อีกหนึ่งมุมมองของแนวคิดการประเมิน

Authors

  • อัจศรา ประเสริฐสิน

Keywords:

การประเมิน, ตัวชี้วัด, เกณฑ์, มาตรฐาน, Evaluation, Indicator, Criteria, Standard

Abstract

บทคัดย่อ

การดำเนินงานปัจจุบันมีความจำเป็นที่หน่วยงาน/องค์กรต่าง ๆ จะต้องจัดทำนโยบายและแผนเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน และปฏิบัติไปตามแผน/โครงการที่กำหนดไว้ และจะต้องมีการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการที่กำหนดไว้ การประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการมีจุดมุ่งหมาย (1) เพื่อสนับสนุนหรือยกเลิก (2) เพื่อทราบถึงความก้าวหน้าของการปฏิบัติงานตามโครงการ (3) เพื่อปรับปรุงงาน (4) เพื่อศึกษาทางเลือก (Alternative) และ (5) เพื่อขยายผล โดยรูปแบบการประเมินแบ่งได้ 4 ประเภท คือ การประเมินก่อนดำเนินการ (Preliminary evaluation) การประเมินระหว่างดำเนินการ (Formative evaluation) การประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการหรือประเมินผลผลิต (Summative Evaluation) และการประเมินประสิทธิผล (Effectiveness evaluation) การประเมินโครงการ ในการประเมินตัวชี้วัดจะถูกพัฒนาขึ้นมาจากประเด็นที่ต้องการประเมิน โดยตัวชี้วัดนี้จะแสดงให้ทราบถึงสภาพการณ์ที่เป็นอยู่หรือที่เกิดขึ้นในประเด็นที่ต้องการประเมิน ตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นมา จะต้องมีความเหมาะสมกับประเด็นที่ต้องการประเมินสามารถวัดได้แม่นยำ ถูกต้องและที่สำคัญต้องกำหนดเกณฑ์หรือเป้าหมายที่ต้องการบรรลุสำหรับตัวชี้วัดนั้น ๆ ก็ต่อเมื่อนำผลจากการวัดจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และเป็นไปตามมาตรฐานการประเมิน ซึ่งเป็นระดับของการปฏิบัติการที่แสดงถึงความสำเร็จอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป สามารถนำเอาผลงานที่เกิดขึ้นไปเปรียบเทียบได้ 


Abstract

The current implementation was necessary that agencies or organizations should be prepared a plan to guide policy and operations and practice accord with plan/project requirements. The purpose of action plan evaluation was (1) support or withdraws (2) To know the progress of the action plan (3) improvement (4) to study the alternative and (5) to generalization. The evaluation model was divided into 4 aspects were Preliminary Evaluation, Formative Evaluation, Summative Evaluation and Effective Evaluation. For project evaluation, evaluation indicators are developed from the issues that need to evaluate. These indicators showed the existed state or happening that related with evaluation issues. The developed indicators should be appropriated, accurate and precision and have to criteria to achieve successful in each indicators when compared the results from fact measurement with a preset threshold and according to evaluation standard that acceptable from the others.

Downloads

How to Cite

ประเสริฐสิน อ. (2014). อีกหนึ่งมุมมองของแนวคิดการประเมิน. Creative Science, 6(11), 95–106. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/18482