ประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาที่ถ่ายโอน สู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

Authors

  • ดวงเนตร สำราญวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการถ่ายโอนสถานศึกษาให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) โดยศึกษาจากกรณีการถ่ายโอนสถานศึกษาให้อบจ. นครราชสีมา ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิผลของ อบจ. ในด้านการบริหารจัดการศึกษา และนำไปสู่การแสวงหาแนวนโยบายที่เหมาะสมที่จะช่วยแก้ไขปัญหาและส่งเสริมการถ่ายโอนภารกิจด้านการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นในอนาคตการศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมกลุ่มย่อยกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 44 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาที่ถ่ายโอนให้แก่ อบจ.นครราชสีมา จำนวน 19 คน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 18 คน ผู้รับผิดชอบในหน่วยงานที่ถ่ายโอนสถานศึกษาได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา (สพม.) จำนวน 3 คน และผู้รับผิดชอบในหน่วยงานผู้รับโอนสถานศึกษา คือ อบจ. นครราชสีมา จำนวน 4 คน ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัญหาและอุปสรรคหลังการถ่ายโอนภารกิจการจัดการศึกษาให้แก่ อบจ.เกิดจากความไม่พร้อมของ อบจ. ในการบริหารจัดการสถานศึกษา สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่บุคลากรได้รับล่าช้ากว่าเดิม โดยเฉพาะไม่สามารถเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลกระบวนการเบิกจ่ายงบประมาณและการบริหารงานบุคคลที่ล่าช้ามีขั้นตอนมากอบจ. ขาดความต่อเนื่องของนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษาที่ชัดเจน  ขาดโครงสร้างองค์กรและบุคลากรที่มีความรู้เพื่อรองรับภารกิจด้านการจัดการศึกษาขาดการสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการ และปัญหาสมรรถนะในการสอนของบุคลากรครู 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการศึกษาของ อบจ. นครราชสีมา ได้แก่ ขวัญและกำลังใจของบุคลากรทางการศึกษาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของ อบจ.กฎระเบียบที่เอื้ออำนวยต่อการบริหารจัดการศึกษาโครงสร้างองค์กรและนักวิชาการศึกษาเพื่อรองรับภารกิจด้านการจัดการศึกษา งบประมาณที่เพียงพอสำหรับการดำเนินภารกิจด้านการจัดการศึกษาการจัดซื้อจัดจ้างให้ตรงกับความต้องการของโรงเรียนวิสัยทัศน์ของผู้บริหารและนโยบายการศึกษาที่ชัดเจนและต่อเนื่องการยึดหลักธรรมาภิบาลในกระบวนการแต่งตั้ง โยกย้ายและพิจารณาความดีความชอบบุคลากรครูที่มีความพร้อม มีคุณภาพและทุ่มเทและการสนับสนุนจากหน่วยงาน “พี่เลี้ยง” คือ สพม. และกระทรวงศึกษาธิการ 3. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลในการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาให้แก่ อบจ. และ อปท. อื่น ๆ โดยรวมได้แก่ 1) การจัดการศึกษาของท้องถิ่นควรจัดเป็นวาระแห่งชาติที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญในลำดับต้น เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาที่จัดให้แก่นักเรียนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ 2) รัฐบาลควรปรับปรุงกระบวนการกระจายอำนาจการศึกษาโดยให้กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานในระดับจังหวัดมีหน้าที่สนับสนุนหรือเป็น “พี่เลี้ยง” ให้แก่ อบจ. หรือ อปท. 3) กระทรวงมหาดไทยควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบการเบิกจ่ายเงินหรือการพัสดุฯหรือจัดให้มีระเบียบว่าด้วยการเงินและการพัสดุฯใหม่ที่เหมาะสมสำหรับให้สถานศึกษาถือปฏิบัติ 4) อบจ. นครราชสีมาต้องจัดให้มีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการบริหารงานการศึกษาซึ่งสามารถปฏิบัติงานและให้คำแนะนำแก่สถานศึกษาได้อย่างแท้จริง  5) อบจ. นครราชสีมาต้องปรับปรุงกระบวนการทำงานของบุคลากรในหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับปรุงกระบวนการบริหารงบประมาณและการบริหารงานบุคคลที่ล่าช้า 6) อบจ. ควรเสริมสร้างความโปร่งใสและความยุติธรรมในกระบวนการแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหาร  การพิจารณาคำขอโอนย้าย และการพิจารณาความดีความชอบ 7) ผู้บริหารท้องถิ่นต้องมีวิสัยทัศน์และกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษาที่ชัดเจน 8) อบจ. และผู้บริหารสถานศึกษาควรสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆในการจัดการศึกษา เช่น สพม. อปท. ชุมชน วัด สถาบันอาชีวศึกษา และหน่วยงานราชการอื่นฯ 9) อบจ. ควรปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับภารกิจด้านการจัดการศึกษา โดยจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะเพื่อรับผิดชอบการบริหารงานด้านการศึกษาหรือยกระดับกองการศึกษาฯ  4. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในอนาคตได้แก่ 1) การศึกษาวิจัยเพื่อติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาของ อบจ. ที่รับถ่ายโอนสถานศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการมาไม่น้อยกว่า 5 ปี 2) ศึกษาการจัดการศึกษาของ อบจ. ที่ประสบความสำเร็จ เพื่อค้นหาแบบปฏิบัติที่ดี (Best Practice) และสังเคราะห์เป็นบทเรียนและแบบอย่างให้แก่ อบจ. อื่น ๆ 3) การวิจัยเพื่อพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษาของ อบจ. ทั้งเครือข่ายกับภาคส่วนต่าง ๆ ภายในเขตพื้นที่ของ อบจ. เอง และเครือข่ายกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือในการจัดการศึกษาและการใช้ทรัพยากรร่วมกัน 4) ศึกษาความเป็นไปได้และแนวทางในการแก้ไขกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สถานศึกษาที่ถ่ายโอนมาสังกัด อบจ. มีสถานะเป็นนิติบุคคลได้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้นในการบริหารสถานศึกษาในระยะยาว


