ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการจัดเก็บเงินรายรับค่าบริการของแผนกกสิกรรมและป่าไม้ แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Keywords:
ยุทธศาสตร์, การเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, การจัดเก็บเงินรายรับค่าบริการAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1)ศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบันในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่จัดเก็บเงินรายรับค่าบริการของแผนกกสิกรรมและป่าไม้ แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) สร้างยุทธศาสตร์การเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่จัดเก็บเงินรายรับค่าบริการของแผนกกสิกรรมและป่าไม้ แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 3) ศึกษาความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ต่อการจัดเก็บเงินรายรับค่าบริการของเจ้าหน้าที่แผนกกสิกรรมและป่าไม้ แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หลังการใช้ยุทธศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย บุคลากรระดับหัวหน้าและเจ้าหน้าที่จัดเก็บเงินรายรับค่าบริการของแผนกกสิกรรมและป่าไม้แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวนทั้งสิ้น 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ต่อการจัดเก็บเงินรายรับค่าบริการหลังการใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20 ถึง 0.50 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 พร้อมทั้งคู่มือขั้นตอนการจัดเก็บเงินรายรับค่าบริการ วิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาที่พบในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานเกี่ยวกับเงินรายรับค่าบริการของแผนกกสิกรรมและป่าไม้ แขวงสะหวันนะเขต คือการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบ ซึ่งมีผลทำให้การบัญชีและการเงินไม่เป็นระบบที่ถูกต้อง และไม่เป็นปัจจุบัน ดังนั้น จึงควรมียุทธศาสตร์การเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่จัดเก็บเงินรายรับค่าบริการของแผนกกสิกรรมและป่าไม้ แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
2. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่จัดเก็บเงินรายรับค่าบริการของแผนกกสิกรรมและป่าไม้ แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประกอบด้วย 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดเก็บเงินรายรับค่าบริการของแผนกกสิกรรมและป่าไม้ 2) การจัดทำคู่มือขั้นตอนการจัดเก็บเงินรายรับค่าบริการของแผนกกสิกรรมและป่าไม้แขวงสะหวันนะเขต 3) การควบคุมการจัดเก็บเงินรายรับค่าบริการของแผนกกสิกรรมและป่าไม้ให้เป็นไปตามระเบียบอย่างถูกต้อง 4) การเชิญวิทยากรจากหน่วยงานอื่นที่มีความเชี่ยวชาญมาถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับคำสั่งและระเบียบใหม่ ๆ ในด้านการเงินการบัญชี 5) การส่งเสริมและสนับสนุนการเข้ารับการฝึกอบรม การประชุมเชิงปฏิบัติการ การประชุมสัมมนา ในเรื่องเกี่ยวข้องกับการเงินการบัญชีเป็นรายบุคคล 6) การจัดหาหนังสือ คู่มือ วารสาร ตำราและเอกสารที่เป็นประโยชน์กับงานที่เกี่ยวข้องกับการเงินการบัญชีให้กับเจ้าหน้าที่ได้อ่านในห้องอ่านหนังสือ
3. หลังการใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนา ระดับความเข้าใจในบทบาทการปฏิบัติงานในหน้าที่ต่อการจัดเก็บเงินรายรับค่าบริการของแผนกกสิกรรมและป่าไม้ อยู่ในระดับมาก
คำสำคัญ : ยุทธศาสตร์, การเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, การจัดเก็บเงินรายรับค่าบริการ
Abstract
The objectives of this study were: 1) to investigate a problem state of officers’ performance concerning collection of service fees money for the Agriculture and Forest Division, Savannakhet province, Lao People’s Democratic Republic (LPDR), 2) to create a strategy for enhancing performance efficiency of officers regarding collection of service fees money in the Agriculture and Forest Division, Savannakhet Province, LPDR, and 3) to examine officers’ knowledge and understanding about their role in collecting service fees money for the Agriculture and Forest Division, Savannakhet province, LPDR after implementation of the strategy.
The sample comprised personnel at the head-level and officers who were responsible for the service fees money in the Agriculture and Forest Division, Savannakhet province, LPDR, totaling 20 people. The instrument used in this study were a questionnaire asking understanding about the role in collecting service fees money for the Agriculture and Forest Division, Savannakhet province, LPDR whose discrimination power values ranged between 0.20 and 0.50 and reliability value was 0.91 and a manual of the process in collecting service fees money for the Agriculture and Forest Division. The analysis of data was divided into qualitative and quantitative analyses. Statistics used were mean and standard deviation.
The findings were as follows:
1. From investigation of problem states, it was found that officers who were responsible for service fees money of the Agriculture and Forest Division, Savannakhet province performed the job according to their role not correctly due to the regulations. That resulted in an incorrect accounting and money system which was not updated. So, a strategy for enhancing officers’ performance efficiency of collecting service fees money in the Agriculture and Forest Division, Savannakhet province, LPDR, should be available.
2. The strategy as mentioned above comprised: 1) holding a workshop among officers whose job performance was responsible for collecting service fees money in the Agriculture and Forest Division, 2) producing a manual of the process in collecting service fees money for the Agriculture and Forest Division, 3) controlling the collection of service fees money in the Agriculture and Forest Division to be in compliance with the regulations correctly, 4) inviting specialists from other work units to transmit knowledge about new orders and regulations concerning money and accounting, 5) promoting and supporting provision of training, workshop and seminar on money and accounting to individuals, and 6) providing books, manuals, journals, textbooks and documents useful to the job concerning money and accounting to officers for study in the reading room.
3. After implementation of the development strategy, the level of understanding about the role in performing the job of collecting service fees money for the Agriculture and Forest Division was at the high level.
Keywords : Strategy, Enhancing performance efficiency, Collecting service fees money