การพัฒนาแบบบันทึกทางการพยาบาลตามกระบวนการพยาบาลผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้น กรณีศึกษา : โรงพยาบาลพังโคน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร

Authors

  • อรอนงค์ สีหนาท Onanong Srihanart

Keywords:

แบบบันทึกทางการพยาบาลในห้องพักฟื้น

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบบันทึกทางการพยาบาลตามกระบวนการพยาบาล สำหรับผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลพังโคน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร การวิจัยดำเนินการโดยการสร้าง พัฒนา และทดลองใช้แบบบันทึก กลุ่มประชากรในการทดลองใช้แบบบันทึกได้แก่ วิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลพังโคน จำนวน 3 คน และผู้มารับบริการที่โรงพยาบาล จำนวน 30 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แบบบันทึกทางการพยาบาลตามกระบวนการพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบตรวจสอบคุณภาพการบันทึก แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์จากการใช้แบบบันทึก และความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบ/โครงสร้าง และเนื้อหาในแบบบันทึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ

            ผลการวิจัยพบว่า

1. แบบบันทึกทางการพยาบาลที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น เป็นแบบมีโครงสร้าง โดยมีรายการให้เลือกและเติมข้อความในช่องที่กำหนด 30 ส่วน โดยต้องบันทึกให้ครบ 30 ส่วน

2. แบบบันทึกทางการพยาบาลตามกระบวนการพยาบาลที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในด้านรูปแบบ โครงสร้างและเนื้อหา โดยรวมในระดับมากที่สุดและสามารถนำไปใช้ได้จริงอย่างมีประสิทธิผล

คำสำคัญ : แบบบันทึกทางการพยาบาลในห้องพักฟื้น  

 Abstract

            The purpose of this study was to develop a nurse’s note based on the nursing process for patients who have had surgery or diagnostic procedures requiring anesthesia and are taken to the recovery room (post-anesthesia care unit (PACU)) in PhangKhon Hospital, PhangKhon district, Sakon Nakhon province. The study process was carried out through creating, developing and implementing  the nurse’s note form.The instrument used for treatment was a nurse’s note form following the nursing process. The instruments used to collect data were a form for checking quality of the notes, a questionnaire asking opinion on benefits of using the nurse’s note form on form/structure and content of the nurse’s note. Statistics used to analyze data consisted of mean, standard deviation and percentage.

            The findings disclosed as follows:

            1. The nurse’s note form created by the author was a structured-type with the items to choose or the blanks to fill in of all the 30 particulars.  Writing notes requires completing all the particulars.

            2. The overall nurse’s note following the nursing process as developed by the author was

appropriate for the form/structure and content at the highest level and is able to be actually and effectively used. 

 

Keywords : Nurse ’ s note form for patients in the post-anesthesia care unit

Downloads

How to Cite

Onanong Srihanart อ. ส. (2014). การพัฒนาแบบบันทึกทางการพยาบาลตามกระบวนการพยาบาลผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้น กรณีศึกษา : โรงพยาบาลพังโคน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร. Creative Science, 6(12), 155–164. retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/26437