การศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21

Authors

  • วลัยพรรณ จิตต์วิญญาน นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ธีระวัฒน์ เยี่ยมแสง ประธานกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Keywords:

การศึกษาการบริหารงาน, หลักธรรมาภิบาล, A Study of Execution, Good Governance

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล จำแนกตามสถานภาพ ขนาดสถานศึกษาและศึกษาข้อเสนอแนะในการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 21 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้แทนครูในคณะกรรมการสถานศึกษา และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 132 คนได้มาโดยการใช้สถานศึกษาเป็นหน่วยสุ่มกำหนดขนาดโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน(Krejcie and Morgan) และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ โดยแบบสอบถามมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .20 ถึง .85 และค่าความเชื่อมั่น .96  สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบเอฟ(One –way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’ )

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก  เรียงลำดับของค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ  หลักคุณธรรม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า หลักนิติธรรม หลักความโปร่งใส และหลักการมีส่วนร่วม

2. สภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ตามความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีสถานภาพและขนาดสถานศึกษาต่างกันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21  หลักนิติธรรม การปฏิบัติงานในสถานศึกษาควรยึดและปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับของราชการ หลักคุณธรรม ผู้บริหารสถานศึกษาควรปฏิบัติหน้าที่โดยยึดมั่นในความถูกต้อง เป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคลากรในสถานศึกษา หลักความโปร่งใสควรมีการวางแผนการปฏิบัติงานและจัดระบบการตรวจสอบภายในสถานศึกษาให้ชัดเจนและทุกฝ่ายตรวจสอบได้ หลักการมีส่วนร่วมควรส่งเสริมสนับสนุนให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมในการบริหารงานตามบทบาทหน้าที่ที่กำหนดไว้ หลักความรับผิดชอบควรมีการจัดองค์กรและโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจนในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร หลักความคุ้มค่าควรมีการควบคุม กำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์

คำสำคัญ : การศึกษาการบริหารงาน, หลักธรรมาภิบาล

 

Abstract

This research had the objectives to study and to compare the opinions on the state of execution according to the principles of good governance; classified by the status of the respondents; and the size of the educational institution; and to study recommendations for development of execution according to the principle of good governance by educational institution administrators under Office of Secondary Education Service Area 21. The sample comprised 132 educational institution administrators; teacher representatives in the basic education institution committees; and the chairpersons of the basic education institution committees; obtained through simple random sampling; and educational institution was used as sampling unit. The sample size was determined according to Krejcie and Morgan table. The instruments used consisted of a 5-level rating scale questionnaire; and an interview form. For the questionnaire; the discrimination power of the items ranged between .20 to .85; and the total reliability of the questionnaire was .96. The statistics employed included percentage; mean; standard deviation. F-test (one-way ANOVA) was used in hypothesis testing. Paired comparison according to Scheffe ́’s method was also used.

The results are as follows:

1.  The state of execution according to the principles of good governance by educational institution administrators under Office of Secondary Education Service Area 21 was found to be; on the whole; in the high level. Ranked from high to low according to the value of the mean; the principles are in the following order: the principle of morality; the principle of responsibility; the principle of cost-effectiveness; the principle of the rule of law; the principle of accountability; and the principle of participation.

2. The comparison  state of the execution according to the principles of good governance by educational institution administrators under Office of Secondary Education Service Area 21 reveals that personnel with different status and in educational institution of a different size had different opinion on the execution according to the principles of good governance by educational institution administrators under Office of Secondary Education Service Area 21; with statistical significance at .05 level.

3. Recommendations for development of execution according to the principle of good governance by educational institution administrators under Office of Secondary Education Service Area 21 are as follows: under the principle of the rule of law; working in educational institutions should follow laws; rules; and regulations; under the principle of morality; educational institution administrators must perform their duty right and be a good example for the personnel in the educational institution; under the principle of accountability; there should be planning of work; and a clear internal audit system of the educational institution must be organized and all parties can examine it; under the principle of participation; the basic educational institution committee should participate in the execution according to their prescribed roles; under the principle of responsibility; there should be clear organization of the administrative structure and job description for personnel to follow; under the principle if cost-effectiveness; there should be effective controlling; directing and following up of expenditure according to the plan in order to obtain cost-effectiveness and benefit.

Keyword : A Study of Execution, Good Governance

Downloads

How to Cite

จิตต์วิญญาน ว., & เยี่ยมแสง ธ. (2013). การศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. Creative Science, 4(8), 133–144. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/9949