ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษาบ้านหาดไค้ เมืองท่าพระบาท แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Keywords:
ยุทธศาสตร์, การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์, การมีส่วนร่วมของประชาชนAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบันในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านหาดไค้ เมืองท่าพระบาท แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) สร้างยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยเน้นความรู้ความเข้าใจ ความตระหนักและความพึงพอใจในการเข้าไปมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านหาดไค้ และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยเน้นความรู้ความเข้าใจ ความตระหนักและความพึงพอใจในการเข้าไปมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านหาดไค้ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1. เจ้าหน้าที่แขนงการท่องเที่ยวแขวงบอลิคำไซ โดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 16 คน 2. กลุ่มบริหารการจัดการท่องเที่ยวบ้านหาดไค้ เมืองท่าพระบาท แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เลือกแบบเจาะจงจากกลุ่มคนหลายกลุ่มในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการท่องเที่ยวในชุมชนจำนวน 84 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจ แบบสอบถามความตระหนัก และแบบสอบถามความพึงพอใจ รวมทั้งคู่มือการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น ควรมียุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยเน้นความรู้ความเข้าใจ ความตระหนักและความพึงพอใจของชุมชนของบ้านหาดไค้ เมืองท่าพระบาท แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
2. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยเน้นการมีส่วนร่วม ของชุมชนบ้านหาดไค้ ประกอบด้วย 1) การประชุมกลุ่มในชุมชนบ้านหาดไค้ อย่างสม่ำเสมอ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่แขนงการท่องเที่ยว และผู้บริหารจัดการท่องเที่ยวแขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 16 คนและกลุ่มบริหารการจัดการท่องเที่ยวบ้านหาดไค้ เมืองท่าพระบาท แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวรวม 2 กลุ่ม จำนวน 84 คน เพื่อร่วมกันปรึกษาหารือ ระดมความคิดในการแก้ปัญหาร่วมกัน 2) ชุมชนกลุ่มต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมทุกด้านในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยมีการเตรียมงานและแบ่งหน้าที่กันเป็นอย่างดี 3) การจัดทำคู่มือการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนกลุ่มต่าง ๆ
3. หลังการใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนา ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนอยู่ในระดับสูงกว่าก่อนการใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความตระหนักในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน หลังการใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอยู่ในระดับมากและความพึงพอใจในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน หลังการใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาก็อยู่ในระดับมากเช่นกัน
คำสำคัญ : ยุทธศาสตร์, การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์, การมีส่วนร่วมของประชาชน
Abstract
The objectives of this study were: 1) to investigate a current problem state of promoting eco-tourism by placing emphasis on participation of community in Ban Hatkhai, MueangThaprabat, Bolikhamsai province, LPDR, 2) to create a strategy for promoting eco-tourism by placing emphasis on the Ban Hatkhai community’s knowledge, understanding, awareness and satisfaction of involvement,and 3) to examine results of implementing the strategy for promoting eco-tourism emphasizing the Ban Hatkhai community’s knowledge, understanding, awareness, and satisfaction of involvement. The samplecomprised:1) 16 tourism officers, Bolikhamsai province, who were purposively selected, 2) 84 people selected purposively from different groups of people in the community who were concerned with the local eco-tourism management of the Ban Hatkhai, in MueangThaprabat, Bolikhamsai province, LPDR. The instruments used in this study consisted of a test of knowledge and understanding, a questionnaire asking respondents’ awareness, a questionnaire asking satisfaction, and a manual for promoting eco-tourism by putting emphasis on community participation. Qualitative analysis was done by content, while quantitative analysis was done through mean and standard deviation.
The findings disclosed as follows:
1. The result of state investigation revealed that promoting eco-tourism by placing emphasis on the community participation was at the low level. Thus, a strategy for promoting eco-tourism by putting emphasis on the Ban Hatkhai community’s knowledge, understanding, awareness and satisfaction of their involvement should be available.
2. The strategy for promoting eco-tourism by placing emphasis on the Ban Hatkhai community’s knowledge, understanding, awareness and satisfaction of their involvement comprised: 1) Holding a meeting on a regular basis in the Ban Hatkhai community, whose body consisted of two groups of tourism officers and administrators in Bolikhamsai province, LPDR, totaling 100 people, for asking for their participation in consulting each other and doing brain storming in order to resolve the problem found; 2) Participation among different groups of the community concerning their involvement in every respect of eco-tourism promotion, especially the preparations for an individual’s task and duty; 3) producing a manual for promoting eco-tourism emphasizing participation of different groups in the community.
3. After the development strategy implementation, knowledge and understanding about promoting the community participation in eco-tourism was found at the level higher than that before the implementation significantly at the .01 level. The awareness of promoting eco-tourism by placing emphasis on the community participation after the strategy implementation was at the high level; and likewise was their satisfaction of the eco-tourism promotion strategy emphasizing the community participation after the strategy implementation.
Keywords: Strategy, Promoting eco-tourism, Community participation