การศึกษาและการพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์จากพืชและเห็ดในป่า ชุมชนบ้านนางัว จังหวัดนครพนม สำหรับเยาวชน

Authors

  • อมรา เขียวรักษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • สมจิตต์ รัตนอุดมโชค, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • จิราภรณ์ สุมังคะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • อนุวัฒน์ พูลแสวงทรัพย์ ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความหลากหลายและการใช้ ประโยชน์จากพืชและเห็ดในป่าชุมชนโคกกุดเลาะ และขั้นตอนที่ 2 พัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง ความหลากหลาย และการใช้ประโยชน์จากพืชและเห็ดในป่าชุมชนโคกกุดเลาะ

ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความหลากหลายและการใช้ประโยชน์จากพืชและเห็ดในป่าชุมชนบ้านนางัว หรือ ชื่อพื้นบ้านเรียกว่า ป่าโคกกุดเลาะ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความหลากหลายและการใช้ประโยชน์จากพืชและ เห็ดในป่าชุมชนโคกกุดเลาะ พื้นที่ในการสำรวจคือ ป่าชุมชนโคกกุดเลาะ บ้านนางัว ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ระหว่างเดือนกันยายน 2551 – กุมภาพันธ์ 2552 โดยสำรวจเห็ด และพืชอีก 4 กลุ่ม คือ พืช สมุนไพร กล้วยไม้ วัชพืช และเฟิร์น แบ่งเนื้อที่เป็น 6 แปลง ขนาดแปลง 40x40 เมตร ผลการสำรวจพบ พืช สมุนไพร 25 วงศ์ 30 สกุล 32 ชนิด กล้วยไม้ 3 วงศ์ 10 สกุล 14 ชนิด เฟิร์น 6 วงศ์ 7 สกุล 9 ชนิด วัชพืช 25 วงศ์ 32 สกุล 33 ชนิด และเห็ด 16 วงศ์ 21 สกุล 43 ชนิด เป็นเห็ดที่รับประทานได้ 31 ชนิด และเห็ดที่ รับประทานไม่ได้ 12 ชนิด ชุมชนบ้านนางัวนำพืช และเห็ดจากป่าชุมชนโคกกุดเลาะ มาใช้ประโยชน์ในหลาย ลักษณะทั้งรับประทานเป็นอาหาร ยารักษาโรค และประดับอาคารบ้านเรือน การที่ป่าชุมชนโคกกุดเลาะยังคงมี ความหลากหลายทางชีวภาพอยู่มาก เพราะคนในชุมชนมีความชาญฉลาดในการอนุรักษ์ความสมบูรณ์ของป่าใน หลายลักษณะ ด้วยความเคารพในข้อตกลงของคนในชุมชนเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากป่า มีการแบ่งป่าเป็น สัดส่วน มีการอนุรักษ์น้ำ และผืนดินควบคู่ไปกับการปลูกไม้ทดแทนตามโครงการพระราชดำริ

ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์จากพืชและเห็ดในป่า ชุมชนโคกกุดเลาะ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่องความหลากหลายและการใช้ประโยชน์จากพืช และเห็ดในป่าชุมชนโคกกุดเลาะ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบผลการเรียนของ นักศึกษาและนักเรียนก่อนและหลังทดลองใช้สื่อมัลติมีเดีย และ 3) ศึกษาเจตคติของนักศึกษาและนักเรียนที่มี ต่อสื่อมัลติมีเดีย

นำผลการสำรวจมาจัดทำเป็นเนื้อหาเพื่อเผยแพร่ในลักษณะสื่อมัลติมีเดีย แบ่งเป็น 6 เรื่อง คือ 1) ความรู้เกี่ยวกับการสำรวจพืชและเห็ด 2) พืชสมุนไพร 3) กล้วยไม้ 4) เฟิร์น 5) วัชพืช และ 6) เห็ดโปรแกรมหลัก ที่ใช้ทำสื่อมัลติมีเดีย คือ Macromedia Flash Professional 8 พัฒนาสื่อให้มีประสิทธิภาพโดยนำสื่อไปให้ ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาคุณภาพ จากนั้นนำไปทดลองใช้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 กับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านนางัว จังหวัดนครพนม ต่อมาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ทดลองใช้กับ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 โรงเรียน ภูดินแดงวิทยา จังหวัดสกลนคร เพื่อหาประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดีย และเพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อน กับหลังทดลองใช้สื่อมัลติมีเดีย และวัดเจตคติของนักศึกษาและนักเรียนที่มีต่อสื่อมัลติมีเดีย เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย สื่อมัลติมีเดียที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ และแบบวัดเจตคติที่มีต่อสื่อ มัลติมีเดีย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน และวิเคราะห์หาค่าความต่างระหว่างผลการเรียนก่อน กับหลังเรียน โดยใช้การทดสอบที (t-test ชนิด Dependent samples)

