รูปแบบการจัดการความรู้จากงานวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ

Authors

  • ฬิฏา สมบูรณ์ Lita Somboon

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการความรู้จากงานวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบการจัดการความรู้จากงานวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 3) ทดลองใช้และประเมินรูปแบบการจัดการความรู้จากงานวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยทั้ง 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 อาจารย์ที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จำนวน 12 แห่ง จำนวนทั้งสิ้น1,498 คน ระยะที่ 2 ผู้ทรงคุณวุฒิ และระยะที่ 3 อาจารย์ที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 40 คน ซึ่งจำแนกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มการศึกษา กลุ่มเกษตร กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มละ 10 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง  ผลการวิจัย พบว่า1) สภาพการจัดการความรู้ที่มีอยู่จริงจากงานวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นเพศหญิง อายุ 20-30 ปี วุฒิการศึกษาปริญญาโท มีประสบการณ์ 1-5 ปี มีการประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ เป้าหมายในการจัดการความรู้ระหว่างคณะ จัดทำแผนปฏิบัติการจัดการความรู้อย่างมีส่วนร่วม แต่งตั้งทีมการจัดการความรู้ด้วยจิตอาสา มีการจัดการความรู้ร่วมกันจากงานวิจัยในการสรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ มีการจัดการความรู้จากงานวิจัยด้วยการตีพิมพ์และเผยแพร่ในระดับชาติ และนานาชาติ และช่องทางการเผยแพร่การจัดการความรู้จากงานวิจัย ได้แก่ เว็บไซต์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเอกสารเพื่อการเผยแพร่ไปยังบุคคลและหน่วยงาน แต่การนำไปใช้ประโยชน์อยู่ในระดับน้อย 2) การสร้างรูปแบบ มีจำนวน 12 กิจกรรม 3) เมื่อนำรูปแบบไปทดลองใช้พบว่า อาจารย์ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยเพิ่มมากขึ้น ได้ข้อค้นพบใหม่ๆ ได้ประสบการณ์จากงานวิจัย และได้งานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริงกับท้องถิ่น

 

คำสำคัญ :  การจัดการความรู้, งานวิจัยของอาจารย์    

 

Abstract

            The research aimed to study the knowledge management based on the research conducted by Rajabhat instructors, to construct and examine a model of knowledge management, and to try out and evaluate a model of knowledge management based on the research conducted by Rajabhat instructors. The target groups were divided into three groups in response to the three stages. The first stage included a total of 1,498 instructors from 12 Rajabhat Universities who had acquired a research fund. In the second stage, the model was  examined by the experts. The third stage was a try out and a model evaluation. The group in this stage was 40 Ubon Ratchathani Rajabhat University instructors. They were derived by a purposive sampling and  divided into four groups of ten  based on the faculties: education, agriculture, humanities and social sciences, science and technology. The research found that (1) a majority of the instructors were females aged 20-30 years, holding a master’s degree and 1-5 years’ working experiences. The meeting was held to inform those concerned of the objectives and aims of the knowledge management. As for making the plan for a participatory knowledge management,  a team was appointed. It was found that the instructors  had  acquired knowledge of a knowledge management from the research under study.  They had a discussion, and recommendation. They also got knowledge from the research works which were published and disseminated at national and internal levels. The channel through which the knowledge management was transmitted were websites, electronic media and documents.  Dissemination of the knowledge was relatively low. (2) There were 12 activities used in the model construct. (3) Based on the experiment, the instructors obtained an increased scholarship for research. Furthermore, new discoveries on the research were made and the research could be used in a local context. 

 

Keywords :  Knowledge Management, Research of Instructors

Downloads

How to Cite

Lita Somboon ฬ. ส. (2014). รูปแบบการจัดการความรู้จากงานวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ. Creative Science, 6(12), 129–140. retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/26434