Abstract

This article aims to study the problems and obstacles arising from transferring of education management to provincial administrative organizations, using the transferring of schools to  NakhonRatchasima Provincial Administrative Organization as a case study. The study enabled an understanding of the factors affecting theeffectiveness of provincial administrative organizations’ education management which would help to identify the right policies to enhance more effective and efficient decentralization of education management in the future.  The study employed qualitative research methods of focus groups and in-depth interviews with 44 key informants, namely 19 administrators of schools transferred to NakhonRatchasima Provincial Administrative Organization, 18 school committee chairpersons, 3 administrators of the NakhonRatchasima Secondary Educational Service Area Office 31 which represents the education authority transferring the schools, and 4 administrators of NakhonRatchasima Provincial Administrative Organization which is the local authority responsible for the transferred schools. The findings are as follows: 1. The problems and obstacles arising after the transfer of education management to NakhonRatchasima Provincial Administrative Organization are due to the lack of preparedness on the part of the provincial administrative organization in education administration; the slower process in providing welfare benefits for school teachers, especially the inability to facilitate direct medical treatment payments; the long and complicated procedures of disbursements and personnel administration; lack of continuity in education policy and clear education development plans; absence of organizational structure and knowledgeable personnel to support decentralization of education management; inadequate support from the Ministry of Education; and teachers’ incompetence. 2. The factors affecting the effectiveness of NakhonRatchasima Provincial Administrative Organization in education management are teachers’ good morale; management efficiency; rules and regulations which better facilitate education management; appropriate organizational structure and competent education professionals; sufficient budget to carry out education functions; procurement according to schools’ needs; administrators’ vision in education and continuity of clear education policy; good governance in appointment, transfer, and promotion of personnel based on merit system; and more support from the responsible Office of Basic Educational Commission (OBEC) and the Ministry of Education. 3. Policy recommendations to enhance the effectiveness of decentralization of education to provincial administrative organizations and other local governments are as follows: 1) local governments’ education management should be a national agenda receiving priority attention from the government as it relates to the quality of providing education to students who are future generations; 2) the government should improve the process in decentralization of education by requiring the Ministry of Education and its provincial offices to provide better support to local governments in their education functions; 3) the Ministry of Interior should amend its regulations governing disbursements and procurement to better facilitate the functioning of schools; 4) NakhonRatchasima Provincial Administrative Organization should hire qualified personnel knowledgeable in education administration who can actually perform and provide reliable advice to schools; 5) NakhonRatchasima Provincial Administrative Organization must increase the work efficiency of its personnel, especially the improvement in the present disbursement procedures and personnel administration; 6) NakhonRatchasima Provincial Administrative Organization should enhance transparency and equity in its process of appointment, transfer, and promotion of personnel; 7) local government administrators must have a vision in education and design clear education development plans; 8) provincial administrative organizations and school administrators should create  networks and participation of various public groups to collaborate in educational functions, such as the OBEC, other local governments, community, temples, vocational institutes and other units of government; and  9) provincial administrative organizations should adjust their organizational structure to better support the performance of education functions by setting up a specific unit responsible for education administration. 4. Some suggestions for future research are as follows: 1) research to monitor and evaluate education management of provincial administrative organizations to whom schools have been transferred for not less than five years; 2) study successful cases of provincial administrative organizations’ education management to find best practices and synthesize these cases as lessons to be learnt by other provincial administrative organizations.; 3) research to create networks for collaborative education management among various public groups within a provincial administrative organization’s administrative boundary as well as with other government units; and 4) explore the  possibility and the ways  to amend related laws and regulations to enable transferred schools to become a juristic entity which would help to enhance the efficiency in school administration in the long run.

Downloads

How to Cite

สำราญวงศ์ ด. (2014). ประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาที่ถ่ายโอน สู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. Creative Science, 6(11), 149–170. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/18486