การพัฒนารูปแบบการรับรู้ความสามารถของตนเองและควบคุมตนเองเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

Authors

  • อรอนงค์ บุรีเลิศ Onanong Bureelerd

Keywords:

การรับรู้ความสามารถของตนเองและควบคุมตนเอง, โรคเบาหวานชนิดที่ 2

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของประชาชนในเขตพื้นที่บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2) สร้างรูปแบบการรับรู้ความสามารถของตนเองและการควบคุมตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและภาวะสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2และ 3) หาประสิทธิผลและปรับปรุงรูปแบบการรับรู้ความสามารถของตนเองและการควบคุมตนเองเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและภาวะสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาภาวะเสี่ยงคือประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่อยู่ในเขตพื้นที่บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปทุม จำนวน 385 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทดลองรูปแบบ ได้แก่ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน แบบสนทนากลุ่มและแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

            ผลการวิจัยมีดังนี้                                                                                  

            1. ประชาชนส่วนใหญ่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในระดับปานกลาง สูง และสูงมาก จำนวน 228 คน หรือร้อยละ 59.22  หากไม่หาแนวทางป้องกันแก้ไขก็จะป่วยเป็นโรคเบาหวานได้ในอนาคต

            2. รูปแบบการรับรู้ความสามารถของตนเองและควบคุมตนเองเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมี 5 องค์ประกอบ คือ (1) ด้านหลักการของรูปแบบเน้นการสร้างประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จ การใช้ตัวแบบ การใช้คำพูดชักจูง การควบคุมเงื่อนไขนำและการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่ม (2) ด้านวัตถุประสงค์ของรูปแบบได้แก่ เพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารและการเคลื่อนไหวออกกำลัง และเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (3) ด้านสาระการพัฒนา ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การรับรู้ความสามารถของตนเองและการควบคุมตนเองด้านการบริโภคอาหารและการเคลื่อนไหวออกกำลัง(4) กระบวนการพัฒนา ประกอบด้วย ขั้นประเมินภาวะทางสุขภาพและกำหนดเป้าหมาย ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขั้นสรุปและประเมินผล และ (5) ด้านเงื่อนไขความสำเร็จและตัวชี้วัดความสำเร็จ ได้แก่ กลุ่มเสี่ยงต้องเข้าร่วมการทำกิจกรรมให้ครบทุกขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การรับรู้ความสามารถของตนเองและการควบคุมตนเองด้านการบริโภคอาหารและการเคลื่อนไหวออกกำลัง ดัชนีมวลกาย ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับไขมันในเลือดชนิดความหนาแน่นสูง (HDL-C)

            3. ประสิทธิผลของรูปแบบการรับรู้ความสามารถของตนเองและควบคุมตนเองเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล พบว่าหลังการเข้าร่วมกิจกรรมตามรูปแบบ กลุ่มเสี่ยงมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การรับรู้ความสามารถตนเองและการควบคุมตนเองในการบริโภคอาหารและการเคลื่อนไหวออกกำลัง  พฤติกรรมการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการเคลื่อนไหวออกกำลัง และ HDL-Cเพิ่มขึ้นจากก่อนเข้าร่วมกิจกรรมของรูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีน้ำหนักตัวและดัชนีมวลกายลดลงจากก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่พบความแตกต่างในด้านความยาวรอบเอวและน้ำตาลในเลือด

 

คำสำคัญ: การรับรู้ความสามารถของตนเองและควบคุมตนเอง, โรคเบาหวานชนิดที่ 2

 

Abstract                                                                                             

          This research and development project aimed to 1) study risk of type 2 diabetes; 2) create a model of perceived self-efficacy and self-control for changing health behavior and conditions; and 3) test the effectiveness of the constructed model. It employed two different samples in the service areas of the Pathum Sub-district Community Health Promotion Hospital. One group of 385 participants (15 years and older) was selected using a cluster sampling technique.  A second group of 30 people aged 35 years and older was selected through a random sampling method and used to test the constructed model.  Data was collected through interview, focus-group discussion, and a set of questionnaire. Percentage, standard deviation, t-test, and content analysis were utilized to analyze data.

            The research findings were as follows:             

            1. Of the cluster sample, 228 people or nearly sixty percent (59.22%) were found to be at risk of Type 2 diabetes at a moderate, high, and higher levels; a preventive means had not been provided they were likely to be at risk of Type 2 diabetes in the future.

            2. The model of perceived self-efficacy and self-control for changing health behavior and condition of those at-risk of Type 2 diabetes consisted of 4 components: 1) Principles focusing on building experience from other at-risk groups who were successful in preventing the disease through the use of prototypes, persuading words, control of leading conditions, control of the outcomes, and learning through group process; 2) specified Objectives to develop better health behavior among at-risk groups in terms of food intake and exercise; 3) Contents of the Development involving knowledge about obesity and diabetes, perceived self-efficacy and self-control in terms of food intake, and exercise; 4) Model Development Processes including health assessment stages and goal establishment, sharing knowledge, conclusion and evaluation; and 5) Success Conditions and Indicators involving the at-risk groups participating in all provided activities. 3. In terms of the constructed model, it was found that knowledge about obesity, diabetes, perceived self-efficacy and self-control in food intake and exercise, High Density Lipoprotein Cholesterol (HDL-C) level of the at-risk groups were found to be higher after participation in the activities outlined in the model at a .05 level of significance. Weight and body mass of participants were reduced at a .05 level of significance. However, there was no statistically significant difference found in waist length, and blood sugar levels.

 

Keywords :  Perceived Self-efficacy and Self-control, Type 2 Diabetes

Downloads

How to Cite

Onanong Bureelerd อ. บ. (2015). การพัฒนารูปแบบการรับรู้ความสามารถของตนเองและควบคุมตนเองเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. Creative Science, 7(13), 33–44. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/34944