ความชุกของหนอนพยาธิใบไม้ตับในตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
Keywords:
พยาธิใบไม้ตับ, พยาธิสตรองจิลอยด์, การติดเชื้อโรคหนอนพยาธิAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อโรคหนอนพยาธิใบไม้ตับของประชาชนที่อาศัยอยู่ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนอายุระหว่าง 15 – 60 ปี ที่อาศัยอยู่ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนครและสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 244 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม – เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 โดยการตรวจอุจจาระจากกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการตรวจอย่างง่าย (direct smear) ผลการตรวจพบอัตราความชุกของการติดเชื้อโรคหนอนพยาธิ คิดเป็นร้อยละ 4.90 จำแนกได้ดังนี้ ร้อยละ 3.70 ตรวจพบพยาธิสตรองจิลอยด์ (Strongyloides stercoralis) และร้อยละ 1.20 ตรวจพบพยาธิใบไม้ตับ (Opisthorchis viverrini) นอกจากนี้พบว่าการเลี้ยงสุนัข (p = 0.04) และการรับประทานปลาร้าดิบ (p = 0.03) มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อหนอนพยาธิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 จากการศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมการบริโภคและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อโรคหนอนพยาธิ จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบ และจัดการสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะโดยหน้าที่สาธารณสุขควรให้ความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อโรคหนอนพยาธิในชุมชนเพื่อป้องกันการกระจายและการติดเชื้อในพื้นที่ต่อไป