การศึกษาเปรียบเทียบความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทนของ หลักทรัพย์กลุ่มสินค้าอุปโภค บริโภค หมวดแฟชั่น โดยใช้แบบจำลอง CAPM : กรณีศึกษาหลักทรัพย์ TPCORP, TTTM, SUC, UT และ TR

Authors

  • ลภัสรดา แก้วเจริญ

Keywords:

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภค บริโภค หมวดแฟชั่น, Stock Exchange Of Thailand, The Information And Communication Technology Sector

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทนที่ได้รับของหลักทรัพย์กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภค บริโภค หมวดแฟชั่น กับความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทนที่ได้รับของตลาด  2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนจริงกับอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังของแต่ละหลักทรัพย์ในกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้า อุปโภค หมวดแฟชั่น 3) เพื่อศึกษาแนวทางการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์โดยใช้รูปแบบจำลอง Capital Asset Pricing Model (CAPM) ซึ่งมีหลักทรัพย์ในการศึกษา  คือ  หลักทรัพย์กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภค  บริโภค หมวดแฟชั่นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยเลือกหลักทรัพย์มา 5 หลักทรัพย์ ได้แก่ TPCORP, TTTM, SUC, UT และ TR  ทำการศึกษาใช้ข้อมูลทุติยภูมิเป็นรายวันตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2554 ถึงวันที่  28 ธันวาคม 2555 รวมเป็นระยะเวลา 489 วันทำการ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ การวิเคราะห์จากทฤษฎี CAPM (Capital Asset Pricing Model)ผลการศึกษาพบว่า หลักทรัพย์กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภค บริโภค หมวดแฟชั่น จำนวน 2 หลักทรัพย์ ได้แก่ TPCORP และ UT เป็นหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็น (Undervalued) ส่วนหลักทรัพย์จำนวน 3 หลักทรัพย์ ได้แก่ TTTM, SUC และ TR เป็นหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงกว่าที่ควรจะเป็น  (Overvalued)

Abstract

The purposes of this study were 1) To compare the risk and rates of return on securities in the consumer products fashion sector and market rates of return. 2) To compare the required rate of return and expected rates of return for in the consumer products fashion sector. 3) The decision to invest in securities according to the Capital Asset Pricing Model (CAPM). The securities in the study were the consumer products fashion sector in the stock exchange of Thailand, By selected 5 securities, Include TPCORP, TTTM, SUC, UT and TR. The secondary data The research was collected from January 4, 2011 to December 28, 2012 for 489 official working days, by using the Capital Asset Pricing Model (CAPM).The result founded that, securities 2 securities. Including TPCORP and UT, were undervalued stocks. While, 3 securities, Including TTTM, SUC and TR, were overvalued.

Downloads

How to Cite

แก้วเจริญ ล. (2014). การศึกษาเปรียบเทียบความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทนของ หลักทรัพย์กลุ่มสินค้าอุปโภค บริโภค หมวดแฟชั่น โดยใช้แบบจำลอง CAPM : กรณีศึกษาหลักทรัพย์ TPCORP, TTTM, SUC, UT และ TR. Creative Science, 6(11), 121–134. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/18484