ความคาดหวังของผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงต่อคุณลักษณะของแรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

Authors

  • จิราภรณ์ พรหมเทพ Chirabhorn Phromthep

Keywords:

ความคาดหวัง, ผู้ประกอบการ, คุณลักษณะของแรงงาน, อุตสาหกรรมท่องเที่ยว, อุตสาหกรรมบริการ, ประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังของผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ต่อคุณลักษณะของแรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และนำผลจากการวิจัยที่ได้ ไปพัฒนาและปรับปรุง หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยนครพนม ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการในปัจจุบัน โดยทบทวนจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 และ 11 ทิศทางด้านการท่องเที่ยว ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม พ.ศ.  2553  ศึกษาเอกสาร และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความต้องการแรงงาน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ได้แก่ จีน (ยูนนาน) ไทย ลาว เวียดนาม พม่า และกัมพูชาจำนวน 358 คน จาก 3,448 บริษัท เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยรวบรวมข้อมูลจากการสอบถาม ข้อมูลเอกสารและข้อมูลทุติยภูมิอื่นๆ โดยนำเสนอข้อมูลในรูปแบบพรรณนา แผนภูมิ แผนภาพตาราง เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมเพื่อนำเสนอค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่ออธิบายข้อมูล ผลจากการวิจัยพบว่าความคาดหวังของผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ต่อคุณลักษณะของแรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง พบว่า มีความคาดหวังต่อคุณลักษณะของแรงงาน ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ ในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ในด้านต่างๆ ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก คือ  ด้านทักษะในการทำงาน ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านคุณธรรม จริยธรรม

 

This study is a quantitative and qualitative research that aimed to examine tourism entrepreneurs’ expectations of characteristics of the tourism workforce in the Greater Mekong Sub-region (GMS) countries. The results drawn from the study were utilized for developing and refining the Bachelor of Arts Program in Tourism and Service Industry, Nakhon Phanom University, for being an appropriate program in accordance with the today tourism and service industry movement. The research design was based on the National Economic and Social Development Plan No. 10 and 11 of tourism destination trends, Ministry of Education Announcement of undergraduate qualification standards of Tourism and Hospitality Program B.E. 2553. The document inquiry and related literature reviewed several sources underlying workforce demands issues. Research population and samples were 358 tourism entrepreneurs from 3,448 companies in the Greater Mekong Sub-region (GMS) Countries; Thailand, Laos PDR, Vietnam, Myanmar and Cambodia. A questionnaire was used as a research instrument for data collection and analysis. The study findings were also presented in a descriptive composition format, charts, diagrams, and tables depicting content analysis and statistical analysis. The statistical analysis used a software program to present data of percentage, mean, standard deviation. The results also revealed that the tourism entrepreneurs’ expectations on characteristics of the tourism workforce in the Greater Mekong Sub-region (GMS) countries in all aspects and in each aspect were at a high level in the three sequential categories: Work Skills, Interpersonal Skills, and Moral and Ethics.

Downloads

Published

2015-12-15

How to Cite

Chirabhorn Phromthep จ. . พ. (2015). ความคาดหวังของผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงต่อคุณลักษณะของแรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง. Creative Science, 7(2), 40–48. retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/43646