ความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างเกษตรกร ผู้ปลูกข้าวโพดหวานกับผู้ส่งมอบวัตถุดิบ
Keywords:
สายโซ่อุปทาน, ความสัมพันธ์, ความร่วมมือ, เกษตรเชิงระบบ, ธุรกิจเกษตร, ข้าวโพดหวาน, Supply chain, Relationship, Collaboration Performance, StakeholderAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวชี้วัดสมรรถนะความสัมพันธ์และความร่วมมือและศึกษาวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบสมรรถนะอย่างเป็นระบบในสายโซ่อุปทานการผลิตข้าวโพดหวาน ของเกษตรกรและผู้ส่งมอบวัตถุดิบในมิติของการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการวางแผนร่วมกันการจัดสรรทรัพยากรและผลประโยชน์และความไว้วางใจและความมุ่งมั่น เก็บรวมข้อมูลแบบหลายขั้นตอนจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถามและนำข้อมูลตามตัวชี้วัดมาเพื่อวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบสมรรถนะอย่างเป็นระบบระหว่างเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดหวาน 2 กลุ่มในระบบส่งเสริมการเกษตรโดยเจ้าหน้าที่ของโรงงานและระบบการจัดซื้อจัดหาโดยผู้รวบรวมวัตถุดิบ ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรกลุ่มที่ปลูกข้าวโพดหวานในระบบการส่งเสริมการเกษตรกับโรงงานมีระดับความสัมพันธ์กับผู้ส่งมอบวัตถุดิบในด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลการวางแผนร่วมกัน ความไว้วางใจและความมุ่งมั่นที่ดีกว่า แต่มีระดับความสัมพันธ์ความร่วมมือด้านการจัดสรรทรัพยากรและผลประโยชน์ต่ำกว่าเกษตรกรในระบบการจัดซื้อจัดหาโดยผู้รวบรวมวัตถุดิบ
Abstract
The objectives of this research were to study relationship and collaboration performance indicators and benchmarking for sweet corn production supply chain. The relationship between farmer and their suppliers through creating the information sharing and planning collaboration, the resource and benefit allocation, and the trust and commitment. The in-depth interview and questionnaire were applied for data collection; in addition, all indicators were used for data collection. Process benchmarking of the two sampled groups of farmers consisted of a group engaging through the Agricultural Extension System (AES) and the other was through the Brokers System (BKS). This research found that the AES farmer group had better relationship than the BKS farmer group in terms of information sharing and planning collaboration as well as the trust and commitment. However, the level of resource and benefit allocation was lower.