่า การจัดการศึกษาแต่ละระดับและแต่ละสังกัดมีสภาพปัญหาและความต้องการหลัก คล้ายคลึงกัน แต่มีประเด็นย่อยที่แตกต่างกันบ้างตามสภาพที่สังกัด ซึ่งสามารถสรุปในแต่ละกลุ่ม ดังนี้

สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร

สภาพปัญหาและความต้องการที่พบ นำเสนอเป็นประเด็นย่อย ดังนี้

ด้านบุคลากร พบว่า ผู้สอนสอนไม่ตรงวุฒิการศึกษา ขาดความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน บุคลากรไม่เพียงพอ ผู้บริหารมีการนิเทศติดตามไม่ต่อเนื่อง ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ต่ำ ขาดความสามารถในการคิด วิเคราะห์ ขาดคุณธรรมจริยธรรม ด้านทรัพยากร พบว่า งบประมาณไม่เพียงพอได้รับการจัดสรรไม่เหมาะสม เบิกจ่ายไม่เป็นไปตามแผน อาคารไม่เพียงพอ ไม่เหมาะสม ขาดสื่ออุปกรณ์ ด้านสภาพแวดล้อม พบว่าสภาพ เศรษฐกิจไม่ดี ผู้ปกครองต้องทำงานนอกพื้นที่ไม่มีเวลาให้เด็กส่งผลให้ไม่ให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดการเรียนการสอน พบว่า หลักสูตรมีเนื้อหามาก ขาดการเอาใจใส่อย่างต่อเนื่องจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ศึกษานิเทศก์ และนักการศึกษา ขาดการประกันคุณภาพหลักสูตร ปัญหาการใช้และพัฒนานวัตกรรมการ เรียนรู้ พบว่าครูขาดความรู้และทักษะในการใช้ เทคโนโลยีไม่ทันสมัย ส่วนปัญหาด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่า ขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนตั้งแต่เริ่มต้น และขาดการประชาสัมพันธ์

สำหรับความต้องการ พบว่า สถานศึกษาต้องการให้โรงเรียนเน้นเรื่องคุณธรรมจริยธรรมกับผู้เรียน ให้มีการจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสม ให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและให้มหาวิทยาลัย ราชภัฏสกลนครเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาการศึกษาของจังหวัด

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร

สภาพปัญหาที่พบ นำเสนอเป็นประเด็นย่อย ดังนี้

ด้านบุคลากร พบว่า สัดส่วนครูกับเด็กไม่เหมาะสม บุคลากรไม่เพียงพอและเป็นผู้สูงอายุ ขาดความ มั่นคงในอาชีพ ขาดขวัญและกำลังใจ ไม่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขาดบุคลากรที่ชำนาญเฉพาะทาง ผู้บริหาร ไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร ผู้ปกครองไม่ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านทรัพยากร พบว่า งบประมาณไม่เพียงพอ อาคารไม่เพียงพอและไม่ได้มาตรฐาน ขาดสื่ออุปกรณ์ เช่น เครื่องเล่นสนาม ด้านสภาพแวดล้อม พบว่า มีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ไม่ปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม โดยเฉพาะศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กบางศูนย์อยู่ในชุมชนที่มีมลพิษ เช่น มลพิษทางเสียง กลิ่นจากกองขยะ

สำหรับความต้องการ ต้องการให้มีการสร้างความมั่นคงในอาชีพ เพิ่มงบประมาณพัฒนาศูนย์เด็ก เล็กให้มีมาตรฐาน ปลอดภัย ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยประจำอำเภอ(กศน.)

สภาพปัญหาและความต้องการที่พบ นำเสนอเป็นประเด็นย่อย ดังนี้

ด้านบุคลากร พบว่า บุคลากรไม่เพียงพอ ปฏิบัติงานหลายหน้าที่ ไม่เข้าใจบริบทการจัดการสอน ของ กศน. ขาดความรู้และทักษะในการสอน ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ บุคลากรขาดความมั่นคง และ ขาดขวัญและกำลังใจ ด้านทรัพยากร พบว่า งบประมาณไม่เพียงพอ อาคารไม่เพียงพอและไม่ได้มาตรฐาน ขาดสื่อ อุปกรณ์ ด้านสภาพแวดล้อม พบว่า สถานที่จัดการเรียนการสอนไม่เป็นเอกเทศ สภาพแวดล้อมบางแห่งไม่ เหมาะสม

สำหรับความต้องการ พบว่า กศน. ต้องการให้มีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง จัดกิจกรรมเสริม คุณธรรมให้กับผู้เรียน จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ เพิ่มบุคลากรธุรการ ต้องการให้มีการสร้างความมั่นคงใน อาชีพ เพิ่มงบประมาณในการจัดซื้อสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตให้ครบทุกอำเภอ ส่งเสริมให้ภูมิ ปัญญาเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน ให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครเป็นหน่วยงานกลางในการ พัฒนาการศึกษาของจังหวัด

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐานทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต และเป็นการระดมความ คิดเห็นจากหลายฝ่าย ซึ่งช่วยให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักวิจัยในโครงการนี้ หรือ/และนักวิจัย นิสิต นักศึกษา และบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร รวมถึงสถาบันหรือองค์กรอื่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัด การศึกษาได้รู้จักและเข้าถึงข้อมูลในเชิงพื้นที่ในระดับหนึ่งก่อนที่จะกำหนดโจทย์วิจัยและทำการวิจัยเพื่อพัฒนาการ จัดการศึกษาขององค์กรในจังหวัดสกลนครให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้นต่อไป โดยมีฐานความคิดที่ว่า “การศึกษาเป็น เรื่องของคนทุกคน”

Downloads

How to Cite

เขียวรักษา อ., แสนสุข ล., & โพธิ์ศรี ก. (2013). “รวมพลังพัฒนาการศึกษาสกลนคร” ผลการประชุมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการจัดการศึกษาระดับบริบาล อนุบาลและประถมศึกษา. Creative Science, 3(6), 35–48. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/9983