การเปลี่ยนไปสู่ความทันสมัยกับความเข้มแข็งของประชาชน ในจังหวัดมหาสารคาม
Keywords:
ความเข้มแข็งของประชาชน, ความทันสมัยAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การเปลี่ยนไปสู่ความทันสมัยกับความเข้มแข็งของประชาชนในจังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนไปสู่ความทันสมัยกับความเข้มแข็งของประชาชนในจังหวัดมหาสารคาม และเสนอรูปแบบการเปลี่ยนไปสู่ความทันสมัยกับความเข้มแข็งของประชาชนในจังหวัดมหาสารคาม พื้นที่ในการวิจัยคือ พื้นที่ชนบทเดิมที่เกิดการเปลี่ยนไปสู่ความทันสมัยจากการตั้งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (แห่งใหม่) และการตั้งศาลากลางจังหวัด (แห่งใหม่) คือ ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย และตำบลแวงน่าง อำเภอเมืองมหาสารคาม ผู้วิจัยได้แบ่งกลุ่มประชากรในการวิจัยออกเป็น 3 กลุ่ม โดยยึดหลักพัฒนาการตามวัย ตามแนวคิดของ ฮาวิคเฮอร์ท (Havighurst) และสุ่มแบบลูกโซ่ (Snowball Sampling) กลุ่มตัวอย่างที่มีความน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับในชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์แบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากเอกสารและการวิจัยภาคสนาม แล้วนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาสรุปและอภิปรายผลด้วยวิธีพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า ในอดีตคนในชุมชนทั้งสองแห่งมักตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ดอนเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ส่วนใหญ่เป็นพี่น้องกัน อยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ในลักษณะเครือญาติ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นส่วนใหญ่ มีวิถีชีวิตในลักษณะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปันกัน เกือบทุกบ้านนับถือศาสนาพุทธและมีความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เมื่อสังคมแปรเปลี่ยนไปสู่ความทันสมัยจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอันเกิดจากการตั้งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (แห่งใหม่) และศาลากลางจังหวัด (แห่งใหม่) พบว่า
ด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และธุรกิจ ชุมชนทั้งสองแห่งมีความเข้มแข็งอันเกิดจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ประชาชนในชุมชนมีรายได้มากขึ้น รวมทั้งมีช่องทางในการหารายได้มากขึ้น แต่การขยายตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าวเกิดจากบุคคลภายนอก กลุ่มนายทุนหรือนักธุรกิจที่เข้ามาลงทุนในพื้นที่เพื่อแสวงหากำไรมากกว่าการที่คนในพื้นที่สร้างความเข้มแข็งในชุมชนโดยการนำภูมิปัญญาในการประกอบอาชีพของคนในอดีตมาประยุกต์กับเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายในชุมชนให้สามารถแข่งขันกับโลกภายนอกภายใต้ระบบความสัมพันธ์ที่ดีภายในชุมชน
ด้านสังคม การเมืองและการปกครอง จากการที่ความทันสมัย ความเจริญเข้ามาในพื้นที่ทั้งสองดังกล่าว ทำให้สภาพโครงสร้างทางสังคมภายนอกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วรวมทั้งสภาพภายในสังคมจากอดีตที่อยู่ร่วมกันในลักษณะพึ่งพาอาศัยกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันเริ่มลงน้อยลง นอกจากนั้นยังพบว่าประชาชนมีความรู้ด้านการเมือง การปกครอง มากขึ้นและมีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบต่าง ๆ มากขึ้นสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน ความเข้มแข็งในด้านสังคม การเมืองและการปกครอง ถูกยึดโยงกับความเจริญภายนอกอันเกิดจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพียงฝ่ายเดียว มากกว่าการที่คนในชุมชนร่วมกันสร้างความเข้มแข็งด้านสังคม การเมืองและการปกครองในพื้นที่โดยเน้นอัตลักษณ์ของตนประยุกต์เข้ากับความทันสมัยในรูปแบบต่าง ๆ ที่เข้ามาเพื่อให้เป็นต้นทุนทางสังคม อยู่เคียงคู่กับชุมชนตามวิถี แห่งความเป็นอยู่ของตน
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและด้านสิ่งแวดล้อม จากสภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจในชุมชน ทั้งสองแห่งทำให้สภาพบ้านเรือนเดิมเปลี่ยนแปลงไปเป็นตึก ร้านค้า อพาร์ทเม้นต์ และหมู่บ้านจัดสรรมากขึ้น ส่งผลให้ผืนนา ผืนป่าและแหล่งน้ำลดน้อยลง นอกจากนั้นยังเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามมามากขึ้น จากสภาพความเป็นจริงเห็นได้ว่า ชุมชนทั้งสองแห่งยังไม่มีความเข้มแข็งพอในการปรับตัวให้เข้ากับความทันสมัย ความเจริญที่เข้ามา เพราะทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายมากขึ้นโดยไม่มีการปลูกทดแทนในสัดส่วนที่สมดุลกันและมีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากผลพวงของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันคนในพื้นที่ยังไม่มีความตื่นตัว ตระหนักและให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวเท่าที่ควร
