ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของครูและผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม

Authors

  • ณัฐพงศ์ ไชยสิทธิ นักศึกษาปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ของครูและผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 325 คน ประกอบด้วยครู 288 คน และผู้บริหาร 37 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่ม แบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วยแบบสอบถามพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของครูและผู้บริหารมีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง .27-.83 และค่าความเชื่อมั่น .97 และแบบสอบถามประสิทธิผลของโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .42-.91 และค่าความเชื่อมั่น .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบค่าทีกรณีกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระแก่กัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการ วิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของครูและผู้บริหาร ตามความคิดเห็น ของครูและผู้บริหาร โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ประสิทธิผลของโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูและ ผู้บริหารโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของครูและผู้บริหาร ตามความ คิดเห็นของครูและผู้บริหารโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ประสิทธิผลของ โรงเรียน ตามความคิดเห็นของครูและผู้บริหาร โดยรวมไม่แตกต่างกัน 5) พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของครูและผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของครูและผู้บริหารในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6) ประสิทธิผลของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของครูและ ผู้บริหารในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน ไม่แตกต่างกัน 7) พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของครูและ ผู้บริหาร กับประสิทธิผลของโรงเรียนโดยรวมไม่มีความสัมพันธ์กัน 8) ผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางที่เหมาะสมใน การพัฒนาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของครูและผู้บริหารและประสิทธิผลของโรงเรียนไว้ด้วย พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้านที่ควรพัฒนามี 2 ด้าน คือ ด้านการบริหารงบประมาณและด้านการ บริหารทั่วไป และประสิทธิผลของโรงเรียนที่ควรได้รับการพัฒนามี 2 ด้าน คือด้านวิชาการและด้านการบริหาร งบประมาณ

 

Abstract

The purpose of this research was to investigate the relationship between participation of teachers and administrators in decision making and effectiveness of schools under the Offices of Educational Service Areas in Nakhon Phanom Province. There were 325 participants, comprising 288 teachers and 27 school administrators, selected by using the Multistage Random Sampling method. A set of a 5-rating-scale questionnaire was used to collect data. The discrimination power values of participation of teachers and administrators in decision making ranged between .27 and .83 and the reliability coefficient was .97; whereas the discrimination power values of effectiveness of schools ranged between .42 and .91 and the reliability coefficient was .97. The collected data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, t-test (Independent Samples), F-test (One-way ANOVA), and Pearson's Product Moment Correlation.

The findings of this study were as follows : 1) The participation of teachers and administrators in decision making as perceived by themselves, as a whole, was at the medium level. 2) The school effectiveness as perceived by teachers and administrators, as a whole, was at the high level. 3) The participation behavior in decision making as perceived by teachers and administrators, as a whole, was significantly different in their opinions at the level of .01. 4) There was no significant difference of school effectiveness as perceived by teachers and administrators as a whole. 5) The participation behavior of teachers and administrators at different-sized schools in decision making as perceived by themselves, as a whole, was significantly different in their opinions at the level of .01. 6) There were no significant difference of school effectiveness for different - sized schools as perceived by teachers and administrators. 7) The participation behavior of teachers and administrators in decision making and school effectiveness were not correlated. 8) This researcher proposed an appropriate guideline to develop participation behavior of teachers and administrators in decision making in 2 aspects namely budget management and general management and to develop school effectiveness in 2 aspects _ _academic affairs and budget management.

Downloads

How to Cite

ไชยสิทธิ ณ. (2013). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของครูและผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม. Creative Science, 3(5), 75–90. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/10006