ยุทธศาสตร์การจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน : กรณีศึกษาบ้านลาดชะวงชัย เมืองไกสอนพมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Keywords:
ยุทธศาสตร์การพัฒนา, การมีส่วนร่วมของประชาชน, การจัดการขยะมูลฝอย, Strategy, Development Strategy, People Participation, Waste ManagementAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในบ้านลาดชะวงชัย เมืองไกสอนพมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) เพื่อสร้างยุทธศาสตร์การจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในบ้านลาดชะวงชัย เมืองไกสอนพมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 3) เพื่อประเมินการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชน บ้านลาดชะวงชัย เมืองไกสอนพมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หลังการใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนา
กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ประชาชนในเขตพื้นที่บ้านลาดชะวงชัย เมืองไกสอนพมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยเลือกแบบเจาะจง จากหัวหน้าหน่วยหรือรองหัวหน้าหน่วยและตัวแทนของครอบครัวในแต่ละหน่วยอย่างละ 25 คน รวมทั้งสิ้น 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คำถามที่ใช้ในการระดมความคิดเห็นและการสัมภาษณ์เชิงลึก คู่มือขั้นตอนการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน, แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย หลังการใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนา การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ เชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ สถิติ ที่ใช้ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหาการระดมความคิดเห็นและการสัมภาษณ์เชิงส่วนลึกและเชิงปริมาณ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. จากการศึกษาสภาพปัญหา พบว่า ประชาชนมองไม่เห็นประโยชน์ในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย ดังนั้น ควรมียุทธศาสตร์การจัดการขยะมูลฝอย โดยการเข้าไปมีส่วนร่วมของประชาชนบ้านลาดซะวงชัย เมืองไกสอนพมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
2. ยุทธศาสตร์การจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน กรณีศึกษา บ้านลาดชะวงชัย เมืองไกสอนพมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประกอบด้วย 1) ให้ประชาชนอาสาร่วมดำเนินการจัดการขยะมูลฝอย ซึ่งมีการจัดเวรผลัดกันรับผิดชอบกิจกรรมในการจัดการขยะมูลฝอย โดยการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน ดังนี้ 1.1) ลดการสร้างขยะ 1.2) การฝังกลบ 1.3) การเผา 1.4) การหมักขยะมูลฝอยเพื่อทำปุ๋ย 1.5) การคัดแยกขยะมูลฝอยเพื่อหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ 2) จัดทำคู่มือขั้นตอนการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน สำหรับแจกให้กับประชาชนในเขตพื้นที่บ้านลาดชะวงชัย
3. หลังการใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนา ระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ มูลฝอยหลังการใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนา อยู่ในระดับมาก
Abstract
The objectives of this study were: 1) to investigate the current problems state in waste management by participation of people in Ladsavongxay village, Kaisonephomvihan district, Savannakhet province, Lao People’s Democratic Republic (LPDR), 2) to create a strategy to manage waste by participation of people in Ladsavongxay village, Kaisonephomvihan district, Savannakhet province, LPDR, and 3) to assess participation in waste management among people in Ladsavongxay village, Kaisonephomvihan district, Savannakhet province, LPDR, after the development strategy implementation.
The sample comprised 50 people in the Ladsavongxay village area, Kaisonephomvihan district, Savannakhet province, selected purposively from 25 unit heads or deputy heads, and each representative from the families in each of the 25 units, totaling 50 people. The instruments used in this study were a manual for people participation in practicing according to procedure in waste management, a questionnaire of participation in waste management after the development strategy implementation. Data analyses were done through, quantitative and qualitative. Statistics used were mean and standard deviation.
The findings were as follows:
1. From examination of the problem state, it was found that people saw no benefit in involving in waste management. A strategy for waste management by people participation, thus, should be created for use in Ladsavongxay village, Kaisonephomvihan district, Savannakhet province, LPDR.
2. The strategy mentioned above consisted of: 1) Admitting people volunteer to involving in waste management by taking turns in waste management activities, such as like: avoid creating waste, sanitary landfill, incineration, composting the waste for making fertilizer, and sorting the waste for recycling. 2) Producing a manual for people participation in waste management, procedure and distributing it to the people in the Ladsavongxay village area for study in practice.
3. After implementation of the development strategy, people participation in waste management was at the high level.