รูปแบบการเปลี่ยนไปสู่ความทันสมัยกับความเข้มแข็งของประชาชนในจังหวัดมหาสารคาม จะต้องเป็นการนำความรู้จากเทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่ ตลอดจนองค์ความรู้เดิมมาประยุกต์ใช้ให้กลมกลืนกับความเชื่อและอัตลักษณ์ของพื้นที่เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชนในจังหวัดมหาสารคามทั้งนี้การสร้างความเข้มแข็งดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของการสร้างจิตสำนึกให้คนในพื้นที่ร่วมกันรักษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่และอัตลักษณ์ของพื้นที่ให้คู่ขนานไปกับความทันสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
คำสำคัญ : ความเข้มแข็งของประชาชน, ความทันสมัย
Abstract
The objectives of this research were to study the change to modernization and public strength in Maha Sarakham province and to propose a model of the change to modernization and public strength in Maha Sarakham province. The research areas were formal countryside communities where the change to modernization took place after the new campus of Maha Sarakham Univerisity and the new Maha Sarakham City Hall were established, which were Kham Riang Sub-District of Kantarawichai District and Waeng Narng Sub-District of Muang District respectively. The population was divided into 3 groups using Havighurst's Developmental Task Theory and Snowball Sampling. The sample groups were respectable people within their communities. Data collection tools were formal and informal in-depth interview and research method employed was qualitative research. The data was acquired from documents and field researches. After being analyzed, data analysis results were concluded and presented in a descriptive style.
The research results were as follows.
In the past, both communities settled in the uplands in small villages. Most community members were blood related and lived together as extended family. Most were farmers and their way of life was based on generosity. Most families were Buddhists and believed in superstition. After the economic growth from the establishment of the new campus of Maha Sarakham University and the New City Hall, there are changes in the research areas' economy, society and environment as follows.
The changes in economic, industries and commerce are that both communities are strengthened from the economic growth. There is a rise in the income rate and there are more routes to earn income. However, the said economic growth is caused by outsiders, capitalists or businessmen who invest for profit more than the locals strengthening their own communities by adapting folk wisdoms with modern technologies to produce and develop their own goods to compete with the outer world under the good relationship within their communities.
The change in the social, politics and administration is that modernity has rapidly changed the outer and inner social structures of both communities. There is lesser dependence and generosity than in the past. People have more knowledge on politics and administration and participate in political activities more than they used to be. In the present situation, social, political and administrative strength are solely linked with external modernity from the economic growth more than the participation of community members to build their social, political and administrative strength by integrating their self-identity to modernity of different kinds to create their social capital to exist along with their way of life.
The change in the natural resources and environment is that, from the economic growth in both communities, the environmental surroundings have changed visibly. There are more buildings, stores, apartments and housing estates and less paddy fields, forest areas and water sources. Apart from this, there are more environmental problems. It can be seen from the present situation that both communities lack enough strength to adapt to modernity since more natural resources are being used without renewing the balance. Moreover, economic growth brings environmental problems. Despite this, the community members are still unalarmed and have not given much importance to these issues.
The model of the change to modernization and public strength in Maha Sarakham province must be the adaption of knowledge from technology and modern sciences as well as folk wisdom with local beliefs and identity to build public strength. However, such strength building must be based on creating consciousness among locals to preserve their way of life and identity to exist along with modernity.
Keywords : Public Strength, Modernity