การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม

Authors

  • พิลาศลักษณ์ อุมะวรรณ นักศึกษาปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม
  • วาโร เพ็งสวัสดิ์ อาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร อาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม ซึ่งดำเนินการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาตัวบ่งชี้ ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนโดยใช้กระบวนการวิจัยแบบเทคนิคเดลฟาย เก็บรวบรวมข้อมูล 3 รอบจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 24 คนซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด ส่วนขั้นตอนที่ 2 การศึกษาภาวะผู้นำ เชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน โดยนำผลการวิจัยในขั้นตอนที่ 1 มาสร้างแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณ ค่า 5 ระดับ นำไปทดลองใช้เพื่อหาคุณภาพกับผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 60 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง ได้ค่า ความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.98 หลังจากนั้นนำไปเก็บข้อมูลกับผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 217 คน

ผลการวิจัยพบว่า ผลการพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนได้ตัวบ่งชี้จำนวน 100 ตัวบ่งชี้ มีความเหมาะสมระดับดีขึ้นไปทุกตัวบ่งชี้ จำนวนตัวบ่งชี้ในแต่ละองค์ประกอบเป็นดังนี้ 1) การ กำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การ มีตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 17 ตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดทุกข้อ 2) ความสามารถรวบรวมข้อมูลมากำหนดกลยุทธ์ได้ มีตัวบ่งชี้ภาวะ ผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 18 ตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดจำนวน 14 ตัวบ่งชี้ และมีความเหมาะสมในระดับมากจำนวน 4 ตัวบ่งชี้ 3) การปลูกฝังวัฒนธรรมขององค์การ มีตัวบ่งชี้ ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 13 ตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ และมีความเหมาะสมในระดับมากจำนวน 1 ตัวบ่งชี้ 4) การคิดสร้างสรรค์เพื่อการ เปลี่ยนแปลง มีตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 17 ตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้มีความเหมาะสม ในระดับมากที่สุดทุกข้อ 5) การพยากรณ์และกำหนดอนาคตได้ มีตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดจำนวน 11 ตัวบ่งชี้ และมีความ เหมาะสมในระดับมากจำนวน 1 ตัวบ่งชี้ 6) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง มีตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิง กลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 23 ตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดทุกข้อ

ผลการศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน พบว่า ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนทั้ง 6 องค์ประกอบโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ คือ ด้านการปลูกฝัง วัฒนธรรมขององค์การ ด้านการคิดสร้างสรรค์เพื่อการเปลี่ยนแปลง และด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่าง ต่อเนื่อง ส่วนด้านการพยากรณ์และกำหนดอนาคตได้มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด

 

Abstract

The purpose of this research was to develop the indicators for strategic leadership of school administrators under the Offices of Nakhon Phanom Educational Service Area by using the Delphi Technique. The research consisted of two stages. Stage 1 was the development of indicators for strategic leadership of school administrators under the Offices of Nakhon Phanom Educational Service Area through the synthesis of the component concept for strategic leadership of school administrators as the frame of reference in compliance with library research of texts, documents, papers and research reports. There were 6 components including the determination of organizational vision, collecting data for the determination of strategies, the establishment of the organizational culture, the creativity for changing, the prediction and determination for future, and the successive development of human resource which were applied as the first questionnaires. These questionnaires consisted of the questions with agree-disagree responses and opend questions to collect data from 24 experts who were qualified according to the criteria of the research. Stage 2 was the study of strategic leadership of school administrators under the Offices of Nakhon Phanom Educational Service Area. The result of the research in stage 1 was used to construct standard questionnaires with a five-level rating scale. These questionnaires were tried out to find the validity of the tool, with the control group of 60 school administrators. The reliability of overall questionnaires was 0.98. Later, the questionnaires were applied with 217 school administrators under the Offices of Nakhon Phanom Educational Service Area.

The findings of research were:

1. According to the development of indicators for strategic leadership of school administrators under the Offices of Nakhon Phanom Educational Service Area, 100 indicators were determined and considered suitable from good level. Each component had the number of indicators as follows:

1.1) In terms of the determination of organizational vision, there were 100 indicators and all indicators were considered suitable at very high level.

1.2) In terms of the ability of collecting data for the determination of strategies, there were 18 indicators for strategic leadership of school administrators which 14 indicators were considered suitable at very high level and 4 indicators were at high level.

1.3) In terms of the establishment of the organizational culture, there were 13 indicators for strategic leadership of school administrators which 12 indicators were considered suitable at very high level and 1 indicator was at high level.

1.4) In terms of the creativity for changing, there were 17 indicators for strategic leadership of school administrators which all were considered suitable at very high level.

1.5) In terms of the prediction and determination for future, there were 12 indicators for strategic leadership of school administrators which 11 indicators were considered suitable at very high level and 1 indicator was at high level.

1.6) In terms of the successive development of human resource, there were 23 indicators for strategic leadership of school administrators which all were considered suitable at very high level.

2. The result of the strategic leadership of school administrators under the Offices of Nakhon Phanom Educational Service Area, in compliance with the administrator opinions, revealed that 6 components of the strategic leadership of school administrators were in general rated high. When considering each aspect, it was found that mean value of all aspects were rated high by arranging mean value sequence from maximum to minimum. The preceding 3 aspects included the establishment of the organizational culture, the creativity for changing, and the successive development of human resource. The prediction and determination for future had the minimum mean value.

Downloads

How to Cite

อุมะวรรณ พ., เพ็งสวัสดิ์ ว., & สุรกิจบวร ศ. (2013). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม. Creative Science, 2(3), 167–177. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/10183