ผลปรากฏว่า

1. สื่อมัลติมีเดียมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน(80/80) เมื่อทดลองใช้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 และ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และมีประสิทธิภาพน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เมื่อทดลองใช้กับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 กล่าวคือ เรื่องพืช มีประสิทธิภาพ 86.00/94.00, 82.31/86.03และ 58.38/71.10 ตามลำดับ เรื่องเห็ด มีประสิทธิภาพ 84.00/90.00, 84.83/83.30และ 69.37/62.53 ตามลำดับ

2. นักศึกษาและนักเรียนมีผลการเรียนรู้หลังทดลองใช้สื่อมัลติมีเดียสูงกว่าก่อนทดลองใช้ อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกระดับการศึกษา

3. นักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีเจตคติต่อสื่อมัลติมีเดียระหว่างปานกลาง ถึงมากคือ 4.37, 4.00และ 3.47 ตามลำดับ

 

ABSTRACT

This study was divided into two steps : Step 1 Study about diversity of plant and mushroom in Khok Kudlo community forest. Step 2 Multimedia Development on diversity of plant and mushroom in Khok Kudlo community forest.

Step 1 Study about diversity of plant and mushroom in Khok Kudlo community forest

The purposes of this study was to survey the diversity of plant and mushroom in Khok Kudlo community forest, including study about properties of plant and mushroom in Khok Kudlo community forest during September 2008 to February 2009. (1 month/time).

Results of survey about the diversity of plant and mushroom in Khok Kudlo community forest : herb 25 family, 30 genus, 32 species ; Orchids 3 families, 10 genus, 14 species; Fern 6 families, 7 genus, 9 species ; Weeds 25 families, 32 genus and 33 species; Mushroom 16 families, 21 genus, 43 species ; mushroom that can eat 31 species and can’t eat 12 species. Local people in Ban Na Ngua use plants and mushroom in many ways such as food ,medicine and decoration.

Step 2 Multimedia development on diversity of plant and mushroom in Khok Kudlo community forest

The purposes of this study were 1) to develop the multimedia on diversity and utilization of plant and mushroom in Khok Kudlo community forest on the standard efficiency of 80/80, 2) to compare the learning achievement before and after learning by multimedia, and 3) to identify the attitudes toward the multimedia.

The samples of this study were 3 groups according to the educational level, each level had 30 persons. Group 1 students from Sakon Nakhon Rajabhat University who enrolled in the second semester of the academic year 2009, group 2 consisted of students from Prathom Suksa 6 in Ban Na Ngua school ,and group 3 students from Mathayom Suksa 3 in Phudindang Withaya School. The samples were selected by volunteer.

The instruments used in this study were 1) The Multimedia on diversity and utilization of plant and mushroom in Khok Kudlo community forest include a set of learning achievement test, and 2) a set of questionnaire on the attitude toward the multimedia.

To analyze the efficiency of the multimedia and attitude, mean, standard deviation and percentage were used. To analyze the learning achievement and the retention of students, t-test (Dependent Samples) was employed.

The findings of this study were as follows :

1. The efficiency of the multimedia on diversity and utilization of plant and mushroom in Khok Kudlo community forest was higher than the standard criteria 80/80 when studied with students form Sakon Nakhon Rajabhat University and Mathayom Suksa 3 students in Phudindang Withaya School, but lower than standard criteria when studied with Prathom Suksa 6 students in Ban Na Ngua school.

Efficiency of plant were 86.00/94.00, 82.31/86.03 and 58.38/71.10 respectively.

Efficiency of mushroom were 84.00/90.00, 84.83/83.30 and 69.37/62.53 respectively.

2. The learning achievement between those 3 groups were significantly different at the .05 level.

3. The attitude of the students toward the multimedia were as a whole at the high level.

Downloads

How to Cite

เขียวรักษา อ., รัตนอุดมโชค, ส., สุมังคะ จ., & พูลแสวงทรัพย์ อ. (2013). การศึกษาและการพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์จากพืชและเห็ดในป่า ชุมชนบ้านนางัว จังหวัดนครพนม สำหรับเยาวชน. Creative Science, 2(3), 121–134. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/10174